รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
11 กรกฎาคม 2564
คงเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยในขณะนี้เข้าขั้นวิกฤต คำถามสำคัญที่ต้องการคำตอบอย่างเร่งด่วนคือ รัฐจะมีมาตรการในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤตนี้อย่างไร
ผศ.ดร.ชนวีร์ สุภัทรเกียรติ ผศ.ดร.ภัทเรก ศรโชติ ผศ.ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ คณาจารย์จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอบทความเรื่อง “วิกฤตโควิด-19 ในประเทศไทย: เราจะเลือกหนักไปหาเบา หรือ เบาไปหา(อาการ)หนัก” โดยอ้างอิงข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลทั่วโลกได้เคยใช้ในการรับมือกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่าควรคำนึงถึงมาตรการใดบ้างและมีวิธีการเยียวยาอย่างไร
อ้างอิงงานวิจัยของ Brauner และคณะ (2021) ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำระดับโลกทางด้านวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยของ Haug และคณะ (2020) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Human Behavior ได้ศึกษาและเปรียบเทียบมาตรการต่างๆ ที่แต่ละประเทศทั่วโลกใช้ในการลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พบว่ามาตรการที่เน้นการเว้นระยะห่างทางสังคม การห้ามรวมกลุ่มของประชาชนที่เข้มขัน (เช่น ห้ามรวมกลุ่มเกิน 10 คน) การควบคุมการเดินทาง การปิดสถานศึกษา การปิดชายแดน และการปิดธุรกิจส่วนใหญ่ ยกเว้นแต่ที่มีความจำเป็นจริงๆ ให้ผลต่อการควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและควบคุมได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งทั้งสองงานวิจัยนี้เห็นตรงกันว่ามาตรการที่ได้ผลดีที่สุดในหลายประเทศคือการห้ามการรวมกลุ่มของประชาชนที่เข้มข้น คณะผู้เขียนบทความเสนอว่าในภาวะวิกฤตของไทยนี้ควรจำกัดการรวมกลุ่มในกิจกรรมที่ไม่จำเป็นไม่ให้เกิน 2 คน เป็นเวลา 14 วัน เพราะจะทำให้การระบาดลดลงได้อย่างรวดเร็วที่สุด
แม้ว่ามาตรการข้างต้นจะมีประสิทธิภาพสูงในการลดการระบาด แต่มาตรการเหล่านี้ก็มีผลกระทบในด้านเศรษฐกิจและทางสังคมอย่างมาก ดังนั้นควรต้องคำนึงถึงมาตรการเสริมอื่นๆ ด้วย อาทิ การแจกจ่ายอาหาร วันละ 3 มื้อ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบแก่ประชาชนที่ต้องตกงาน โดยรัฐสามารถรับสมัครร้านอาหารเข้าร่วมโครงการทำอาหารแจกจ่ายให้แก่ประชาชนโดยงบประมาณของรัฐ ซึ่งร้านอาหารเหล่านี้ก็เป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดอยู่แล้ว ซึ่งจะเป็นการต่ออายุธุรกิจร้านอาหาร เสมือนการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว โดยงบประมาณในโครงการนี้ ก็ไม่น่าจะมากกว่างบประมาณในโครงการเยียวยาอื่นๆ ที่รัฐเคยทำ อาทิ หากมีประชาชนรับอาหารประมาณ 10 ล้านคนต่อมื้อ ในกรณีล็อคดาวน์ 14 วันจะต้องมีค่าใช้จ่ายประมาณ 12,600 ล้านบาท (โดยคำนวณจากค่าอาหารมื้อละ 30 บาท)
การใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มข้นอย่างแท้จริงและทั่วถึง เป็นสิ่งที่ชี้ชะตาถึงผลสำเร็จในการรอดพ้นวิกฤต ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามาตรการควบคุมหลายมาตรการก็ไม่สามารถควบคุมได้อย่างแท้จริง อาทิ เกิดการลักลอบนำแรงงานต่างชาติเข้าประเทศโดยไม่ผ่านจุดคัดกรองและกักตัว เป็นที่น่าสังเกตว่าหลายประเทศ อาทิ จีนสามารถควบคุมการระบาดได้ดี ทั้งที่มีพรมแดนธรรมชาติที่ยาวและยากต่อการควบคุม สาเหตุหลักน่าจะเป็นเพราะจีนมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนั้นแม้ว่าประชาชน ส่วนใหญ่จะปฏิบัติตามมาตรการควบคุมต่างๆ อย่างเคร่งครัด แต่การกระทำของคนส่วนน้อยที่ไม่เคารพมาตรการควบคุมต่างๆ ก็สามารถเป็นชนวนการระบาดให้ลุกลามได้ ดังนั้นวิธีป้องกันคือการออกกฎหมายชั่วคราวที่เข้มข้นและเพิ่มโทษคนที่ละเมิดกฎหมายและมาตรการที่รัฐกำหนด
อ้างอิง
Brauner, J. M., Mindermann, S., Sharma, M., Johnston, D., Salvatier, J., Gavenčiak, T., …&Kulveit, J. (2021). Inferring the effectiveness of government interventions against COVID-19. Science, 371(6531).
Haug, N., Geyrhofer, L., Londei, A., Dervic, E., Desvars-Larrive, A., Loreto, V., …&Klimek, P. (2020). Ranking the effectiveness of worldwide COVID-19 government interventions. Nature human behaviour, 4(12), 1303-1312.
Viet Nam News (7 July 2021), HCM City to enforce lockdown measures starting July 9 amid worsening COVID-19 outbreak, https://vietnamnews.vn/society/988153/hcm-city-to-enforce-lockdown-measures-starting-july-9-amid-worsening-covid-19-outbreak.html
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้