รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
25 มิถุนายน 2564
ทีมวิจัยจุฬาฯ เปิดตัว Cure Air Sure หน้ากากอนามัยประสิทธิภาพสูง กรองฝุ่น PM2.5 และป้องกันเชื้อโรคได้ถึง 99.9% ใส่สบาย หายใจสะดวก แถมใช้วัสดุโปร่งใสเผยรอยยิ้ม วางแผนจำหน่ายความสบายและปลอดโรคในราคาเบาๆ เร็วๆ นี้
สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ระลอกแล้วระลอกเล่ามาจนถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังไม่มีทีท่าจะสงบ ทำให้เทคโนโลยีการกรองอากาศกลายเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับชีวิตวิถีใหม่ ที่โหยหาอากาศบริสุทธิ์ปลอดเชื้อโรคมากขึ้นเรื่อยๆ
ผลิตภัณฑ์หน้ากากกรองอากาศในท้องตลาดมีมากมายหลายรูปแบบ แต่ประสิทธิภาพและความสบายในการสวมใส่ยังเป็นประเด็นที่ผู้ใช้ไม่สู้มั่นใจนัก ด้วยเหตุนี้ โครงการ “เทคโนโลยีการกรองประสิทธิภาพสูงเพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพของประเทศไทย” นำโดย ศาตรจารย์ ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวหน้ากากกรองอากาศด้วยเทคโนโลยีฝีมือคนไทย Cure Air Sure
“หน้ากาก Cure Air Sure ผ่านการทดสอบคุณสมบัติได้ดีมาก ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพการกรองอนุภาคที่สูงถึง 99.93% ประสิทธิภาพการกรองแบคทีเรีย 99.9% นอกจากนี้ยังสามารถต้านทานการทะลุผ่านของเลือดสังเคราะห์ได้และไม่ติดไฟ” ศ.ดร.อนงค์นาฏ กล่าวและเสริมว่า นอกจากประสิทธิภาพแล้ว ความสบายในการสวมใส่ การมีพื้นที่หายใจมากขึ้น และส่วนฟิลเตอร์ของหน้ากากลดการสร้างขยะพิษล้นโลกก็เป็นเรื่องที่คณะวิจัยให้ความสำคัญ
“เราต้องการความมั่นคงทางสุขภาพของคนไทย ในวันที่ประเทศไทยไม่สามารถนำเข้าอุปกรณ์การกรองอากาศได้” ศ.ดร.อนงค์นาฏ เผยมูลเหตุจูงใจที่ริเริ่มโครงการวิจัยและผลิตหน้ากากกรองอากาศ Cure Air Sure
จากช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกแรก อุปกรณ์หน้ากากอนามัยที่เหมาะกับหัตถกรรมทางการแพทย์ขาดแคลนอย่างหนัก เพราะเป็นที่ต้องการทั่วโลก ประเทศที่ผลิตหน้ากากอนามัยก็ชะลอการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบนี้ไปด้วย ประจวบกับมีกลุ่มคนที่นำหน้ากากที่มีคุณภาพต่ำ ไม่ได้การรับรองมาจำหน่าย ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ฉะนั้น ประเทศไทยควรมีแหล่งผลิตหรือนวัตกรรมการกรองอากาศเป็นของตัวเองเพื่อแจกจ่ายหน้ากากที่มีคุณภาพให้คนในชาติอย่างเพียพอ
ผศ.ดร.รัฐพล รังกุพันธุ์ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ หนึ่งในทีมผู้พัฒนาหน้ากากในโครงการเล่าเสริมว่า ในช่วงแรกของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ร่วมกับสภากาชาดไทยเลือกให้คณะทำงานจากโครงการฯ เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพชุด PPE หน้ากาก N95 และหน้ากาก KN95 ที่ได้รับบริจาคมาว่ามีคุณภาพเพียงพอต่อหัตถการทางการแพทย์เพียงใด ก่อนจะแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนัก และต่อมาภายหลัง ทีมของจุฬาฯ ก็เปิดให้บริการทดสอบหน้ากาก N95 หน้ากากอนามัย และหน้ากากผ้าแก่ผู้บริจาคและบุคคลภายนอกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
“หน้ากากจำนวนมากมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรเป็น ทำให้ผู้ใช้งานต้องเสี่ยงอันตราย คณะทำงานจึงเกิดแนวคิดว่าประเทศไทยควรมีเทคโนโลยีด้านการกรองภายในประเทศเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ขาดแคลนหน้ากากป้องกันระดับสูงในอนาคต” ผศ.ดร.รัฐพล กล่าว
ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการรวมทีม สร้างความร่วมมือระหว่างคณาจารย์และภาคเอกชนจัดตั้งเป็นบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม Cure Enterprise โดยกว่า 70% ของผลกำไรจะกลับคืนสู่จุฬาฯ
“เราตั้งใจว่าจะส่ง CURE Air Sure ล็อตแรกไปให้เจ้าหน้าที่หน้าด่าน ที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงจากโรคโควิด-19 เช่น ผู้ให้บริการหน้าจุดตรวจต่างๆ ผู้คัดกรองก่อนฉีดวัคซีน อาสาสมัคร เป็นต้น ก่อนที่จะจัดจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปเร็วๆ นี้” ผศ.ดร.รัฐพล กล่าว
ทางโครงการได้รับทุนการผลิตหน้ากากเพื่อบริจาคจากคณะศิษย์เก่า จุฬาฯ ส่วนทุนสนับสนุนการวิจัยนั้นได้รับจาก ทุนศตวรรษที่ 2 (The Second Century Fund, Chula : C2F) โดยได้รับความร่วมมือในการพัฒนาหน้ากากจากอาจารย์ นักวิจัยในจุฬาฯ คือคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ และคุณหมอที่คณะแพทยศาสตร์ และหน่วยงานภายนอก ได้แก่ บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือสหพัฒนพิบูล จำกัด กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสถาบันพลาสติก
หน้ากากกรองอากาศ Cure Air Sure ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยเน้นคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการ
“จากการทดลองใส่จริงประมาณ 3-4 ชั่วโมง พบว่าหน้ากาก Cure Air Sure ใส่สบายกว่าหน้ากาก N95 แม้จะมีไอขึ้นบริเวณหน้ากากขณะพูดอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกอับชื้นขณะสวมใส่ นอกจากความสบายในการสวมใส่แล้ว การดูแลและทำความสะอาดหน้ากากก็ง่าย เพียงล้างโครงหน้ากากด้วยน้ำสบู่ น้ำเปล่า และตากแห้ง ส่วนฟิลเตอร์กรองก็เปลี่ยนเพียงอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ราคาไม่เกิน 30 บาท” ศ.ดร.อนงค์นาฏ กล่าว
ศ.ดร.อนงค์นาฏ กล่าวว่าผลการทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ของแผ่นกรองและ fit test ของหน้ากาก Cure Air Sure เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้อยู่ในช่วงพิจารณาช่องทางการจัดจำหน่าย
“การทดสอบ fit test เป็นการทดสอบความพอดีของหน้ากาก ซึ่งขึ้นกับขนาดรูปหน้าของผู้สวมใส่ จากการทดสอบกับอาสาสมัครหลายท่านพบว่า หน้ากากมีความพอดีกับคนส่วนใหญ่ แต่ผู้ที่มีโครงหน้ายาวและจมูกโด่งก็อาจจะไม่ฟิตนัก”
Cure Air Sure 1 ชุด ประกอบด้วยโครงหน้ากากและฟิลเตอร์จำนวน 4 ชิ้น (ใช้ได้ 1 เดือน) ราคา 400 บาท ชุดฟิลเตอร์เพียงอย่างเดียว จำนวน 4 ชิ้น ราคา 100 บาท ซึ่งหากใช้หน้ากากทุกวัน จะมีค่าใช้จ่ายไม่ถึง 5 บาทต่อวัน
สุดท้าย ศ.ดร.อนงค์นาฏ เผยว่าคณะวิจัยกำลังพัฒนาหน้ากากรุ่นถัดไปสำหรับผู้ที่ต้องการแต่งหน้า และต้องการหน้ากากที่รองรับการแต่งหน้าได้ในขณะที่ยังคงประสิทธิภาพในการกรองอากาศเพื่อป้องกันเชื้อโรคและมลพิษทางอากาศดีเหมือนเดิม
*อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การตรวจสอบชุด PPE ที่มีคุณภาพเพื่อใช้ในหัตถการ ICU-COVID-19 ได้ที่https://www.research.chula.ac.th/th/news/7025/
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์ นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้