รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
5 พฤศจิกายน 2567
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
นิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลกจากผลงาน “คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ” เครื่องดื่มสุขภาพมากด้วยสารสำคัญที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นปัจจัยก่อโรคมะเร็ง เตรียมจดสิทธิบัตรและพัฒนาเพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป
“นิสิตสัตวแพทย์ – ดอกกุหลาบ – เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ” สามสิ่งนี้ดูเหมือนจะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันสักเท่าไร แต่สำหรับนางสาวภิญญาพัชญ์ ปริศนานันทกุล นิสิตชั้นปีที่ 1 ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้ง 3 สิ่งนั้นคือตัวเธอ ความชื่นชอบของเธอ และที่มาของนวัตกรรมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ “คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ” ที่เพิ่งคว้ารางวัลเหรียญทองจากการแข่งขัน World Invention Creativity Olympics (WICO 2024) ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันจาก 73 ประเทศทั่วโลก
“แม้ว่าหนูจะเป็นนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ที่เรียนเพื่อจะดูแลสัตว์ แต่ความรู้และทักษะที่เรียนจากสายงานสัตวแพทย์ เช่น การสังเกต การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ก็สามารถนำไปปรับใช้ในด้านอื่น ๆ ไม่ได้จำกัดแค่การดูแลสัตว์ หนูสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อมนุษย์ได้ คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบเป็นสิ่งที่หนูสนใจส่วนตัว ด้วยความที่หนูเป็นคนชอบดอกกุหลาบและดื่มคีเฟอร์อยู่แล้วด้วย” น.ส.ภิญญาพัชญ์กล่าว
น.ส.ภิญญาพัชญ์อธิบายว่าคีเฟอร์ (Kefir) เป็นผลิตภัณฑ์หมักที่มีลักษณะคล้ายโยเกิร์ต แต่รสชาติแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เนื่องจากกระบวนการหมักที่ไม่เหมือนกัน การหมักคีเฟอร์ใช้ “คีเฟอร์เกรน” (Kefir Grains) ซึ่งประกอบด้วยจุลินทรีย์หลายชนิด เช่น แบคทีเรียแลคติก (Lactic Acid Bacteria) และยีสต์ ซึ่งจะเปลี่ยนน้ำตาลในของเหลวให้กลายเป็นกรดแลคติก คาร์บอนไดออกไซด์ และแอลกอฮอล์เล็กน้อย
“ปกติคีเฟอร์จะหมักกับน้ำผลไม้ หนูเลยสงสัยว่ามีวัตถุดิบอื่นที่เราจะใช้แทนผลไม้ได้ไหม เลยหันมามองดอกไม้ หนูเป็นคนชอบดอกกุหลาบมอญ จึงอยากศึกษาว่าดอกกุหลาบมีประโยชน์มากกว่าแค่ความสวยงามหรือเปล่า ซึ่งเมื่อศึกษาแล้วก็พบว่าดอกกุหลาบโดยเฉพาะเกสร มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก และสามารถนำมาทำคีเฟอร์ได้ ซึ่งยังไม่ค่อยมีใครทำ”
คีเฟอร์เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคสายสุขภาพว่าเป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์โปรไบโอติก ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยในการปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และลดการอักเสบภายในร่างกาย ดังนั้น เมื่อมาผสานกับสารต้านอนุมูลอิสระในเกสรดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก โดย น.ส.ภิญญาพัชญ์สรุปคุณสมบัติสำคัญของคีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ 3 ประการ ดังนี้
กระตุ้นการทำลายเซลล์มะเร็ง: สารสกัดจากเกสรดอกกุหลาบมีความสามารถในการกระตุ้น กระบวนการตายของเซลล์มะเร็งตามธรรมชาติ (Apoptosis) ทำให้เซลล์มะเร็งถูกยับยั้งการเจริญเติบโต โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด ซึ่งการวิจัยและเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งปอดชนิด A549 พบว่าสารสกัดจากเกสรดอกกุหลาบสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดดังกล่าวได้
ปัจจุบัน น.ส.ภิญญาพัชญ์วางแผนที่จะยื่นจดสิทธิบัตรนวัตกรรมเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และเตรียมจะทดสอบผลิตภัณฑ์กับกลุ่มผู้บริโภคเพื่อปรับปรุงสูตรและรสชาติให้ตอบโจทย์ตลาดในวงกว้างยิ่งขึ้น รวมถึงศึกษากระบวนการแผลิตในระดับอุตสาหกรรมเพื่อให้สามารถผลิตในปริมาณมากและคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้ดีที่สุด
“หนูตั้งใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ หนูคิดว่านวัตกรรมนี้มีศักยภาพที่จะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ตอบโจทย์ในอนาคต เพราะนอกจากจะมีประโยชน์ในด้านการเสริมสร้างสุขภาพองค์รวมแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงทั่วโลกด้วย”
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
อาหารเป็นยา นวัตกรรมเพื่อสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน
จุฬาฯ ชู “หมัดสั่ง” ภาพยนตร์สารคดีฟื้นจิตวิญญาณมวยไทยบนสังเวียนโลก
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้