รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
2 พฤษภาคม 2566
ผู้เขียน ศุภวรรณ พิพิธสมบัติ
ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสมือน Hub ที่เชื่อมสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างชาวอินเดียและไทย อีกทั้งยังเป็นคลังความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับอินเดีย ทั้งอินเดียโบราณ อินเดียร่วมสมัย อินเดียใหม่ในมิติต่าง ๆ แนะคนไทยปรับเลนส์การมองอินเดีย ลดอคติ เน้นตั้งเป้ามองหาโอกาสชัดเจนจะสามารถคว้าโอกาสความร่วมมือจาก “อินเดียใหม่” ได้ก่อนใคร
อินเดียในวันนี้ไม่เหมือนเดิมและจะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วยศักยภาพภายในประเทศและนโยบายของรัฐที่มุ่งสร้าง “อินเดียใหม่” หรือ “New India” ทำให้ทุกวันนี้ อินเดียได้ก้าวขึ้นเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลด้วยขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก (ตามการคาดการณ์ของธนาคารโลก) และด้วยจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกกว่า 1.4 พันล้านคน แซงหน้าสาธารณรัฐประชาชนจีนไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ต้นปี 2566 ที่ผ่านมา ทำให้อินเดียอุดมไปด้วยแรงงานวัยหนุ่มสาว และความต้องการด้านการบริโภค (Demand) ภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดีย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ โหราชัยกุล ผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงอินเดียใหม่ว่า “อินเดียในวันนี้เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนมาก และในอีก 10 ปีข้างหน้า อินเดียจะเปลี่ยนไปมากกว่านี้อีก ไม่มีใครมาหยุดยั้งการพัฒนาของอินเดียได้”
“อินเดีย คือตลาดใหญ่ของโลก คือโอกาสการลงทุน อินเดียใหม่มีโอกาสความร่วมมือเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งคนไทยควรปรับเลนส์มองอินเดียเพื่อจะเห็นและคว้าโอกาสจากอินเดียใหม่ให้ได้ก่อนใคร ๆ โดยลดอคติในการมองอินเดียลงก่อน เปิดใจกว้างเพื่อเข้าใจความเป็นอินเดีย ซึ่งจะทำให้เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ อีกมาก”
ทั้งนี้ อาจารย์สุรัตน์ได้กล่าวถึงปัจจัยที่สร้างความเป็นอินเดียใหม่ที่คนไทยควรรู้และเปิดมุมมอง รวมถึงโอกาส อุปสรรค และความร่วมมือที่เพิ่มขึ้น และอาจเพิ่มได้อีกในอนาคตระหว่างอินเดีย-ไทย
ทุกรัฐบาลของอินเดีย มีความพยายามที่จะพาอินเดียไปสู่สิ่งที่เรียกว่าอินเดียใหม่ เน้นความต่อเนื่องในการพัฒนาเศรษฐกิจ และระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของประเทศ โดยเฉพาะภายใต้การนำนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ที่ครองตำแหน่งนี้ถึงสองสมัยติดต่อกัน ทำให้การขับเคลื่อนอินเดียใหม่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมเข้าถึงสัมผัสได้ด้วย “มือถือ”
อาจารย์สุรัตน์ทำท่ายกมือถือขึ้นมาพร้อมกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า “ถ้าพูดถึงนายกนเรนทรา โมดี เราต้องนึกถึง “มือถือ” ก่อนเลย เพราะหลาย ๆ บริการของรัฐจะถูกรวมไว้ในแอปพลิเคชันบนมือถือ เพื่อให้ประชาชนสะดวกในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ เช่น การฉีดวัคซีน การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบริการของรัฐ เป็นต้น นอกจากนี้ นายกนเรนทรา โมดี ตั้งใจจะสร้างอินเดียใหม่ ที่มีสาธารณูปโภคพร้อมและเชื่อมต่อทั้งสนามบิน รถไฟ ถนน ไฟฟ้า ประปา รวมถึงกฎกติกาการลงทุน ที่ทำให้ชาวอินเดียมีความภูมิใจในความเป็นเอเชียที่ไม่ได้เกิดมาเพื่อเดินตามตะวันตกอย่างเดียว”
อาจารย์สุรัตน์ ขยายความ New India ว่าเป็นแนวคิดการพัฒนาประเทศอินเดีย ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2561 เพื่อให้นำพาอินเดียก้าวสู่ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจมูลค่า 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2568 โดยมีนโยบายสำคัญ 7 ข้อ ดังนี้
อาจารย์สุรัตน์ กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า “อีก 10 ปีข้างหน้าอินเดียจะเปลี่ยนไปมากกว่าเดิมอีก ไม่มีใครมาหยุดยั้งการพัฒนาของอินเดียได้” คำกล่าวนี้มาจากความเชื่อมั่นในรากฐานของการขับเคลื่อนประเทศให้พัฒนาอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง หรือที่เรียกย่อว่า “3D” ได้แก่
