รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
9 มิถุนายน 2564
ผู้เขียน ศุภวรรณ พิพิธสมบัติ
ViaBus แอปติดตามและนำทางขนส่งสาธารณะแบบเรียลไทม์รายแรกในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ รถไฟ เรือ เป็นต้น ผลงานนิสิตเก่าจุฬาฯ ได้รับคัดเลือกเป็น Forbes 30 under 30 Asia – 2021 รางวัลเกียรติยศของคนเอเชียวัยไม่ถึง 30 ปี ที่กล้าเสี่ยงลงทุนและพัฒนานวัตกรรมที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมต่างๆ ในอนาคตไปตลอดกาล
“การรอคอยที่คาดเดาไม่ได้” ปัญหาหนักอกที่ผู้ใช้ระบบบริการขนส่งสาธารณะรู้ซึ้งกันดี ต่างมีประสบการณ์ร่วม ไม่ว่าจะเป็นการพลาดนัดครั้งสำคัญ เข้างานสาย เสียเวลาเป็นชั่วโมงบนท้องถนนแทนที่จะได้ใช้เวลากับครอบครัวหรือพักผ่อน ฯลฯ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต สุขภาพกาย สุขภาพจิต และนับเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจด้วย
แต่ปัญหานี้กำลังจะกลายเป็นอดีตด้วย ViaBus (เวียบัส) แอปพลิเคชันที่จะช่วยให้ชีวิตและการเดินทางง่าย สะดวก และวางแผนได้! สามารถสอบถามเส้นทางรถเมล์ เช็คเวลารถไฟ ผลงานสร้างสรรค์จากทีม ViaBus ที่ล่าสุดคว้ารางวัล Forbes 30 under 30 Asia – 2021 โดยนิตยสาร Forbes
อินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด และนิสิตเก่าภาควิชา Information and Communication Engineering คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (ปีการศึกษา 2557) แบ่งปันเรื่องราวความสำเร็จของ ViaBus แอปติดตามขนส่งสาธารณะ นวัตกรรมเปลี่ยนโลกการเดินทางที่สร้างชื่อให้ประเทศไทยในเวทีโลก
“เวียบัสเป็นเพื่อนเดินทางระบบขนส่งสาธารณะ แอปพลิเคชันติดตามและนำทางระบบขนส่งประจำทางแบบเรียลไทม์รายแรกของไทยที่เชื่อมโยงทุกระบบคมนาคมเข้าไว้ด้วยกันในแอปฯ เดียว ทั้งรถเมล์ รถสองแถว รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟ เรือด่วน เรือข้ามฟาก และรถตู้ระหว่างจังหวัด โดยมีบริการครอบคลุมกว่า 70 จังหวัด
“ผู้ใช้งาน ViaBus จะรู้ตำแหน่งและหมายเลขรถโดยสารประจำทาง ป้ายประจำทางที่ใกล้ที่สุด ค้นหาเส้นทางการเดินทางที่เร็วที่สุด และช่วยนำทางคนไทยและคนต่างชาติที่ต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะไทย”
“สมัยผมเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ผมต้องเดินทางไปทำกิจกรรมที่มหาวิทยาลัย แต่ผมตกรถ Chula Pop Bus หรือรถโดยสารสาธารณะภายในจุฬาฯ ทำให้วันนั้นไปสาย ผมจึงเกิดความคิดว่า ถ้าเราสามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่ารถจะมาถึงเมื่อไหร่ก็คงจะดี จากวันนั้น ผมกับเพื่อนๆ จึงร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชัน Chula Pop Bus เพื่อแก้ปัญหาการรอรถภายในจุฬาฯ
“เมื่อทดลองใช้ก็ได้รับเสียงตอบรับดีมาก มีคนดาวน์โหลดแอปฯ มากถึง 4,000 คน ผ่านไปหนึ่งปีมีคนโหลดมากขึ้นอีกสิบเท่า เป็น 40,000 คน คนโหลดแอปฯ ก็ไม่จำกัดเพียงชาวจุฬาฯ แต่มีคนในพื้นที่สามย่านและสยามซึ่งใช้บริการรถโดยสารภายในจุฬาฯ ด้วย
“แอปฯ Chula Pop Bus เปรียบเสมือนต้นแบบและแรงบันดาลใจของ ViaBus แอปพลิเคชันซึ่งขยายผลและรองรับการทำงานระบบขนส่งโดยสารประจำทางในระดับมหภาค”
