รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
18 เมษายน 2566
ผู้เขียน การัณย์ภาส ลิ้มควรสุวรรณ
สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ในปีนี้รุนแรงและหนักหน่วงกว่าปีก่อน ๆ หากไม่หยุดวงจรนี้โดยเร็ว อนาคตอาจไม่มีลมสะอาดให้ทุกชีวิตหายใจ คณาจารย์จุฬาฯ ย้ำความสำคัญของการ “เรียนรู้อยู่กับฝุ่นPM2.5” หนังสือที่หวังให้สังคมตระหนักถึงภัยร้ายที่มากับฝุ่น วอนทุกฝ่ายร่วมกันแก้ปัญหา ลดการเผาทั้งในบ้าน ชุมชน และสังคม
PM2.5 หรือฝุ่นพิษขนาดจิ๋วได้กลายเป็นแขกขาประจำของบ้านเราไปเสียแล้ว ทุกปีในช่วงปลายฤดูหนาวเข้าฤดูร้อน หรือระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ซึ่งหลายคนเรียกว่าเป็นฤดูแห่งการเผา เราจะต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่นพิษกันแทบทั่วทุกภูมิภาค โดยเฉพาะปี 2566 นี้ สถานการณ์ดูจะทวีความรุนแรงและกินเวลาต่อเนื่องยาวนานกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา คุณภาพอากาศโดยรวมจัดอยู่ในเกณฑ์ “อันตรายต่อสุขภาพขั้นรุนแรง” ทำให้สภาพอากาศของประเทศไทยติดอันดับต้น ๆ ของประเทศที่มีสภาพอากาศที่อันตรายที่สุดในโลก
สถานการณ์ฝุ่นPM2.5 อย่างที่เกิดขึ้นทุกวันนี้เป็นแนวโน้มที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล็งเห็นมาตั้งแต่ปี 2562 จึงได้จัดทำหนังสือ “เรียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM2.5” โดยระดมคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจากหลายคณะในจุฬาฯ มาร่วมถ่ายทอดความรู้ งานวิจัยและงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศและฝุ่นพิษ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ ตลอดจนถึงแนวทางการป้องกันสุขภาพของตัวเองและร่วมกันแก้ไขสถานการณ์
หนังสือเล่มดังกล่าว (ฟรี) ได้รับความสนใจอย่างมากและได้แจกจ่ายหมดไปแล้ว ในบทความนี้จึงจะได้สรุปประเด็นสำคัญจากหนังสือเล่มดังกล่าว อาทิ ความเข้าใจเกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 เหตุที่ก่อให้เกิดฝุ่นพิษ อันตราย วิธีการวัดประเมินคุณภาพอากาศ และแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา เพื่อว่าปีหน้าสถานการณ์จะไม่ย่ำแย่กว่าปีนี้ที่ฝุ่นพิษกำลังเริ่มเบาบางลงตามฤดูกาล
PM2.5 เป็นฝุ่นละอองจิ๋ว ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือเล็กกว่าเส้นผมหลายเท่า (ดูภาพ) ด้วยความจิ๋วนี้เองที่ทำให้ฝุ่น PM2.5 มีอันตรายอย่างยิ่ง เพราะมันสามารถเล็ดลอดการกรองของขนจมูกเข้าไปในปอดและกระแสเลือดของเราได้ ที่ร้ายที่สุดก็คือมันสามารถเป็นตัวกลางนำพาสารอันตรายอื่น ๆ ในอากาศเข้าสู่ปอดเราได้ด้วย เช่น สารก่อมะเร็ง สารโลหะหนัก เป็นต้น
ฝุ่นพิษเป็นวัฎจักรหนึ่งในธรรมชาติ แต่ในอดีตสถานการณ์ฝุ่นพิษไม่หนักหน่วงและน่ากลัวเช่นปัจจุบัน ที่ฝุ่นพิษมีความรุนแรงทั้งในแง่ปริมาณและพื้นที่ของการแพร่กระจายฝุ่นในวงกว้าง
ฝุ่นพิษเกิดจากการเผา ทั้งการเผาในที่โล่งแจ้งและที่ไม่โล่ง เช่น การเผาหญ้า เผาไร่ เผาป่า เผาขยะ และการเผาไหม้ของน้ำมันจากรถยนต์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5
เราแทบจะลงปฏิทินการมาเยือนของฝุ่น PM2.5 กันได้ ที่มักจะมาในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนนาคมของทุกปี (และในปีนี้ต่อเนื่องมาถึงเมษายน) ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากสภาพการกดอากาศที่นำไปสู่สภาวะ “ลมสงบ”
ในฤดูหนาว ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยเป็นระลอก ๆ ทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรง ประเทศไทยมีอุณหภูมิลดลงโดยทั่วไป มีอากาศหนาวถึงหนาวจัด แต่บางครั้ง ความกดอากาศดังกล่าวอ่อนกำลังลง ทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนลงไปด้วย นำไปสู่สภาวะที่เรียกว่า “ลมสงบ”