“คนอินเดียเห็นรัฐธรรมนูญเป็นที่พึ่งสำคัญของคนอินเดียได้ หากไม่พอใจรัฐบาล ประชาชนก็สามารถออกมาประท้วงได้ตามสิทธิพื้นฐานภายใต้ขอบเขตของรัฐธรรมนูญอินเดีย ซึ่งตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นต้นมา ประเทศอินเดียยังไม่เคยมีการรัฐประหาร หรือฉีกเปลี่ยนรัฐธรรมนูญใหม่เลย เพราะรัฐธรรมนูญอินเดียเป็นรัฐธรรมนูญที่มีชีวิต มีความยืดหยุ่น เปิดช่องให้แก้ไขปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมได้โดยง่าย เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคมแต่ละยุคสมัย และรองรับความแตกต่างหลากหลายอย่างมาก จุดเด่นนี้ทำให้รัฐธรรมนูญอินเดียมีความเก่าแก่ยาวนานฉบับหนึ่งของโลก” อาจารย์สุรัตน์กล่าว
อาจารย์สุรัตน์ กล่าวถึงสายสัมพันธ์ระหว่างชาวอินเดียและชาวไทยที่มีมาแต่โบราณในหลายมิติ ทั้งในแง่ภาษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม อาหาร การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ฯลฯ
“ในอดีตไทยได้รับอิทธิพลจากอินเดียในแง่การศึกษา ภาษาบาลีสันกฤต ศาสนาไม่ว่าจะเป็นพรามณ์ ฮินดู พุทธ”
“ในปัจจุบัน สายสัมพันธ์อินเดีย-ไทยยังคงเชื่อมต่ออย่างไหลลื่น ผ่านการเดินทางและการท่องเที่ยวที่สะดวกมากขึ้น ภาพยนตร์อินเดียที่ฉายในแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น คังคุไบ พระพุทธเจ้า สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ เป็นต้น เทคโนโลยีนวัตกรรม ICT ที่มีฐานการผลิตที่อินเดีย ผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชกรรมภูมิปัญญาของอินเดียที่คนไทยก็นิยมซื้อติดมือเมื่อไปเยือนอินเดีย และในทางกลับกัน คนอินเดียจำนวนไม่น้อยก็หลงเสน่ห์สินค้าไทย อาทิ เฟอร์นิเจอร์ไทย อาหารไทย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง และสถานที่พักผ่อนหลายแห่งในประเทศไทยที่ชาวอินเดียนิยมพาครอบครัวมาเที่ยว”
“คนไทยเชื้อสายอินเดียที่อยู่ในภาคธุรกิจก็มีส่วนร่วมในการเผยแพร่วัฒนธรรมอินเดียด้วย อย่างการก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมอินเดีย หรือ ICCR’s Swami Vivekananda Cultural Centre (ICCR in Thailand) ที่ตั้งชื่อตาม ท่านสวามี วิเวกานันท์ ผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญคนหนึ่งของอินเดีย ศูนย์นี้ตั้งอยู่ที่ย่านอโศก เปิดสอนภาษาฮินดี เรียนตีกลองอินเดีย ระบำอินเดีย ภารตนาฏยัม ซึ่งค่าเรียนถูกมากแทบจะให้ฟรี หลักสูตรละ 100-200 บาทเท่านั้น สาเหตุที่เก็บเพื่อต้องการให้คนที่ลงทะเบียนเรียนตั้งใจเรียน ไม่ทิ้งขว้างไปกลางทางเสียก่อน” อาจารย์สุรัตน์ กล่าว
นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียเองก็เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมอินเดียในประเทศไทยด้วย เช่น การจัดงานวันโยคะโลก ที่เปิดให้ประชาชนมาเรียนรู้การออกกำลังกายแบบโยคะจากต้นตำรับอินเดีย ซึ่งได้รับความสนใจทั้งจากคนไทยและคนต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก หรือการจัดงานวันฮินดีโลกที่เปิดให้คนไทยได้เรียนภาษาฮินดี รวมถึงเมื่อไม่นานมานี้ สมาคมอินเดียแห่งประเทศไทย (Indian Association of Thailand: IAT) ก็ได้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชน จัดงานดิวาลี ณ ย่านลิตเติ้ลอินเดีย คลองโอ่งอ่าง พาหุรัด ซึ่งเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ของชาวไทยเชื้อสายอินเดียอีกด้วย
ประชาชนของทั้ง 2 ประเทศ เรียนรู้และรับอิทธิพลจากกันและกันมาอย่างต่อเนื่อง ในด้านศิลปวัฒนธรรม ภาษา อาหาร การท่องเที่ยว จิตวิญญาณ ภูมิปัญญาความรู้และสุขภาพ แต่ในด้านเศรษฐกิจและการค้านั้นยังคงมีอุปสรรคอยู่
“ความสัมพันธ์ในมิติการค้าระหว่างอินเดียไทยมีอุปสรรคอยู่บ้างในระดับรัฐบาล ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับอินเดียยังไม่บรรลุข้อตกลง ซึ่งจุดนี้ ยิ่งไทยช้า ก็จะยิ่งเสียโอกาสไปเรื่อย ๆ” อาจารย์สุรัตน์ กล่าวสะท้อนข้อห่วงใย “แต่เราก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัยอย่างจุฬาฯ ก็พยายามพัฒนาความร่วมมือด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร และส่วนรวมนำหน้า (รัฐบาล) ไปก่อน”
แม้ความร่วมมือด้านการค้าและในระดับรัฐจะยังสะดุด แต่ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ระหว่างอินเดีย-ไทยยังคงเดินหน้า อย่างที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ก่อตั้งศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาฯ ขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและอินเดีย
“ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ มุ่งช่วยให้สาธารณชนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอินเดีย ทั้งอินเดียโบราณ อินเดียร่วมสมัย อินเดียใหม่ในมิติต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้งเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ เราหวังให้ที่นี่เป็นเหมือน Hub ศูนย์กลางเชื่อมสัมพันธ์ความร่วมมือระหว่างชาวอินเดียและไทย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักธุกิจ นักการทูต นิสิต ศิษย์เก่า และประชาชนทั่วไป เราจึงมีทั้งเครือข่ายคนไทยเชื้อสายอินเดียในไทย และคนไทยในอินเดียที่พร้อมให้ความช่วยเหลือกันและกัน”
อาจารย์สุรัตน์ ยกตัวอย่างเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่อินเดีย “ตอนที่โควิดระบาดหนัก ๆ เราก็สร้างเครือข่ายร่วมกับเพื่อนคนไทยที่นับถือศาสนาซิกซ์ในอินเดีย ให้ความช่วยเหลือคนไทยในอินเดียที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากสถานเอกอัครราชทูต และกงสุล ซึ่งความช่วยเหลือนี้ก็เผื่อแผ่ถึงคนเชื้อชาติ ศาสนาอื่น ๆ ที่เจ็บป่วยเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาลด้วย การทำงานนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนตัวชี้วัดใด แต่เราทำตามมโนธรรมที่มีต่อเพื่อนมนุษย์”
นอกจากความรู้และเครือข่ายสายสัมพันธ์อินเดีย-ไทยแล้ว ศูนย์ฯ ยังมีเปิดกว้างให้คำปรึกษาและยินดีร่วมมือกับกลุ่มหรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น ในฐานะเครือข่ายคลังสมองด้านนโยบายของบิมสเทค (BNPTT) ศูนย์ฯ ให้คำปรึกษาด้านเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมแก่หน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และอื่น ๆ
“เมื่อมีคนติดต่อขอให้ช่วยในเรื่องที่เราช่วยได้ เรายินดีช่วยเต็มที่ ไม่เคยปฏิเสธเลย ตราบใดที่เราอยู่ในสังคมเดียวกัน และอยากร่วมกันทำเรื่องมีประโยชน์แก่สังคมก็ให้มาที่ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาฯ ได้เสมอ นี่คือจุดยืนของเรา”
สำหรับนิสิต และบุคคลทั่วไปที่สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับอินเดีย อาจารย์สุรัตน์ กล่าวเชิญชวนและแนะนำให้ไปที่ “จุฬาฯ ภารัตคดีสถาน” ชั้น 6 สำนักงานวิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง)
“จุฬาฯ ภารัตคดีสถาน เป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมหนังสือที่เกี่ยวข้องกับอินเดียศึกษา ทั้งด้านศิลปกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เรามีหนังสือทรงคุณค่าและหายากเกี่ยวกับอินเดียนับ 1,000 เล่ม ทั้งหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบางเล่มไม่มีตีพิมพ์ในประเทศไทย เราหวังว่าในอนาคต มุมนี้จะเป็นมุมที่มีหนังสือเกี่ยวกับอินเดียมากที่สุดในประเทศไทย” (ผู้ที่สนใจสามารถรายชื่อและสถานะการยืมของหนังสือในมุมนี้ทั้งหมดได้ ที่นี่ )
สำหรับประชาชนที่สนใจข่าวสารวัฒนธรรมอินเดีย สามารถติดตามได้ทางเว็บไซต์ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาฯ และรายการปกิณกะอินเดีย – รายการที่ชวนมองอินเดียด้วยเลนส์ใหม่ ครอบคลุมประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองการต่างประเทศ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 10.30 – 10.55 น. ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ 101.5 MHz (รับฟังย้อนหลังได้ที่ https://curadio.chula.ac.th/v2022/program/main/?f4s5j5) หรือติดตาม Facebook ของผม Surat Horachaikul หรือ ภารัต-สยาม / Bharat-Siam ผู้ติดตามก็จะได้เปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับอินเดียแบบนอกตำราในอีกหลายแง่มุม
สำหรับผู้ที่ประสงค์ขอนัดหมายเพื่อขอคำปรึกษาเชิงลึกได้ที่ ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาฯ ชั้น 17 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีเมล: isc@chula.ac.th โทรศัพท์ 0-2218-3945
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ โหราชัยกุล ผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำหนังสือที่จะทำให้เข้าใจหลักคิดความเป็นอินเดียได้ดียิ่งขึ้น 7 เล่ม ได้แก่
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
อาหารเป็นยา นวัตกรรมเพื่อสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน
จุฬาฯ ชู “หมัดสั่ง” ภาพยนตร์สารคดีฟื้นจิตวิญญาณมวยไทยบนสังเวียนโลก
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้