รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
8 เมษายน 2564
ผู้เขียน ศุภวรรณ พิพิธสมบัติ
อีกประมาณ 9 ปี สังคมไทยจะสูงวัยขั้นสูงสุด ตลาดแรงงาน การจ้างงานและค่าตอบแทนจะเปลี่ยนไป คณะผู้วิจัยจากจุฬาฯ แนะพึ่งตนเอง ใครไม่ปรับตัวตกงาน ใครหยุดเรียนรู้ตกยุค
ในยุคดิสรัปชัน ไม่เพียงเทคโนโลยี แต่โครงสร้างประชาการที่เปลี่ยนไปก็เข้ามาป่วนโลกไม่น้อย ตามการคาดการณ์ขององค์การสหประชาชาติ ภายใน 9 ปีนี้ หลายประเทศจะประสบกับความเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ (Demographic Disruption) ประเทศไทยเองก็จะก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยขั้นสูงสุด (super-aged society ) โดยราว 1 ใน 3 ของคนไทยจะมีอายุเกิน 60 ปี ปรากฏการณ์นี้จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจครั้งใหญ่ โดยเฉพาะด้าน “ตลาดแรงงาน”
“ทุกคนต้องปรับตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง อายุเฉลี่ยของแรงงานจะสูงขึ้น ทุกอาชีพต้องหมั่นหาทักษะใหม่และเพิ่มผลิตภาพของตนตามอายุ ส่วนนักศึกษาที่กำลังก้าวสู่ตลาดแรงงานต้องไม่ยุติการเรียนรู้ภายหลังสำเร็จการศึกษาจากรั้วสถาบัน” ข้อสรุปสำคัญจากศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน นักวิชาการอาวุโส พร้อมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาการเงิน และรองศาสตราจารย์ ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่องานวิจัยด้านบรรษัทภิบาลและการเงินเชิงพฤติกรรม สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ ทั้งสามจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่องานวิจัยด้านบรรษัทภิบาลและการเงินเชิงพฤติกรรม แห่งสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ
งานวิจัยชิ้นหนึ่งของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางฯ เน้นศึกษาความเปลี่ยนแปลงอัตราการจ้างงานและค่าตอบแทนในตลาดแรงงานภายหลังถูกกระทบจากสภาวะสังคมสูงวัย โดยประยุกต์ใช้วิธีวิจัยของ Cai and Stoyanov (2016) ประกอบกับผลสำรวจการจ้างงานแต่ละอาชีพในปี 2562 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.)
“หลายอาชีพจะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ การจะอยู่รอดอย่างมั่นคงของทุกอาชีพต้องรู้จักปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป” คณะผู้วิจัยกล่าวพร้อมเสนอแนวทางการปรับตัวด้านอาชีพและทักษะสำคัญในการอยู่รอดในสังคมสูงวัย ที่ทุกคนควรเตรียมตัวเสียแต่วันนี้
บางกลุ่มอาชีพ ยิ่งอายุมากขึ้น ประสบการณ์ความรู้ก็จะยิ่งมาก กลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มทักษะทางปัญญา (cognitive skills) และทักษะการสื่อสาร (ฟังพูดอ่านเขียน) ตามขวบปีของชีวิตและการสั่งสมประสบการณ์ เช่น บรรดานักบริหาร ครูอาจารย์ นักการตลาด และนักกฎหมาย ฯลฯ
ยกตัวอย่างอาชีพนักการตลาด ต้องรู้จักฟัง โดยเฉพาะฟังคำติชมจากลูกค้าต่อสินค้าและบริการ อาชีพนี้จำเป็นต้องฝึกฝนทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจและเห็นความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงก่อนลงมือจัดการกับปัญหาหรือทำอะไรต่อ ทักษะการรับฟังด้วยหัวใจคือส่วนหนึ่งของทักษะการสื่อสารด้วยปัญญาในความหมายนี้ ซึ่งต้องอาศัยวินัยและวันเวลาเพียรปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย
กลุ่มอาชีพที่ยิ่งสูงวัย ยิ่งหมดสภาพ อาชีพกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบจากทักษะทางปัญญาที่ลดลง และทักษะทางกาย (physical skills) ที่ถดถอย เช่น การรับรู้และตอบสนอง ความสามารถในการจำ พละกำลัง ความคล่องแคล่วและความอดทน อาชีพกลุ่มนี้ อาทิ เกษตรกร แรงงานก่อสร้าง ผู้ผลิตและควบคุมเครื่องจักรกลต่าง ๆ รวมทั้งคนงานเหมืองแร่และผู้ขับขี่ยวดยานและเครื่องจักรเคลื่อนที่ คนเหล่านี้ เมื่ออายุมากขึ้น ความคล่องแคล่ว ความอดทน และการรับรู้และตอบสนองจะลดลง ทำให้ผลิตภาพในการทำงานลดลงตามอายุ กลุ่มนี้ต้องปรับตัวค่อนข้างมาก ซึ่งภาครัฐเองก็ต้องให้ความสำคัญและส่งเสริมการปรับตัวของคนในกลุ่มอาชีพนี้
ทักษะของวัยทำงานวันนี้ อีก 5 ปีจะอาจไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไปเนื่องจากเทคโนโลยีทำแทนได้ คนวัยทำงานต้องเร่งปรับตัว ยกระดับทักษะตนเองให้ทันต่อลักษณะงานและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป โดยใช้สูตร “RUN” คือ Reskill เรียนรู้ทักษะใหม่ในการทำงานที่ต่างไปจากเดิม Up skill พัฒนายกระดับทักษะเดิมให้ดีขึ้น New skill สร้างทักษะใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงของงานและเทคโนโลยี
หากอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ราว 80 ปี นั่นหมายถึงอีก 20 ปีหลังเกษียณ จำต้องมีรายได้ ไม่ก็มีเงินออมไว้ใช้จ่ายสมมติ 20,000-30,000 บาท/เดือน เราต้องมีเงินออมแล้วอย่างต่ำ 10 ล้านบาท ซึ่งสำหรับหลายคน อย่าว่าแต่สิบล้านเลย เพียงหนึ่งล้านก็ไม่อาจเป็นไปได้ เพราะฉะนั้น แทนที่จะออมขาเดียว น่าจะเรียนรู้ให้เงินทำงานแทนเราด้วย
อาชีพวัยเกษียณที่ดีที่สุดสำหรับเราคืออาชีพที่ได้ใช้หรือต่อยอดจากทักษะความรู้ความสามารถที่เรามี เช่น นักธุรกิจวัยเกษียณก็อาจผันตัวเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้น นักวิชาการหรือครูอาจารย์ก็น่าจะปรับตัวหันมาผลิตสื่อการสอนออนไลน์
ไม่ว่าจะอาชีพใด สำคัญที่เป็นอาชีพที่เราทำแล้วสุขใจ รู้สึกมีคุณค่า และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้