รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
6 พฤษภาคม 2564
“กัญชา” พืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าการตลาดสูงมาก ด้วยคุณค่ามหาศาลทั้งด้านการแพทย์ สุขภาพ โภชนาการ ความงาม ฯลฯ ทันทีที่อำนาจรัฐไฟเขียว จุฬาฯ ก็พร้อมจับมือภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเร่งงวิจัย เดินหน้าพัฒนาสารพัดผลิตภัณฑ์จากกัญชา
เมื่อภาครัฐปลดล็อคกัญชาจากบัญชียาเสพติด สถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมก็เดินหน้างานวิจัยอย่างเต็มสูบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ริเริ่มทำคลัสเตอร์วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาจากกัญชา(Chula C.A.N.S.) โดยมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เข้ามาร่วมกันวิจัย นอกจากนี้ ยังตั้ง ศูนย์วิจัยยาเสพติดวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ซึ่งเป็นศูนย์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศ ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO Collaborating Centre for Research and Training in Drug Dependence)
ผศ.ภญ.ดร.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่าในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา จุฬาฯ ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับกัญชาน้อยมาก ผิดกับปัจจุบัน (หลังปลดล็อก) ที่มีผลงานหลากหลายประเด็นและจำนวนมาก นอกจากผลงานวิจัยจาก Chula C.A.N.S. แล้ว คณะอื่น ๆ เช่น เภสัชศาสตร์กับทันตแพทยศาสตร์ ยังร่วมกันสร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อพัฒนายากัญชาทางทันตกรรม เช่น ยาป้ายบรรเทาอาการอักเสบของแผลในปาก บางคณะก็สนใจการรักษาโรคระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน โรคลมชัก เป็นต้น
ภาคเอกชน อาทิ บลูม เมดิก้า บจก. ก็หันมาลงทุนร่วมกับจุฬาฯ พัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ สุขภาพและความงามโดยคณะเภสัชศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ร่วมกันพัฒนาสายพันธุ์กัญชาคุณภาพเพื่อผลิตสารสกัดสำหรับตำรับยา อาหารเสริมและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวประเดิมด้วยการศึกษาสารสกัด ที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสโคโรน่า ที่มาจากกัญชาสายพันธุ์ไทย ซึ่งมีสารออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (THC) สูงกว่ากัญชาสายพันธุ์ต่างประเทศ โดยพื้นที่ปลูกกัญชาในโครงการนี้อยู่ที่ อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
และล่าสุดศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ได้ร่วมมือกับธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พัฒนาสายพันธุ์กัญชาที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ทั้งยังสนับสนุนการจัดตั้งโรงสกัดสารจากกัญชาที่ได้มาตรฐานทางการแพทย์ (Medical Grade) การจัดหาเทคโนโลยีการผลิตและจำหน่ายครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ขยับออกไปนอกรั้วจุฬาฯ คือโครงการนำร่อง ต้นแบบโรงเรือนปลูกกัญชาที่จังหวัดสระบุรี ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ เพื่อยกระดับงานวิจัยและขยายพันธุ์กัญชาคุณภาพสำหรับการแพทย์ งานพัฒนาสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศท้องถิ่นและงานจำแนกกลุ่มสายพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย
ศ.ดร.จิตรลดา อารีย์สันติชัย รองคณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยาเสพติดฯ ชี้ว่าพื้นที่กว่าหนึ่งไร่ของจุฬาฯ ดังกล่าวได้รับการควบคุมคุณภาพเป็นพิเศษ เมล็ดพันธุ์ที่นำไปเพาะก็มาจากเมล็ดที่เสร็จสิ้นคดีแล้วการปลูกกัญชาเป็นแบบชีวภาพที่ปราศจากการใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น
ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ การไล่แมลงก็ใช้สูตรเฉพาะที่คิดค้นโดยศูนย์ฯ
