รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
21 พฤษภาคม 2564
SOPet (เอส โอ เพ็ท) คลินิกสัตวแพทย์ออนไลน์ สตาร์ทอัพยอดนิยม ให้คำปรึกษาปัญหาสัตว์เลี้ยงแบบทันใจ ไอเดียนิสิตชั้นปีที่ 2 สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาฯ (BAScii) ในสังกัด CU Innovation Hub ชูจุดแข็งธุรกิจเพื่อสังคม รวดเร็ว เชื่อถือได้ ในราคาย่อมเยา
จากประสบการณ์ชีวิตคนเลี้ยงสัตว์ที่ต้องการคำปรึกษาและความช่วยเหลือเร่งด่วนยามวิกฤต แต่ไม่อาจรุดไปที่คลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ได้ในทันที เกิดเป็นไอเดียธุรกิจ SOPet สัตวแพทย์ออนไลน์ ให้คำปรึกษาปัญหาสัตว์เลี้ยงแบบทันใจ บริหารงานโดยกลุ่มนิสิตชั้นปีที่ 2 สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือ BAScii (Chulalongkorn School of Integrated Innovation)
“BAScii เป็นคณะที่มีการเรียนการสอนแบบนานาชาติ เน้นบูรณาการนวัตกรรมและแผนการดำเนินธุรกิจเข้าด้วยกันภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub โดยที่คณะ มีวิชาที่เรียกว่า Project Seed เป็นวิชาที่ต้องเรียนตั้งแต่ปี 1 ถึงปี 4 นิสิตทุกคนจะต้องมีโพรเจกต์ที่เป็นบริษัทสตาร์ทอัพของตัวเอง” ชวิน วิริยะโสภณ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง SOPet กล่าวถึงจุดตั้งต้นของการทำธุรกิจ ซึ่งมีที่ปรึกษาคนสำคัญ คือ อ.ดร.รณกร ไวยวุฒิ อาจารย์ผู้สอน และ ดร.ธีรกร อานันโทไทย – Chief Innovation Officer และ Co – Founder ของบริษัทสตาร์ทอัพGlobish
“ไอเดียของ SOPet มาจากเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นผู้ก่อตั้งร่วมของเรา ซึ่งเคยประสบปัญหา พาสัตว์เลี้ยงไปหาสัตวแพทย์ไม่ได้เนื่องจากน้ำท่วมที่บ้าน ประกอบกับพวกเราทุกคนก็เป็นคนที่ชอบสัตว์เลี้ยงด้วย เลยเกิดไอเดียธุรกิจสัตวแพทย์ออนไลน์” ชวิน กรรมการผู้จัดการบริษัท SOPet เล่าที่มาของไอเดียธุรกิจ พร้อมแนะนำผู้ร่วมก่อตั้งอีก 5 คน และสมาชิกทีมอีก 3 คน ได้แก่ ณภัทร เซี่ยงหลิว, วชิรวิทย์ ศิริเดชานนท์, ชนัญญา อัศววรฤทธิ์, โชษิญา โล่สุวรรณกุลม, ภากมล อินทนิลม, เอะมิริ ฮิราโอกะ, ผุสดีย์ ประเสริฐวิทย์ และก่อพงศ์ เรืองวัฒนกุล
“เราแบ่งหน้าที่กันดูแลธุรกิจในส่วนต่างๆ โดยไม่เสียการเรียน เพราะโพรเจกต์นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนอยู่แล้ว แต่เราก็ต้องพยายามหาเวลาว่างในแต่ละวันเพื่อเข้ามาดูแลเพิ่มเติม รวมถึงมีการจ้าง outsource มาดูแลในส่วนของงานแอดมินด้วยครับ”
ชวินอธิบายว่ารูปแบบการให้บริการของ SOPet ในปัจจุบันยังเป็นเพียง MVP (Minimal Viable Product) คือให้บริการผ่าน facebook page
“เราทำเพื่อทดลองตลาดก่อน ซึ่งเร็วๆ นี้ ก็จะมีการแนะนำในส่วนของเว็บไซต์ด้วย ลูกค้าสามารถทักเข้ามาทางแชทของ facebook เราจะมีแอดมินคอยให้คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของบริการและประสานงานกับสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญตรงกับความต้องการของลูกค้า เรามีเครือข่ายสัตวแพทย์ที่คอยทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับลูกค้ามากกว่า 20 ท่าน (คัดเลือกจากผู้สมัครมากกว่า 80 ท่าน) และพร้อมให้คำปรึกษาหลังการติดต่อภายใน 5-10 นาที”
ชวินเล่าว่า หลังจากให้บริการได้ประมาณหนึ่งปีเศษ เสียงตอบรับเป็นที่น่าพอใจ โดยพิจารณาจากคะแนนประเมินผลการให้บริการในแบบสำรวจคนเลี้ยงสัตว์จำนวนกว่า 1,400 คน ที่เข้ามาใช้บริการ กว่า 98% ให้คะแนน SOPet ในระดับ “ดีมาก”
กรรมการผู้จัดการบริษัท SOPet กล่าวว่าธุรกิจอยู่ได้ด้วยคุณค่าหลัก (core value) ซึ่งสำหรับ SOPet คุณค่านั้นมีชื่อย่อว่า “DARF”
SOPet เน้นให้คำปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งลูกค้าเลือกรูปแบบได้ตามความพอใจ
โดยเรื่องที่จะปรึกษากับสัตวแพทย์ ทาง SOPet เน้น 6 หัวข้อสำคัญ ได้แก่
ทั้งนี้ สัตวแพทย์จะไม่รับวินิจฉัยโรคใด ๆ หรือรักษาสัตว์บนแพลตฟอร์มออนไลน์
แผนธุรกิจเพื่อสังคมหลังจากนี้ ทีมผู้ก่อตั้ง SOPet หวังพัฒนาระบบบริการการแพทย์ออนไลน์ (telemedicine) ที่ลูกค้าทั่วประเทศไว้วางใจและนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ และอาจทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับหน่วยงานต่างๆ เช่น คณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการร่วมกันในอนาคต
“พวกเราต้องขอขอบคุณ ทุกๆส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดสตาร์ทอัพนี้ขึ้นมา ตั้งแต่เพื่อนๆ จาก BAScii ที่คอยอยู่เคียงข้าง พร้อมปรับตัวและสู้ไปด้วยกันตลอด อาจารย์และเมนเทอร์ พี่ๆ ที่เสียสละเวลามาคอยให้คำแนะนำต่างๆ รวมถึงเชื่อมั่นใน SOPet ตั้งแต่วันแรกจนถึงทุกวันนี้ คณาจารย์ ทีมงาน ผู้บริหารคณะ BAScii และพี่ๆ จาก CU Innovation Hub ทุกท่าน ที่คอยสนับสนุนเราเสมอมาครับ” ชวินกล่าว
Facebook: https://www.facebook.com/sopetofficial/IG: sopetofficialLine ID: @131skdjz
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์ นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้