รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
9 พฤษภาคม 2566
ผู้เขียน ภัทรพร รักเปี่ยม
อธิการบดี จุฬาฯ ประกาศเจตนารมณ์เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emissions) ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593) พร้อมเผย 5 กลยุทธ์ต้นแบบเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน
ปัจจุบัน Net Zero Greenhouse Gas Emissions หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เป็นประเด็นที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญและจัดการอย่างเร่งด่วน ตามมติการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ครั้งที่ 26 หรือ COP26 เมื่อปี 2021 (พ.ศ. 2564) ที่สนับสนุนเป้าหมายในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันหายนะที่จะเกิดจากสภาวะอากาศสุดโต่ง (Extreme weather events)
“จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เริ่มเก็บข้อมูลการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2015 (พ.ศ. 2558) พบว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมเท่ากับ 54,955.89 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่เกิดจากการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย และเมื่อคำนวณความเข้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเทียบกับจำนวนนิสิตและบุคลากรทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัยในปีนั้น มีค่าเท่ากับ 1.21 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคน จากรายงานดังกล่าว จุฬาฯ ได้จัดทำแผนและออกนโยบายมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังและเข้มข้นมากขึ้น” ศาสตราจารย์ ดร. อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ หัวหน้าคณะทำงานโครงการ Chula Race to Zero ด้านนโยบายและแผนงาน และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
ในฐานะพลเมืองของประเทศและโลก จุฬาฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่มีต่อส่วนรวมและต้องการลงมือแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง และเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของจุฬาฯ ปี 2021-2024 (พ.ศ. 2564-2567) อธิการบดี จุฬาฯ จึงได้ประกาศเจตนารมณ์ลดก๊าซเรือนกระจกภายในมหาวิทยาลัย เมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายหลัก 2 ประการ คือ
จุฬาฯ จะดำเนินการไปถึงเป้าหมาย Net Zero Greenhouse Gas Emissions ได้นั้นต้องการความร่วมไม้ร่วมมือจากทุกคนในประชาคมจุฬาฯ และจำเป็นต้องมีการวางแผนในการลดใช้พลังงาน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ จุฬาฯ ได้ออกแบบ 5 กลยุทธ์ Chula’ 2050 Net-Zero Transition ประกอบด้วย
จุฬาฯ ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบการใช้พลังงานแบบเดิม เป็นระบบการใช้พลังงานทดแทนที่ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอน (Zero-carbon Energy System) ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV development)
“จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยในเมือง จึงมีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ การใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ในฐานะพลังงานทดแทนจึงเหมาะกับบริบทของมหาวิทยาลัยที่สุดในปัจจุบัน”
จุฬาฯได้ลงนามข้อตกลงกับการไฟฟ้านครหลวง (MEA) เพื่อดำเนินโครงการนำร่องติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารต่าง ๆ (Solar Rooftop) ซึ่งมีแผนจะดำเนินการติดตั้งทั้งหมด 65 อาคารทั่วทั้งมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ขณะนี้ได้ติดตั้งและใช้งานแล้วจำนวน 14 อาคาร และคาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จทั้งหมดภายในสิ้นปี 2023 (พ.ศ. 2566) นี้
“หากติดตั้งและใช้งานครบทุกอาคารแล้วจะสามารถทดแทนการใช้ไฟฟ้าในจุฬาฯ ได้ถึง 25% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งมหาวิทยาลัย”
นอกจากนี้ จุฬาฯ จะเน้นให้ความสำคัญกับการออกแบบอาคารสีเขียว โดยจะออกแบบการก่อสร้างอาคารใหม่ให้เหมาะสม เช่น วางผังและทิศทางที่ตั้งของอาคารให้สัมพันธ์กับการรับแดด เน้นการใช้แสงธรรมชาติเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า
จุฬาฯ ดำเนินการตรวจอายุการใช้งานและประเมินประสิทธิภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงานในอาคารส่วนกลาง เช่น หลอดไฟ และเครื่องปรับอากาศ ทั้งยังมีการปรับปรุงระบบปรับอากาศภายในอาคาร โดยติดตั้งมอนิเตอร์เพื่อตรวจสอบความร้อนภายในระบบ และการใช้ระบบระบายอากาศ ระบบระบายความร้อน ตลอดจนมีการติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคารอัจฉริยะ CU BEMs (Building Energy Management) ในอาคารทั่วทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อใช้มอนิเตอร์ ควบคุมและสั่งการการใช้พลังงานในแต่ละอาคารให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ลดการใช้พลังงานโดยไม่จำเป็น โดยสามารถตรวจสอบและจำกัดการใช้พลังงานในแต่ละอาคารผ่านเว็บแอปพลิเคชันและ dashboard ที่รายงานข้อมูลการใช้พลังงานสูงสุด (Peak Load) และจำนวนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งระบบนี้ออกแบบโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด (Smart Grid Reseach Unit- SGRU) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยโตเกียว และกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
จุฬาฯ ได้สนับสนุนงานวิจัยและความร่วมมือในระดับประเทศและนานาชาติ รวมไปถึงการลงทุนสีเขียว เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไร้คาร์บอน โดยศูนย์ Bio-Circular-Green economy Technology & Engineering Center คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ธุรกิจอุตสาหกรรม และองค์กรสาธารณะ จัดตั้งความร่วมมือในนาม Thailand CCUS Consortium เพื่อวางแผน วิจัย พัฒนาการใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการนำเอา CO2 ที่เดิมถูกมองว่าเป็นมลพิษ มาแปรรูปแล้วนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ สร้างมูลค่าทางด้านการพาณิชย์และยังช่วยขจัดมลภาวะให้กับสภาพแวดล้อม