“เป้าหมายหลักของโรงเรือนต้นแบบคือคุณภาพและปริมาณสูงสุดของสารสกัดกัญชาเราแบ่งเป็น 3 ระบบ หนึ่ง ระบบปิด (In-house) ควบคุมความชื้น อุณหภูมิและแสงจากภายนอก สอง ระบบกึ่งปิด (Greenhouse) มีที่กั้นป้องกันแมลง การระบายอากาศ ใช้แสงจากธรรมชาติ และสุดท้าย ระบบเปิด (Outdoor) ปลูกกลางแจ้ง มีกล้องวงจรปิดควบคุมความปลอดภัย” ศ.ดร.จิตรลดากล่าว
นอกจากนี้ ทางโครงการยังจัดอบรมเกษตรกรในพื้นที่เป็นเวลาหนึ่งวันได้ทดลองปลูกจริงด้วยเทคนิคทางชีวภาพ เริ่มรุ่นแรกปลายเดือนเมษายน 2564
การนำกัญชามาใช้ในการปรุงอาหารมีมานานแล้ว แต่ปริมาณเท่าใดจึงจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาวิจัย ในเรื่องนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณกับศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ สำหรับดำเนินโครงการวิจัยการใช้กัญชาอย่างพอเหมาะในส่วนประกอบอาหาร
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ นำความรู้จากงานวิจัยมาต่อยอดทำ “ไอศกรีมกัญชา” โดยนำใบกัญชาสายพันธุ์ CBD charlotte’s angel ที่เหลือใช้จากโครงการคลัสเตอร์วิจัยฯ
รศ.ภญ.ดร.สรกนก วิมลมั่งคั่ง ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ประธานคลัสเตอร์วิจัยกัญชาและสารธรรมชาติจากกัญชา เปิดเผยว่าไอศกรีมกัญชาของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เป็นต้นแบบของผลิตภัณฑ์จากกัญชาที่มีการควบคุมคุณภาพได้มาตรฐานแตกต่างจากอาหารที่มีส่วนผสมกัญชาตามท้องตลาดทั่วไป
“ไอศกรีมกัญชาของจุฬาฯ มี 3 สูตร สูตรแรกคือกัญชาล้วน สองคือกัญชาผสมชาเขียวโฮจิฉะ และอีกสูตรคือกัญชาผสมชามัทฉะ ทั้งชาเขียวโฮจิฉะและมัทฉะก็มีกลิ่นคล้ายกัญชาอยู่แล้ว พอนำมาผสมกันก็ลงตัว” รศ.ภญ.ดร.สรกนก กล่าว โดยกรรมวิธีการทำไอศกรีมเริ่มจากกระบวนการเตรียมวัตถุดิบ การหมักซึ่งควบคุมคุณภาพตั้งแต่การปลูกแล้วสำหรับเคล็ดลับของไอศกรีมกัญชาจุฬาฯ อยู่ที่การตากแห้งด้วยกลวิธีพิเศษที่ยังคงกลิ่นเฉพาะของใบกัญชา จากนั้นจึงนำมาบดเป็นผงก่อนที่จะนำไปผลิตเป็นไอศครีมกัญชาออกวางจำหน่าย
อ.ภญ.ดร.วราลี ยอดสุรางค์ ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ผลิตไอศกรีมกัญชา กล่าวเสริมว่าไอศกรีมกัญชานี้ได้ผ่านการควบคุมปริมาณสาร THC ไม่ให้เกิน 0.2 % ตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขนอกจากนี้ จุฬาฯ ยังจำกัดอายุผู้ซื้อต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี พร้อมระบุโรคที่ผู้ป่วยไม่ควรรับประทาน
ไอศกรีมกัญชาล็อตแรกมีเพียง 500 กระปุก วางจำหน่ายที่ร้าน Healthyplatz By Double T ของสมาคมนิสิตเก่าเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และในอนาคต คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ มีโครงการจัดอบรมการทำไอศกรีมกัญชาให้แก่ผู้ที่สนใจด้วย
กัญชาศิลปกรรม “HAYAK” art toy
ครั้งแรกในแวดวงศิลปะร่วมสมัยที่นำกากกัญชามาพัฒนาเป็นผลงานศิลปะที่เรียกว่า art toy คือ ตัวคาแรกเตอร์ยักษ์ชื่อ“HAYAK” มีให้สะสม 13 แบบ 13 สี สร้างสรรค์โดยนิสิตเก่าคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้สร้างสรรค์
“กากกัญชาที่ใช้สร้างผลงานมาจากกัญชาของกลางจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)โดยนำมาสกัดให้เหลือแต่กาก จากนั้นนำมาทดสอบคุณสมบัติการยึดเกาะ แล้วจึงนำมาแยกส่วนที่ละเอียดและส่วนที่หยาบ ก่อนจะนำไปผลิตเป็นชิ้นงานต่อไป” วรชัย มัทกิจ นิสิตเก่าคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ในนามบริษัท ไทยทูเกตเตอร์ จำกัด กล่าว
art toy “HAYAK” มีจำหน่ายที่ร้านสมาคมนิสิตเก่าเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ในรูปลักษณ์ของลูกบอล “กาชาปอง” แบบญี่ปุ่น หรือหาซื้อได้ตามตู้จำหน่ายของที่ระลึกอัตโนมัติ ภายใต้ชื่อ “กัญชาปอง HAYAK X CHULA C.A.N.S.” ดูรายละเอียดที่ Facebook Page: HAYAK
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้