รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
27 กันยายน 2566
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
นวัตกรรมใหม่ของ ATK ครั้งแรกในไทย นักวิจัยจุฬาฯ พัฒนา ATK วินิจฉัยโควิด-19 แบบใช้เคมีไฟฟ้า ผลตรวจถูกต้อง แม่นยำ ลดการนำเข้า ATK จากต่างประเทศ หวังนำร่องรองรับโรคอุบัติใหม่ในอนาคต
นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนปัจจุบัน ชุดตรวจเอทีเค หรือ Antigen Test Kit (ATK) ได้กลายเป็นอุปกรณ์สามัญและสำคัญที่ประชาชนทั่วไปใช้ในการตรวจคัดกรองโควิด-19 เบื้องต้นด้วยตนเอง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา
แม้ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเบาบางลงด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่ลดลง แต่เราก็ยังคงต้องเฝ้าระวังโรคนี้กันอยู่ ชุดตรวจ ATK จึงยังมีความจำเป็น อย่างไรก็ตาม ชุดตรวจ ATK ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดนั้นเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ราคาจึงสูงเมื่อเทียบว่าประชาชนและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต้องใช้ชุดตรวจเพื่อคัดกรองโรคเป็นระยะ ๆ
ดังนั้น ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ดร.สุดเขต ไชโย ดร.จักรพรรณ ขุมทรัพย์ และดร.อับดุลฮาดี ยะโก๊ะ จึงเกิดแนวคิดพัฒนา “ATK ร่วมกับเคมีไฟฟ้าแบบไม่ติดฉลาก สำหรับการวินิจฉัยโรค โควิด-19” เพื่อตอบโจทย์ด้านราคาและประสิทธิภาพของชุดตรวจ ATK ตลอดไปจนถึงต่อยอดชุดตรวจที่สามารถรับมือกับโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
“นี่เป็นเป็นนวัตกรรมแรกที่นำชุดตรวจโควิด-19 มาทำงานร่วมกับเคมีไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความแม่นยำและความไวในการตรวจ และเป็น ATK ที่ผลิตได้ในประเทศไทย ต้นทุนการผลิตจึงต่ำ ทำให้ราคาถูกกว่า ATK ที่มีจำหน่ายทั่วไปเกือบครึ่ง” ดร.สุดเขต เล่าถึงความโดดเด่นของนวัตกรรมฝีมือคนไทย ที่ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566
ชุดตรวจ ATK ร่วมกับเคมีไฟฟ้าแบบไม่ติดฉลากเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาฯ กับศูนย์พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยตามมาตรฐานสากล (QDD Center) จุฬาฯ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ดร.สุดเขต อธิบายว่าชุดตรวจ ATK ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นชุดตรวจที่เรียกว่า ATK แบบติดฉลาก (Strip test) ชุดตรวจแบบนี้อาศัยการติดฉลากอนุภาคทองคำระดับนาโนบนสารชีวโมเลกุลที่ชุดตรวจ เพื่อให้เห็นแถบสีแดงบนชุดตรวจ ATK และต้องใช้สารในการตรวจวัดมากกว่าสองชนิดขึ้นไป ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง
ส่วนชุดตรวจ ATK แบบใหม่ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นมานั้นอาศัยหลักการการจับกันระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจน ช่วยให้มีความไวในการตรวจจับเชื้อโควิด-19 ได้ดีขึ้น แม้จะมีเชื้อในปริมาณน้อยก็ตาม
“ที่ชุดตรวจ ATK ร่วมกับเคมีไฟฟ้าแบบไม่ติดฉลาก จะมีการตรึงแอนติบอดีที่มีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโควิด-19 ไว้บริเวณเส้นทดสอบ (Test Line) เมื่อหยดสารคัดหลั่งตัวอย่างลงไปใน Test Line ถ้าเป็นเชื้อโควิด-19 เชื้อจะถูกจับบริเวณ Test Line ที่มีขั้วไฟฟ้าอยู่ข้างล่าง”