อีกทั้ง นักวิจัย จุฬาฯได้แปลงคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเมทานอลโดยใช้พลังงานน้อยแต่ได้ผลมาก ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการวิจัยการแปลงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น (Carbon Dioxide (CO2) Conversion to Higher-Valued Products) ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัย “Research Cess Fund” (RCF) จาก Malaysia-Thai Joint Authority (MTJA) ในระดับนานาชาติ
และในปี 2022 (พ.ศ. 2565) ที่ผ่านมา จุฬาฯ ให้ความสำคัญเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางพลังงาน (Energy Transition) และพลังงานสะอาดมากขึ้น โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับบริษัท Hitachi Energy เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา การวิจัยพัฒนาและการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี ในประเด็นที่เกี่ยวกับพลังงาน อาทิ ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ไมโครกริด (Microgrid) ระบบผลิตไฟฟ้าและบริหารจัดการไฟฟ้าขนาดเล็กสำหรับชุมชน โดยใช้พลังงานทดแทนเป็นหลัก ระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ (BESS) การขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (e-Mobility) ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ซึ่งเป็นหนึ่งในพลังงานสะอาด และศึกษาอนาคตทางพลังงานที่ยั่งยืน (Sustainable Energy Future)
จุฬาฯ ได้รณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรใช้รถโดยสารสาธารณะภายในมหาวิทยาลัย โดยจุฬาฯ เพิ่มตัวเลือกในการเดินทางที่ปล่อยคาร์บอนน้อย (Low Carbon Transportation) เช่น รถบัสไฟฟ้า จักรยาน รถตุ๊กๆ ไฟฟ้า สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ทั้งยังมีการปรับปรุงทางเดินมีหลังคา หรือ Cover way เชื่อมต่ออาคารต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาคมจุฬาฯ ในการเดินทาง
จุฬาฯ ยังได้ดำเนินโครงการ Chula Zero Waste โครงการจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ (Zero Waste Management) ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดปริมาณขยะที่จะไปสู่พื้นที่ฝังกลบ โดยใช้กฎ 3R ได้แก่ การลดการใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมจากประชาคมจุฬาฯ ทั้งนิสิต บุคลากร ไปจนถึงผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการในบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความตระหนักให้ทุกคนหันมาใส่ใจผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ใส่ใจกับขยะที่เกิดขึ้นในการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยมากขึ้น รวมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกระตุ้น Sustainable Lifestyle เพื่อรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
จากการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังในช่วงแผน 5 ปีแรกของโครงการ ช่วยให้ปริมาณขยะลดลงประมาณ 40% มากกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ 30% แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการบริหารจัดการ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรมในการลงมือจัดการปัญหาด้านขยะ ทั้งนี้ โครงการยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ 75% ภายในปี 2040 (พ.ศ. 2583)
นอกจากนี้ จุฬาฯ สนับสนุนให้บุคลากรและนิสิตพกแก้วน้ำส่วนตัว ลดการใช้แก้วพลาสติกแบบ Single-used cup และเตรียมตู้กดน้ำดื่มให้บริการ และรณรงค์ร้านค้าในโรงอาหารงดให้ถุงพลาสติกและใช้แก้ว Zero waste ที่ย่อยสลายได้ และในอนาคต จุฬาฯ มีแผนจะสนับสนุนอาหารคาร์บอนต่ำ Low Carbon Diet เพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์ หันมาบริโภคอาหารจำพวกพืชที่สร้างคาร์บอนต่ำ ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ธัญพืช หรือโปรตีนจากพืชตระกูลถั่ว และลดการบริโภคอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักร หรือลดการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการในโรงอาหารภายในมหาวิทยาลัย
เพื่อกระตุ้นให้ประชาคมจุฬาฯ อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการลดก๊าซเรือนกระจกภายในมหาวิทยาลัย จุฬาฯ มีแผนเดินหน้าจัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ อาทิ เวทีเสวนา โครงการประกวดคลิปสั้นและการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างนิสิตและบุคลากรผ่านช่องทางสื่อออนไลน์อีกด้วย เพื่อให้ประชาคมจุฬาฯ ตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างจิตสำนึก เตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
“แม้ว่าระบบบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่จุฬาฯ นำมาใช้เป็นระบบที่มีใช้ในต่างประเทศ แต่หลายระบบยังไม่แพร่หลายในประเทศไทย จุฬาฯ จึงอยากเป็นหนึ่งในผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเป็นต้นแบบของสถาบันการศึกษาที่นำร่องพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมสีเขียว ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้จริงและยั่งยืน เราเชื่อมั่นว่าเราทำได้ และจะขยายผลไปยังสถาบันหรือหน่วยงานอื่น ๆ ในไทย ให้หันมาร่วมมือกันมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนด้วยกัน” ศาสตราจารย์ ดร. อรทัย กล่าวทิ้งท้าย
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารความคืบหน้าของแผนกลยุทธ์ Chula’ 2050 Net-Zero Transition ได้ที่เว็บไซต์จุฬาฯ www.chula.ac.thFacebook page: Chulalongkorn University หรือ Chula Race to Zero – Climate Actions
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้