“ViaBus เป็น Tech Startup ที่ผมก่อตั้งร่วมมากับ ธนัทเศรษฐ์ หอวัฒนพันธ์ และ ธนิษฐ์ ซึ้งหทัยพร ซึ่งเริ่มต้นจากในมหาลัย โดยตอนเริ่มนั้นได้รับการสนับสนุนจาก CU Innovation Hub ที่ช่วยทั้งเรื่องของโอกาส เงินทุนเริ่มต้นในการทดลองนวัตกรรม และได้ร่วมมือกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)”
“พวกเราได้พัฒนาและทดสอบนวัตกรรมเป็นเวลาประมาณ 2 ปี กับผู้ใช้งานจริงหลายหมื่นราย จึงเปิดใช้งานในปี 2561 และพัฒนามาตลอดจนถึงปัจจุบัน โดยตอนนี้ได้รับความร่วมมือเพิ่มเติมจากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. ”
“ผมคิดว่าความสำเร็จของ ViaBus มาจากการได้รับโอกาส เงินทุน และ passion ที่ทำให้พวกเราสามารถเริ่มต้นได้ และไม่ย่อท้อต่อปัญหาต่างๆที่เข้ามาในระหว่างทาง”
“จุดเด่นของ ViaBus คือการแสดงผลข้อมูลระบบขนส่งสาธารณะแบบเรียลไทม์ โดยแอปพลิเคชันจะอัปเดตข้อมูลเส้นทางและสภาพจราจร คำนวณเวลาเดินทางบนฐานข้อมูลจริงและทันเหตุการณ์ตลอดเวลา เช่น ป้ายรถที่ถูกยกเลิก จุดไหนมีรถจอดเสีย รถเปลี่ยนเส้นทาง และจุดที่มีการปิดถนน เป็นต้น
“ดาวน์โหลด ViaBus มาวางแผนการใช้ชีวิตบนท้องถนนกันนะครับ เราออกแบบแอปฯ ให้ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เพียงดาวน์โหลดแอปฯ ซึ่งรองรับผู้ใช้งานทั้งระบบ IOS และ Android แล้วเลือกเมนูที่ต้องการ เช่น วิธีการเดินทาง ดูแผนที่ ค้นหาป้ายรถเมล์ที่ใกล้ที่สุด ซึ่งหลักๆ แล้ว ViaBus จะช่วยให้ผู้ใช้งาน
“ปัจจุบัน เรามีผู้ดาวน์โหลดแอปฯ ViaBus ไปใช้งานแล้วกว่า 2 ล้านคน ครอบคลุมการติดตามขนส่งประเภทโดยสารต่างๆ ซึ่งแอปนี้ได้ช่วยผู้โดยสารลดเวลาในการรอขนส่งสาธารณะได้ไปแล้วกว่า 7,700 ล้านนาที หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งผมมองว่านี้ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้นเราจะยังพัฒนา ViaBus ต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างที่เราจะทำ เช่น
“เราอยากทำให้ ViaBus เป็นเสมือนผู้ช่วยการเดินทางของทั้งผู้ใช้งานระบบขนส่งสาธารณะ รวมทั้งเป็นผู้ช่วยงานบริหารจัดการให้กับผู้ประกอบการในการควบคุมและติดตามการขนส่งโดยสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้มีการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดและลดการใช้พลังงาน”
ท้ายที่สุด อินทัช ย้ำความภูมิใจในรางวัล “Forbes 30 under 30 Asia – 2021” จากนิตยสาร Forbes ซึ่งนับว่า ViaBus ได้ทำหน้าที่ Startup สัญชาติไทยที่ประกาศชื่อเสียง พิสูจน์ความเป็นเลิศของคนไทยกระทั่งเป็นที่ยอมรับในเวทีสากล
“ก่อนหน้านี้ ViaBus เคยได้รางวัล Best Performing Startup จัดโดย Dtac ปี 2562 รางวัลชนะเลิศ ในการประกวดโมบายแอปพลิเคชันชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และรางวัล MEGA PITCH 100 SID จาก Siam Innovation District ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปี 2561 ซึ่งผมและทีมงานรู้สึกดีใจและภูมิใจอย่างยิ่งในทุก ๆ รางวัลที่ ViaBus ได้รับ ทำให้ทีมทุกคนมีพลังใจที่จะพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมต่อไป” อินทัช กล่าวทิ้งท้าย
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์ นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้