รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
1 พฤศจิกายน 2567
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ แนะใช้เทคโนโลยีการผลิตอาหารสร้างผลิตภัณฑ์ “อาหารเป็นยา” จากสมุนไพรไทย ผักและผลไม้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพประชาชน ลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และยังเป็นการเพิ่มรายได้เข้าประเทศด้วยภูมิปัญญาไทยด้านอาหารและการเกษตร
การกินอาหารเป็นต้นทางของสุขภาพ แต่ทุกวันนี้ ผู้คนจำนวนไม่น้อยกำลัง “กินยาเป็นอาหาร”
“ปัจจุบันประชากรโลกกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย รวมถึงความเครียด ส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพิ่มมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไต และโรคมะเร็ง” รองศาสตราจารย์ ดร.กิติพงศ์ อัศตรกุล หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวโดยอ้างรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2566 ที่เผยว่าประชากรทั่วโลกเสียชีวิตประมาณ 41 ล้านคนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยคิดเป็น 74% ของประชากรโลกที่เสียชีวิตทั้งหมด
ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเหล่านี้มักต้องรับประทานยาในแต่ละมื้อ แต่ละวัน เป็นจำนวนไม่น้อยเลย ซึ่งคงจะดีกว่าและอร่อยกว่าถ้าคนเรากินอาหารให้เป็นยา
“การกินยาเป็นเรื่องที่ควรมาเมื่อเรามีอาการป่วย แต่การกินอาหารเป็นได้ทั้งการบำรุงรักษาสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรคได้ แล้วทำไมเราจึงจะไม่กินอาหารให้เป็นยา ในเมื่อเราต้องกินอาหารกันอยู่แล้วทุกวัน” รศ.ดร.กิติพงศ์ตั้งคำถามชวนคิด
“อาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารเป็นยา” จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญ ไม่เพียงเพื่อส่งเสริมสุขภาพประชาชนแต่เพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้ประเทศด้วย
“ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำด้านการตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ เรามีภูมิปัญญาด้านอาหาร สมุนไพรและการเกษตร มีงานวิจัยและเทคโนโลยีที่จะช่วยให้กระบวนการผลิตอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อบำรุงสุขภาพและป้องกันโรค นี่เป็นโอกาสของประเทศและผู้ประกอบการไทย” รศ.ดร.กิติพงศ์กล่าว
รศ.ดร.กิติพงศ์ให้ความหมายของ “อาหารเป็นยา” ว่า คืออาหารที่มีส่วนผสมของผัก ผลไม้ และสมุนไพร หรือวัตถุดิบที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค
“ผู้บริโภคปรุงอาหารเป็นยาเองได้ซึ่งจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยยึดหลักการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของผัก ผลไม้ สมุนไพรในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ ที่สำคัญอาหารนั้นต้องสะอาด ไม่ปนเปื้อนสารพิษ อาหารเป็นยาเหล่านี้สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้”
รศ.ดร.กิติพงศ์ยกตัวอย่างอาหารเป็นยา ซึ่งหลายคนอาจจะคุ้นและบริโภคอยู่เป็นประจำ เช่น
กระเทียม – การบริโภคอาหารที่มีกระเทียมเป็นส่วนผสมสามารถช่วยลดระดับไขมัน LDL (หรือไขมันเลว) ในเลือดได้
ปลาทะเล – การบริโภคอาหารที่อุดมด้วย omega 3 fatty acid เช่น ปลาทะเล สามารถลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) ประมาณ 50% เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรที่ไม่บริโภคปลาทะเล
อะโวคาโด – การบริโภคอาหารที่มีอะโวคาโดเป็นส่วนผสมในปริมาณที่เหมาะสม สามารถช่วยลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
โยเกิร์ต – การบริโภคโยเกิร์ตเป็นประจำสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้ประมาณ 4% นอกจากนี้ โยเกิร์ตยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และสามารถสร้างวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.กิติพงศ์แนะนำให้เลือกโยเกิร์ตที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมไม่มากเกินไป โดยดูจากส่วนประกอบในฉลากโภชนาการ
นอกจากอาหารที่เรารับประทานกันแล้ว หลายคนก็อาจจะมีการกินอาหารเสริมร่วมด้วยเพื่อเสริมสารอาหารบางอย่างให้ร่างกาย เช่น วิตามินซี คอลลาเจน โพรไบโอติก เป็นต้น แล้ว “ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม” กับ “ผลิตภัณฑ์อาหารเป็นยา” เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
รศ.ดร.กิติพงศ์อธิบายว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือเสริมอาหารเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ ผลิตภัณฑ์มักอยู่ในรูปแบบเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลวหรือลักษณะอื่น ซึ่งมิใช่รูปแบบอาหารตามปกติ (conventional food)
อาหารเป็นยาหรืออาหารฟังก์ชัน (functional food) เป็นอาหารที่ประกอบด้วยสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่อาจเติมหรือเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต อาหารประเภทนี้ไม่ได้มีเพียงคุณค่าทางโภชนาการพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น แต่มีงานวิจัยสนับสนุนว่ามีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้ทำหน้าที่ได้เป็นปกติ หรือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคติดต่อไม่เรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน อย่างที่มีเครื่องดื่มช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หรืออาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
สำหรับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรืออาหารฟังก์ชัน รศ.ดร.กิติพงศ์ได้ให้คำแนะนำคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้
รศ.ดร.กิติพงศ์กล่าวว่าผู้บริโภคในปัจจุบันหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้นและยินดีจ่ายเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จึงนับเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร
“อุตสาหกรรมอาหารที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารฟังก์ชันมีโอกาสทางการตลาดค่อนข้างมาก ไม่เพียงมีผู้บริโภคจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ แต่ด้วยปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยผลิตภัณฑ์อาหารที่มุ่งเน้นอาหารเพื่อสุขภาพหรือสมุนไพรต่าง ๆ ที่ปลูกในบ้านเรา ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นการช่วยหนุนเศรษฐกิจบ้านเราให้ดีขึ้นได้ ดังนั้น ภาคเอกชนควรหันมาให้ความสำคัญและใส่ใจกับเรื่องอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพให้มากขึ้น เพื่อที่จะทำให้สามารถดึงดูดลูกค้า รวมไปถึงเป็นการสร้างโอกาสในการแข่งขันทางการตลาดให้มากขึ้นได้อีกด้วย”
รศ.ดร.กิติพงศ์ยกตัวอย่าง 4 แนวทางการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์ “อาหารเป็นยา” ของไทย ดังนี้
แม้ประเทศไทยจะมีต้นทุนด้านภูมิปัญญาทางการเกษตรและอาหาร แต่การผลิตผลิตภัณฑ์ “อาหารเป็นยา” จำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งหมายความว่านักวิจัยและนักวิชาการจะมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการผลิตอาหารเป็นยาให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
“อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก จึงนับว่าเป็นโอกาสทองของประเทศไทยในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารไทย ซึ่งการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาการสร้างแบรนด์ที่เข้มแข็ง รวมไปถึงการส่งเสริมการลงทุนจากภาคเอกชน จะสามารถช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารนี้เติบโตและสามารถสร้างรายได้อย่างยิ่งให้กับประเทศไทย” รศ.ดร.กิติพงศ์กล่าวทิ้งท้าย
ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบริการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร การตรวจสอบคุณภาพอาหาร การถนอมอาหาร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยปัจจุบันมีงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมจริง
สนใจข้อมูลหรือบริการให้คำปรึกษา ติดต่อได้ที่ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร 02-218-5515-6 หรือ facebook : FoodTech Chula
https://www.chula.ac.th/news/175590/
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้