รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
24 มิถุนายน 2564
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
การดื่มน้ำน้อยเสี่ยงทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ล่าสุด คณะแพทย์ จุฬาฯ วิจัยเครื่องดื่มสกัดเข้มข้นจากอัญชันและแกนกล้วย ลดความเสี่ยงการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้สำเร็จ
นวัตกรรมป้องกันนิ่วปัสสาวะในรูปแบบเครื่องดื่มไฮโดรซิทลา พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดนิ่วปัสสาวะ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมป้องกันนิ่วในกระเพาะปัสสาวะในรูปแบบเครื่องดื่มไฮโดรซิทลา สำเร็จได้ด้วยทีม ซึ่งประกอบด้วย ผศ.ดร.ชาญชัย บุญหล้า ผศ.ดร.ณัฐธิดา โชติช่วง นายบัณฑิตย์ ประชาภิบาล นางสาวณัฐชา มะดาเร็ด และนิสิตปริญญาโท-เอก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือ นิ่วปัสสาวะ เป็นโรคเก่าแก่ พบมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ ปัจจุบันก็ยังพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะประชากรในประเทศเขตร้อน เช่น คนไทย ซึ่งจากการสำรวจพบว่าเป็นโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะราวร้อยละ 16-17 ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนใหญ่เป็นผู้อาศัยอยู่ในภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยในปี 2563 จากการสำรวจในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบผู้ป่วยเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะแบบไม่แสดงอาการสูงถึงร้อยละ 12 นิ่วในกระเพาะปัสสาวะส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ไต จึงมักเรียกว่า นิ่วไต และนิ่วจริงๆ แล้วมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบในก้อนนิ่ว แต่ชนิดของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่พบได้บ่อยที่สุด คือ นิ่วแคลเซี่ยมออกซาเลต
“คนที่เป็นโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะระยะแรกมักไม่รู้ตัว เพราะก้อนนิ่วขนาดเล็กและไม่มีอาการผิดปกติใดๆ จะรู้ตัวต่อเมื่อก้อนนิ่วใหญ่ขึ้น อุดกั้นระบบทางเดินปัสสาวะ มีอาการปวดร้าว ปัสสาวะขุ่น มีตะกอนสีขาว ปัสสาวะขัด บางคนฉี่เป็นเลือด คนไข้เคยเปรียบอาการปวดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะว่าหนักกว่าปวดท้องคลอด ปัญหาคือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะเป็นซ้ำได้ และถ้าเป็นซ้ำบ่อย ไตก็เสื่อมเร็วขึ้น ในที่สุดก็จะนำไปสู่โรคไตวายเรื้อรัง” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย บุญหล้า ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยถึงภัยเงียบของโรคนิ่วไต พร้อมอธิบายวิธีการรักษานิ่วที่รู้จักกันทั่วไป คือ การรับประทานยาลดขนาดก้อนนิ่ว ทำให้นิ่วไม่โตขึ้นหรือเล็กลงและหลุดออกง่ายขึ้น หากนิ่วขนาดใหญ่ขึ้นก็จะใช้คลื่นเสียงสลายก้อนนิ่ว หรือหากมีขนาดใหญ่มากก็จำเป็นที่จะต้องผ่าตัดนำก้อนนิ่วออกมา
ผศ.ดร.ชาญชัย เน้นว่า คนทั่วไปมักไม่ค่อยตระหนักถึงอันตรายของโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะคิดว่าเป็นโรคไกลตัว คิดว่าไม่อันตรายถึงชีวิต จึงละเลยการป้องกันการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งล่าสุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้เผยแพร่นวัตกรรมป้องกันการเกิดนิ่วปัสสาวะ ที่อร่อยและได้ประโยชน์ — เครื่องดื่มสกัดเข้มข้นจากสมุนไพรไฮโดรซิทลา (HydroZitLa) จากสมุนไพรไทย “อัญชัน” และ “แกนกล้วย”
เราควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร แต่คนไทยดื่มน้ำน้อยมากเฉลี่ยเพียงวันละ 1-1.5 ลิตรเท่านั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะคนไทยที่อยู่ในเขตร้อนก็จะเสียน้ำจากเหงื่อมากกว่าคนภูมิภาคอื่น ทำให้ปัสสาวะเข้มข้น มีสีเหลืองจัด โอกาสที่สารก่อนิ่วจะตกผลึกจนเกิดเป็นนิ่วจึงมากขึ้น
