รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
19 พฤศจิกายน 2567
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
“โรคไอกรน” เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีภาวะ ไอรุนแรง ไอนานต่อเนื่อง โดยมีความรุนแรงมากในกลุ่มเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 6 เดือน สำหรับในเด็กโต วัยรุ่น และผู้ใหญ่ เคยได้รับวัคซีนมาแล้ว อาการจึงไม่รุนแรงนัก อย่างไรก็ตาม ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนไม่ได้สูงอยู่ตลอดชีวิต จึงมีคำแนะนำให้พิจารณารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน
ปัจจุบันพบว่า โรคไอกรนกำลังกลับมาระบาดในบางพื้นที่ ศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิจัยโรคติดเชื้อเด็กและวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไอกรน โดยการใช้วัคซีนสำหรับคนกลุ่มต่างๆ ทั้งเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และหญิงตั้งครรภ์
โรคไอกรนเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ซึ่งสามารถติดต่อได้ง่ายผ่านละอองฝอยจากการไอหรือจาม ส่งผลให้เกิดการไอรุนแรง ไอต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์ วัคซีนมี 2 ชนิด ได้แก่
ศ.พญ.ธันยวีร์ แนะนำให้ผู้ปกครองของเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี กลับไปทบทวนประวัติวัคซีนไอกรนของเด็ก ให้ได้รับครบถ้วน 5 เข็ม ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรค หากได้รับวัคซีนครบตามวัยเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ไม่มีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนอีก สำหรับวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่อาจพิจารณารับวัคซีนไอกรนเข็มกระตุ้น Tdap เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันในช่วงที่มีการระบาด หากเคยได้ฉีดวัคซีน Tdap มาแล้ว แนะนำเว้นระยะอย่างน้อย 10 ปี
สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคไอกรน การรักษาจะใช้ยาปฏิชีวนะจำนวน 5 วัน เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ทำให้อาการทุเลาลง และตัดวงจร ลดการแพร่กระจายของเชื้อสู่คนในครอบครัว และผู้ใกล้ชิด
อย่างไรก็ตามเนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อไอกรนสามารถส่งต่อเชื้อให้กับผู้สัมผัสใกล้ชิดได้ ตั้งแต่เริ่มป่วย และต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานถึง 3 สัปดาห์ ดังนั้นผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือคนในบ้านเดียวกันมีโอกาสได้รับเชื้อในช่วงเวลาดังกล่าว จึงแนะนำให้ผู้สัมผัสใกล้ชิดไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะรับประทานเพื่อฆ่าเชื้อ ก่อนจะเริ่มแสดงอาการของโรคไอกรน
การรักษาสุขอนามัยและการป้องกันการรับเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียไอกรน หรือเชื้อโรคต่างๆ ที่มาในช่วงฤดูหนาวเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการรับเชื้อเข้าสู่ตนเอง การสวมหน้ากากอนามัยเมื่อมีอาการไอ จาม น้ำมูก เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนใกล้ชิด รวมทั้งพิจารณาใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องไปในพื้นที่แออัด
นอกจากนี้ศ.พญ.ธันยวีร์ ยังเน้นว่า โรคไอกรนซึ่งเป็นโรคที่มีวัคซีนป้องกันได้ แนะนำให้รับวัคซีนให้ครบถ้วนเหมาะสมตามวัย ทั้งวัคซีนของเด็กเล็ก และวัคซีนเข็มกระตุ้นสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ Tdap เป็นส่วนสำคัญในการช่วยปกป้องตัวเราเองและครอบครัวจากโรคไอกรน
ทั้งนี้สำหรับ บุคลากรจุฬาฯ สามารถเฝ้าระวังสุขภาพของตนเอง และหากมีอาการต้องสงสัย เช่น ไอต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคไอกรน สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองและรับคำปรึกษาจาก ศูนย์บริการสุขภาพ จุฬาฯ เพื่อรับการดูแลอย่างทันท่วงทีและลดการแพร่เชื้อแก่ผู้อื่น
ชมคลิปเพื่อรู้วิธีดูแลตัวเองและคนรอบข้างให้ปลอดภัยจากโรคไอกรน ได้ที่ Tiktok และ YouTube
https://vt.tiktok.com/ZSjPdnjFn/
https://youtu.be/WGQBK1_EZm0
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์ นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้