Highlights

จุฬาฯ จัดให้ Mind Space & Mind Café แพลตฟอร์มใหม่ เพื่อนใจนิสิต


เปิดบริการแล้ว Mind Café และ Mind Space แพลตฟอร์มใหม่ล่าสุด ดูแลสุขภาพจิตนิสิตจุฬาฯ ในช่วงที่ต้องรักษาระยะห่าง หวังช่วยนิสิตรับมือความเครียดในชีวิตทั้งการเรียนและความสัมพันธ์



ความเครียดในการเรียน ความวิตกกังวลกับอนาคต ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และภาวะซึมเศร้า เป็นเรื่องทุกข์ใจอันดับต้นๆ ที่นิสิตเดินเข้ามารับคำปรึกษาที่หน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิตจุฬาฯ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และดูเหมือนว่าปัญหาทางใจเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นตามระยะห่างทางสังคมที่จำเป็นในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

ศาสตราจารย์ ดร.ธัญวัฒน์ โพธิศิริ หัวหน้ากิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะนิสิต

“จำนวนนิสิตที่มีปัญหาด้านจิตใจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปัญหาอันดับแรกๆ เป็นเรื่องการเรียน ไม่ว่าจะเรียนไม่เข้าใจ เรียนในสิ่งที่ไม่ชอบ พอมามีสถานการณ์โควิด-19 การเรียนออนไลน์ยิ่งทำให้นิสิตเครียดเพิ่มขึ้นไปอีก” ศาสตราจารย์ ดร.ธัญวัฒน์ โพธิศิริ หัวหน้ากิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะนิสิตกล่าวถึงที่มาของการเพิ่มช่องทางเข้าถึงใจนิสิตช่วงที่ต้องอยู่ติดบ้านด้วยระบบแพลตฟอร์มออนไลน์ Mind Café (มายด์ คาเฟ่) และ Mind Space (มายด์ สเปซ)

“หากนิสิตเกิดความรู้สึกทุกข์ใจ หาทางออกไม่ได้ ก็สามารถเข้ามาทำแบบทดสอบได้ที่เว็บแอปพลิเคชัน Mind Space แล้วทำการนัดหมายเพื่อเข้าพบนักจิตวิทยา หรืออาจจะเข้ามาพูดคุยสั้นๆ กับนักจิตวิทยาผ่านระบบ Mind Café เพื่อประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นก็ได้” ศ. ดร. ธัญวัฒน์ กล่าวเชิญชวน

Mind Café เปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้ว ส่วน Mind Space ดำเนินการไปแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะเปิดใช้งานได้เต็มรูปแบบในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ โดยจะมีการพัฒนาให้นิสิตสามารถจองวันและเวลานัดหมายได้ล่วงหน้า นอกจากนี้ หน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิตยังมีแผนที่จะให้บริการปรึกษานอกเวลาทำการในรูปแบบกึ่งฮอตไลน์ที่นิสิตสามารถเข้ามาพูดคุยได้ในช่วงเวลากลางคืน

ช่องทางออนไลน์เหล่านี้ดูจะตอบโจทย์ปัญหาของนิสิตได้เป็นอย่างดี ศ. ดร. ธัญวัฒน์ เผยว่า “ตั้งแต่ที่จุฬาฯ เปิดระบบ Mind Space เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว มีนิสิตให้ความสนใจเข้ามาใช้งานแล้วกว่า 1,700 คน จากจำนวนนิสิตทั้งหมดร่วม 40,000 คน และมีแนวโน้มจะมีผู้เข้ามาใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ

นพสิทธิ์ สิริจรูญชัย รักษาการแทนหัวหน้าหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิตและนักจิตวิทยา

ระบายความในใจสไตล์ Mind Café

Mind Café ถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่สบายๆ ที่ให้นิสิตเข้ามาพูดคุยประเด็นปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยใน Mind Cafe มีลูกเล่น 2 ส่วน คือ Mind Talk และ Mind Exercise