การกินอาหารที่มีสารก่อนิ่วจำพวก “ออกซาเลต (Oxalate)” สูง เช่น ผักพื้นบ้านอย่างใบชะพลู มากก็ยิ่งทำให้มีมีโอกาสการเกิดผลึกแคลเซียมออกซาเลตในปัสสาวะสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดนิ่ว แม้แต่การกินอาหารเสริมวิตามินซีและสารให้ความหวานไซลิทอลมากเกินไปก็ทำให้มีออกซาเลตสูงในปัสสาวะแล้วก่อให้เกิดนิ่วได้เช่นกัน
อีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เป็นโรคนิ่ว คือ ปริมาณตัวยับยั้งนิ่วซิเตรทในปัสสาวะต่ำ ขณะที่ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายกลับมีไม่มากพอ ทำให้เกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชั่น เซลล์ไตถูกทำลายได้ง่ายและเป็นที่เกาะสะสมของผลึกนิ่วแล้วนำไปสู่การเกิดนิ่ว
“ตัวยับยั้งนิ่วคือ ซิเตรท (Citrate) มีอยู่ในผลไม้รสเปรี้ยวตระกูลส้ม ไม่ว่าจะเป็นมะนาว ส้ม ส้มโอ มะกรูด หรือพบมากในแครนเบอร์รี่และเมลอนซึ่งคนไทยมักไม่นิยมรับประทานเท่าผลไม้รสหวาน ทำให้ร่างกายได้รับซิเตรทน้อย ส่วนสารต้านอนุมูลอิสระพบในอาหารจำพวกผักและผลไม้ นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง (อาหารเค็ม) และโปรตีนสูงก็ส่งเสริมให้เกิดนิ่วปัสสาวะได้ง่ายขึ้น” ผศ.ดร.ชาญชัย กล่าว
จากปัญหาโรคนิ่วปัสสาวะที่พบได้สูงและเกิดซ้ำบ่อยในคนไทย และปัญหาผลข้างเคียงของการใช้ยาโพแทสเซี่ยมซิจากปัญหาโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่พบได้สูงและเกิดซ้ำบ่อยในคนไทย และปัญหาผลข้างเคียงของการใช้ยาโพแทสเซี่ยมซิเตรทในผู้ป่วยบางราย นำมาสู่การวิจัยผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไฮโดรซิทลา ซิเตรท พลัส ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างยาแผนปัจจุบัน (modern medicine) และศาสตร์ยาสมุนไพรแผนโบราณ (traditional medicine) ที่สามารถแก้ไขสาเหตุของการเกิดนิ่วทั้งสามประการที่กล่าวข้างต้นได้ ผศ.ดร.ชาญชัย กล่าวถึงสรรพคุณของสมุนไพรหลักที่นำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มไฮโดรซิทลา
แกนกล้วย คือแกนตรงกลางเครือกล้วยแข็งๆ หลังตัดผลหวีออกแล้ว หาง่าย หากต้องซื้อ ราคาก็ไม่แพง สารในแกนกล้วยมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และลดปริมาณออกซาเลตในปัสสาวะได้
อัญชัน เป็นสมุนไพรที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ให้สีสวยตามธรรมชาติ เมื่อนำมาสกัดพร้อมแกนกล้วย ผ่านความร้อนด้วยอุณหภูมิ เวลา และอัตราส่วนที่เหมาะสม ก็ทำให้ได้สารสำคัญที่มีสรรพคุณลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้
เครื่องดื่มสกัดเข้มข้นจากสมุนไพรไฮโดรซิทลา ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว ในหมวดหมู่เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในระยะก่อนคลินิก (preclinically tested) แล้ว และกำลังศึกษาทดสอบประสิทธิภาพในระยะคลินิก (clinical trial) ปัจจุบันมีจำหน่ายตามเครื่องจำหน่ายสินค้านวัตกรรมทางการแพทย์แบบอัตโนมัติ ที่ตั้งบริการตามจุดต่างๆ ทั้งที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ Siam Innovation District (SID) อาคารสยามสแควร์วัน “ดื่มไฮโดรซิทลาทุกวันแล้วคุณจะรู้สึกด้วยตัวเองว่า…ฉี่คล่อง เป็นของกล้วย…กล้วย” ผศ.ดร.ชาญชัย กล่าว
ที่ผ่านมาเราเป็นผู้รับและใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศมานาน ถึงเวลาที่เราคนไทยจะต้องสร้างเทคโนโลยีขึ้นใช้เอง และส่งขายต่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของผู้ขับเคลื่อนประเทศร่วมสร้างนวัตกรรมสัญชาติไทยออกสู่ตลาดให้มากขึ้น เพื่อให้ประเทศเราสามารถแข่งขันด้านเทคโนโลยีได้ และสามารถก้าวผ่าน middle-income trap เข้าสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้