สิ่งที่มักเกิดประกอบกันกับสภาวะลมสงบคือการผกผันกลับของอุณหภูมิ (Inversion) ในระดับล่าง ซึ่งมีผลต่อการลอยตัวและกระจายตัวของฝุ่นละออง เมื่อการไหลเวียนและการถ่ายเทอากาศไม่ดี ก็ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นและสารพิษทั้งหลายในชั้นบรรยากาศในปริมาณสูงขึ้น
เข้าใจง่าย ๆ คือ ลมเย็นทำให้อากาศสงบนิ่ง จึงเกิดการสะสมของฝุ่นในชั้นบรรยากาศเพราะว่าฝุ่นไม่ลอยไปไหน และเมื่อถึงเวลาลมร้อนเริ่มพัดมา ฝุ่นเหล่านี้ก็จะถูกพัดให้ลอยสูงขึ้น และค่อย ๆ จางหายไปในที่สุด ก่อนจะเกิดการสะสมใหม่เมื่อลมสงบอีกครั้ง
สำหรับสถานการณ์ฝุ่นในปีนี้และปีที่ผ่านมา ภาวะลมสงบนั้นยาวนานกว่าเดิม บวกกับปัจจุบันการเผามีมากและเกิดขึ้นในวงกว้างมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน เมื่อสองอย่างนี้มารวมกันเข้า จึงทำให้สภาวะการสะสมของฝุ่นในปริมาณมาก เกิดผลกระทบที่ชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าปีก่อน ๆ มาก
ไม่เพียงบรรยากาศภายนอก แต่ในบ้านเองก็อาจมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศได้เช่นกัน โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเผา เช่น การสูบบุหรี่ การจุดธูปเทียนบูชาพระ หรือแม้แต่การเผากระดาษเงินกระดาษทองในเทศกาลการไหว้บรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายจีน
บุหรี่มวนเล็ก ๆ ก่อให้เกิดมลพิษและฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างไร?
ในบุหรี่ 1 มวน มีใบยาสูบ กระดาษที่มวน และสารเคมีอีกหลายร้อยชนิด ซึ่งการจุดบุหรี่ 1 มวนและเกิดการเผาไหม้แล้วนั้นจะสร้างสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพกว่า 4,000 ชนิด เมื่อควันบุหรี่เจอกับออกซิเจนในอากาศจะทำให้ก่อเกิดสารพิษ โดยเฉพาะไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้น (precursor) ตัวสำคัญของฝุ่น PM2.5
การจุดธูปเทียนบูชาหรือการเผากระดาษเงินกระดาษทองไหว้บรรพบุรุษ ก็เช่นกัน
เมื่อเราจุดธูปก็จะเกิดการเผาไหม้ของขี้เลื่อย กาว และน้ำหอมในธูป สารต่าง ๆ หลายตัวจะถูกปล่อยออกมาคล้ายกับที่พบในควันบุหรี่ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารก่อมะเร็งหลายชนิด รวมถึง ไนโตรเจนออกไซด์ – ตัวการสำคัญของฝุ่น PM2.5ด้วย
AQI ย่อมาจาก Air Quality Index หรือดัชนีคุณภาพอากาศ เป็นหน่วยวัดค่าคุณภาพอากาศที่ประเทศไทยใช้มานานแล้ว โดยมีการวัดค่าสารมลพิษ ได้แก่
โอโซน เกิดจากปฎิกิริยาในบรรยากาศโดยอิทธิพลของแสงแดด ส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินหายใจและกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดการระคายเคืองในตาและเยื่อบุจมูก มีผลต่อการทำงานของปอด
ไนโตรเจนไดออกไซด์ เกิดจากยวดยานพาหนะต่าง ๆ การเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูง ปฎิกิริยาเคมีในชั้นบรรยากศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ
คาร์บอนมอนนอกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ชองเชื้อเพลิงและสารประกอบคาร์บอนต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราแบบทันทีคือเกิดอาการมึนงง ปวดศีรษะ ผู้เป็นโรคหัวใจจะเกิดอาการรุนแรง หากสูดดมในปริมาณที่มากก็อาจถึงตายได้
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้ชองเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันการถลุงแร่โลหะที่มีส่วนผสมของกำมะถัน ลาวาจากภูเขาไฟ ส่งผลทำให้เกิดโรคหลายชนิดที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ การทำงานของปอด ทำให้เกิดการระคายเคืองในนัยน์ตาและจมูก
ตะกั่ว มีในธรรมชาติ การทำเหมืองและการถลุงแร่ตะกั่ว ยวดยานพาหนะต่างๆ อุสาหกรรมที่ใช้แร่ตะกั่ว เช่น โรงงานแบตเตอรี่ หากสะสมในร่างกายทำให้ไตเสื่อมคุณภาพ เป็นอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง
และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นมา ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยก็ได้เพิ่มการวัดค่าฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว PM10 และ PM2.5 เข้าไปในการคำนวณ AQI ด้วย
ฝุ่นละออง เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิง การก่อสร้าง กระบวนการทางอุตสาหกรรม ปฎิกิริยาเคมีในชั้นบรรยากาศ และมนุษย์ ฝุ่นละอองเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้ไอ จาม การสะสมของสารพิษที่ติดมากับฝุ่นละอองส่งผลให้อันตราการตายก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ สารมลพิษทางอากาศประเภทใด (ดังที่กล่าวมา) มีค่าสูงสุด ก็จะถูกใช้เป็นดัชนีคุณภาพอากาศ(AQI) ของวันนั้น ๆ
เราสามารถรู้ค่าเฉลี่ยหรือค่า AQI ได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้ดัชนีชี้วัดที่ได้รับการคำนวณค่ามลพิษทางอากาศของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจัดทำโดยกรมควมคุมมลพิษ โดยมีค่าระดับคุณภาพอากาศดังนี้
มาตรการการป้องกันและช่วยเหลือต่าง ๆ ของทางภาครัฐนั้นส่วนใหญ่เป็นการป้องกันและแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการฉีดน้ำ หรือการตรวจจับควันดำ การห้ามประชาชนเผาขยะ (ซึ่งไม่เป็นผลและไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร) เราจึงควรมองการแก้ปัญหาในระยะยาวและประสานความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อช่วยแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน ได้แก่
มาตรการที่ได้เสนอแนะนี้เหมาะสำหรับจัดการพื้นที่ของเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เพราะในภูมิภาคอื่น ๆ ต้องมีการแก้ไขที่แตกต่างกันออกไป และถึงแม้ว่ามาตรการเหล่านี้จะยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ แต่หากทำได้จริงเราก็จะสามารถลดปัญหาฝุ่นได้ในระยะยาว แต่ทั้งหมดต้องได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อแก้ปัญหานี้กันอย่างจริงจัง
การป้องกันฝุ่นสำหรับประชาชนที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้ คือการสวมหน้ากากอนามัย N95 โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางไปข้างนอกหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง หน้ากาก N95 เป็นหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นขนาดจิ๋วได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อสุขภาพ ส่วนการป้องกันในระยะยาวนั้นทำได้ เช่น
แม้ฤดูกาลจะผ่านไป ฝุ่นจะคลายไปบ้าง แต่ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ยังคงอยู่รอบตัวเรา จากต้นเหตุที่เราทุกคนช่วยกันสร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขั้บขี่รถยนต์ที่มีการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง การเผาหญ้า เผาขยะ เผาไร่ และยิ่งเมื่อฤดูลมสงบ ความกดอากาศต่ำมาถึง ฝุ่นที่สะสมในบรรยากาศก็จะปรากฎชัดขึ้น ทำให้ลมหายใจติดขัด ผื่นคันถามหา
เราจะแก้ปัญหาด้วยฝนเทียม ละอองน้ำ ใส่หน้ากากกันฝุ่น ฯลฯ ก็ทำได้เพียงชั่วคราว เพราะต้นเหตุของปัญหายังคงอยู่
แต่หากเราเริ่มช่วยกันตั้งแต่วันนี้ ลดการสร้างมลพิษจากในบ้าน ลดการเผาทุกชนิด ลดการใช้รถยนต์ที่มีการเผาไหม้ ปลูกต้นไม้ดูดสารพิษเพิ่มขึ้น รณรงค์เรียกร้องให้กลุ่มทุนและอุตสาหกรรมแสดงความรับผิดชอบในธุรกิจ ฯลฯ ฝุ่นพิษจะลดลง เราจะมีอากาศที่สะอาดขึ้นให้ตัวเองและลูกหลานในอนาคต
สำหรับผู้ที่สนใจหนังสือเรียนรู้อยู่กับฝุ่น PM2.5 สามารถดาวน์โหลดได้ที่ หนังสือ “เรียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM2.5”
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้