รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
23 มิถุนายน 2564
คณาจารย์จุฬาฯ ผนึกวิทยาการวัสดุศาสตร์ทันตกรรม พัฒนา “วัสดุทันตกรรมแข็งตัวด้วยแสง” ฝีมือคนไทยมาตรฐานสากล ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ร่นเวลาอุดฟัน พร้อมเผยความลับสารอะซีแมนแนนจากว่านหางจระเข้กระตุ้นเนื้อฟันและลดการเสียวฟันอยู่ใน หลายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพฟัน
การรักษาฟันด้วยวิธีการอุดฟันในอดีตที่ผ่านมา ทันตแพทย์มักใช้วัสดุอุดฟันที่ทำจากสารผสมซึ่งแข็งตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี แต่เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนของไทยส่งผลกระทบต่อปฏิกิริยาแข็งตัวที่เร็วเกินไป ไม่ทันที่ทันตแพทย์จะอุดฟันให้เสร็จเรียบร้อย วัสดุก็จับตัวกันแข็งเสียแล้ว ไม่สะดวกต่อการทำงานของทันตแพทย์
จากโจทย์ที่ว่านี้ คณาจารย์จากรั้วจามจุรีทั้งทันตแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และ สัตวแพทยศาสตร์ จึงร่วมกันในนามกลุ่ม 4Ds Project คิดค้นนวัตกรรมวัสดุอุดฟันชนิดใหม่ล่าสุดที่ใช้แสงในการทำให้วัสดุแข็งตัว ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับมาตรฐานโลก
ในต่างประเทศ เทคโนโลยีการทำให้วัสดุอุดฟันมีความคงตัวด้วยแสงมีใช้มานานแล้วเกือบ 40 ปี ทั้งที่สหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่น มีการจดสิทธิบัตรและจัดเก็บเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการเป็นผู้นำระดับโลกด้านวัสดุทันตกรรม ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ “วัสดุอุดฟันแข็งตัวด้วยแสง” ด้วยฝีมือกลุ่มนวัตกร 4Ds Project ของจุฬาฯ จึงนับว่าเป็นนวัตกรรมของคนไทยที่ทำได้สำเร็จและได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“เมื่อหยดวัสดุอุดฟันแล้วฉายแสงจะช่วยควบคุมเวลาแข็งตัวของสาร ทำให้ใช้เวลาทำฟันสั้นลง คนไข้โดยเฉพาะเด็ก ไม่ต้องอดทนอ้าปากกว้างเป็นเวลานาน” นักวิจัยหลักของกลุ่ม 4Ds Projectศาสตราจารย์ ทพ.ดร.พสุธา ธัญญะกิจไพศาล ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และหลักสูตรหลังปริญญาทันตชีววัสดุศาสตร์ จุฬาฯ เผยกลไกการทำงานของเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด
“แสงที่ใช้เป็นแสงสีฟ้าที่มีอยู่ในแสงแดด มีความปลอดภัย โดยแสงสีฟ้านี้มีความยาวคลื่นที่ให้พลังงาน เกิดการปล่อยอิเล็กตรอนกระตุ้นปฏิกิริยา ทำให้วัสดุแข็งตัว ช่วยให้งานอุดฟันได้ง่ายและเร็วขึ้น”
นวัตกรรมวัสดุอุดฟันคงตัวด้วยแสงได้รับความสนใจจากภาคเอกชนที่นำเทคโนโลยีความรู้เรื่องนี้ไปผลิตและจำหน่ายเป็นสินค้าเฉพาะทางภายใต้แบรนด์ “All – Zeal” ชุดวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่แข็งตัวด้วยการฉายแสงปกป้องฟันผุ” และ “Embaze” ชุดวัสดุอาร์เอ็มจีไอที่แข็งตัวด้วยการฉายแสง ที่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ทำให้ฟันแข็งแรง เหมาะกับฟันผุบริเวณคอฟันหรือฟันที่เนื้อฟันไม่แข็งแรงของเด็กและผู้สูงอายุ โดยวัสดุทันตกรรมทั้งสองผ่านมาตรฐาน ISO มีความเข้ากันกับเนื้อเยื่อช่องปากและปลอดภัย และได้รับการคัดเลือกจากกรมบัญชีกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย
นอกจากวัสดุอุดฟันคงตัวด้วยแสงแล้ว กลุ่ม 4Ds Project ยังคิดค้นทันตผลิตภัณฑ์สำหรับสุขภาพฟันของคนทั่วไป เช่น เจลป้องกันการเสียวฟันจากกรดคลอรีนซึ่งเหมาะกับผู้ที่ว่ายน้ำในสระคลอรีน (Bai Kapow Swimming Care Gel) เจลลดอาการเสียวฟันสำหรับผู้ที่ฟันสึกเล็กน้อยและอุดฟันไม่ได้หรือหลังการฟอกสีฟัน (CPA Desensitizer Gel) และเจลฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูง (1.23% Acidulated Phosphate Fluoride Gel) เป็นต้น
ศ.ทพ.ดร.พสุธายังได้เผยเคล็ดลับผลิตภัณฑ์ลดอาการเสียวฟันว่ามาจาก“สมุนไพรว่านหางจระเข้” เนื่องจากมีสารอะซีแมนแนน (Acemannan) ที่มีสรรพคุณกระตุ้นการสร้างเนื้อฟันและภูมิคุ้มกัน โดยทางกลุ่ม 4Ds Project ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่บริเวณชั้น 7 ตึกพรีคลินิก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในการเพาะปลูกสมุนไพรว่านหางจระเข้เพื่องานวิจัยด้านทันตกรรมโดยเฉพาะ
“การทำงานวิจัยกว่าจะประสบความสำเร็จใช้ระยะเวลานานหลายปี ต้องใช้สหศาสตร์หลายสาขาและเพื่อนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน กลุ่มเราไม่ได้มองแค่การทำวิจัยให้สำเร็จ การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมไม่ใช่เพียงการสร้างความรู้ในเชิงลึกเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถนำงานวิจัยมาใช้และผลิตได้ผลจริงผลิตภัณฑ์ที่เราพัฒนาอาจจะไม่หวือหวาแต่ยั่งยืน” ศ.ทพ.ดร.พสุธา กล่าวทิ้งท้าย
ทุกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพฟันจากกลุ่ม 4Ds Project ได้รับการจดสิทธิบัตรผ่านสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาฯ รับประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นมาตรฐานเทียบเท่าต่างประเทศ รับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้รับรองผลิตภัณฑ์ Made in Thailand (MIT) และได้รับรางวัลชนะเลิศด้านนวัตกรรมจากหน่วยงานต่างๆ
ผู้สนใจหาซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ที่ “โอสถศาลา” คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือคลินิกทันตกรรมทั่วไป
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้