ดร.สุดเขต อธิบายการอ่านผลว่า “การตรวจวัดสัญญาณทางเคมีไฟฟ้าจะแปรผกผันกับความเข้มข้นของเชื้อไวรัสโควิด-19 กรณีผู้ป่วยมีเชื้อเป็นบวก ค่ากระแสไฟฟ้าจะลดลง แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเชื้อเป็นลบ ค่ากระแสไฟฟ้าจะไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น การลดลงของกระแสไฟฟ้าสามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคโควิด-19 ได้”
อุปกรณ์ในชุดตรวจ ATK แบบใหม่มีความแตกต่างจาก ATK แบบที่เราคุ้นเคยเล็กน้อยเท่านั้น กล่าวคือชุดตรวจ ATK ทั่วไปประกอบด้วยแถบตรวจ ATK น้ำยา ก้าน Swab ส่วนชุดตรวจ ATK แบบใหม่ สิ่งที่เพิ่มพิเศษขึ้นมาคือขั้วไฟฟ้าที่สอดอยู่บริเวณใต้ ATK และซองบรรจุ ATK ที่จะมี QR Code สำหรับสแกนเพื่อเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน
“เราสามารถดูการแปลผลการตรวจเชื้อโควิด-19 ได้จากตัวเลข ที่ปรากฎบนสมาร์ทโฟน ซึ่งง่ายและแม่นยำกว่าการดูแถบสีด้วยตาเปล่า ที่สำคัญ แม้เรามีเชื้อโควิด-19 เพียงเล็กน้อย ผลก็จะปรากฎ” ดร.สุดเขต เผยถึงจุดเด่นของการอ่านผลตรวจด้วย ATK แบบใหม่
จากการทดสอบชุดตรวจ ATK ร่วมกับเคมีไฟฟ้าแบบไม่ติดฉลาก กับกลุ่มผู้มีความเสี่ยงจากโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าชุดตรวจ ATK แบบใหม่มีค่าความไวเชิงวินิจฉัย 91.66 % และค่าความจำเพาะเชิงวินิจฉัย 100 %
“ชุดตรวจนี้มีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องใกล้เคียงกับวิธีมาตรฐานในการตรวจโควิด-19 ด้วย RT-PCR” ดร.สุดเขต กล่าว
ชุดตรวจ ATK ที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ราคาย่อมเยากว่าชุดตรวจแบบเดิม เนื่องจากไม่มีการติดฉลากอนุภาคทองคำในชุดตรวจ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง และคาดว่าราคาต่อหน่วยจะอยู่ที่เพียงชุดละ 15 บาทเท่านั้น!
“ชุดตรวจ ATK ร่วมกับเคมีไฟฟ้าแบบไม่ติดฉลาก จะช่วยลดการนำเข้าชุดตรวจ ATK จากต่างประเทศ จึงเหมาะสำหรับใช้ในหน่วยงานและชุมชน รวมทั้งโรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกล ไม่มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่เพียงพอ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคโควิด-19 ในคนจำนวนมากได้ถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ และมีค่าใช้จ่ายไม่มาก” ดร.สุดเขต กล่าวย้ำถึงเป้าหมายในการพัฒนาและผลิตนวัตกรรม
จากความสำเร็จในการพัฒนาชุดตรวจ ATK ร่วมกับเคมีไฟฟ้า ดร.สุดเขต เผยว่าเวลานี้ทีมวิจัยกำลังพัฒนาเครื่องอ่านสัญญาณในชุดตรวจให้อ่านง่ายขึ้น เพื่อที่ประชาชนทั่วไปสามารถตรวจ คัดกรองได้ด้วยตัวเองที่บ้าน นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังมีโครงการพัฒนาเซนเซอร์ชุดตรวจวัดโรคทางเพศสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชาชนสามารถคัดกรองโรคได้ด้วยตนเองก่อนไปตรวจที่โรงพยาบาล
ดร.สุดเขต กล่าวทิ้งท้ายถึงความสำคัญของการพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรมว่า “ชุดตรวจ ATK ร่วมกับเคมีไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์นำร่อง ที่จะช่วยให้เราเตรียมการรองรับโรคอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที”
หน่วยงานที่สนใจจะพัฒนานวัตกรรมนี้ สามารถติดต่อได้ที่ ดร.สุดเขต ไชโย สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาฯ โทร.0-2218-8078 อีเมล Sudkate.c@chula.ac.th
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้