Mind Talk เปิดโอกาสให้นิสิตได้พูดคุยสั้นๆ กับนักจิตวิทยา เพื่อคัดกรองอาการเบื้องต้น ช่องทางนี้เหมาะสำหรับนิสิตที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองมีปัญหาหนักแค่ไหน บางครั้งการคุยเบื้องต้นก็อาจทำให้อาการดีขึ้น แต่ถ้าหากไม่ดีขึ้นก็สามารถทำนัดหมายเพื่อปรึกษากับนักจิตวิทยาแบบเต็มรูปแบบได้” นพสิทธิ์ สิริจรูญชัย รักษาการแทนหัวหน้าหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิตและนักจิตวิทยา กล่าว
ส่วน Mind Exercise เป็นเสมือนพื้นที่เพื่อการออกกำลังใจ สร้างภูมิคุ้มกันให้นิสิตสามารถรับมือกับปัญหาชีวิต โดยจะมีวิทยากรผลักเปลี่ยนเข้ามาพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ ที่นิสิตสนใจและมักจะพบในชีวิตประจำวัน อย่างที่ผ่านมามีประเด็นสนทนาในหัวข้อ เช่น “พักอย่างไรให้ใจได้พัก” “การเรียน : จะผิดไหม ถ้าไม่ Productive” “การทำงานร่วมกัน : เมื่อ Team (ไม่) Work?” เป็นต้น

ขั้นตอนการเข้ารับบริการ Mind Talk by My Café

รู้จักตัวเองด้วยแบบทดสอบ Mind Space

เว็บแอปพลิเคชันที่ให้นิสิตสามารถรับรู้สภาพจิตใจของตนเองเบื้องต้น ฟังก์ชันหลักคือ Mind Test เป็นแบบทดสอบทางด้านจิตวิทยา ประกอบด้วยแบบทดสอบ 4 ประเภท คือ 1) ทดสอบภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ความเครียด 2) ทดสอบการรับมือจัดการปัญหา 3) ทดสอบสุขภาพจิตทั่วไป และ 4) ทดสอบความพร้อมด้านอาชีพ

“เมื่อนิสิตได้รับผลการทำแบบทดสอบแล้ว ระบบจะแนะนำบทความใน Mind Support และกิจกรรมในส่วนที่เรียกว่า Mind Workshop ที่เหมาะสมกับนิสิตแต่ละคน หรืออาจแนะนำให้นัดหมายเพื่อพูดคุยกับนักจิตวิทยาก็ได้ ตามแต่ผลที่ประมวลจากแบบทดสอบ” นพสิทธิ์ อธิบาย

อีกหนึ่งจุดเด่นของ Mind Space คือ ฟังก์ชัน Mind Journey ที่เป็นเหมือนโปรไฟล์สุขภาพจิตของนิสิตแต่ละคน

“นิสิตสามารถบันทึกอารมณ์ในแต่ละวันเพื่อประเมินสภาพอารมณ์ของตัวเองได้ผ่านระบบ Mind Tracking ระบบจะบันทึกเก็บเป็นสถิติ แล้วแสดงผลเป็นภาพรวม รวมถึงมีข้อมูลแสดงให้เห็นว่านิสิตเคยเข้าไปใช้งานเว็บแอปพลิเคชันส่วนใดบ้าง” นพสิทธิ์ กล่าว


ฟังก์ชันการทำงานของ Mind Space

หมั่นสร้างภูมิคุ้มกันใจ

ไม่ว่าจะเพียงอยากรู้จักตัวเองหรือหาหนทางเยียวยา Mind Café และ Mind Space ก็พร้อมเป็นเพื่อนคู่ทุกข์ใจสำหรับนิสิตทุกคน แต่จะดีที่สุดถ้าทุกคนมีภูมิคุ้มกันใจ

“ทั้งสองแพลตฟอร์มมีเนื้อหาทั้งสำหรับการพัฒนาตัวเองด้วย ซึ่งจะให้ผลเชิงป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดในอนาคต เช่น นิสิตรู้วิธีจัดการตัวเอง เรียนรู้เรื่องบุคลิกภาพ คุณสมบัติทางบวกในใจที่ทำให้ชีวิตสดใสขึ้น เพื่อลดการเข้ามาใช้บริการกับนักจิตวิทยาในระยะยาว” นพสิทธิ์ นักจิตวิทยาประจำหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิตกล่าว

“การดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อใดก็ตามที่ตัวเราเริ่มรู้สึกทุกข์ใจจนทนไม่ไหว ไม่เพียงแต่ตัวเราเท่านั้นที่จะรู้สึกต้องทนทุกข์ทรมานกับสภาพจิตใจเหล่านั้น แต่ความทุกข์ใจของเราอาจจะส่งผลไปถึงสภาพจิตใจของคนรอบข้างด้วย” นพสิทธิ์กล่าวส่งท้าย

ทีมงานหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิตจุฬาฯ

นิสิตที่สนใจ เข้าใช้บริการได้ตามช่องทาง

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า