รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
12 กรกฎาคม 2564
สัตวแพทย์ จุฬาฯ แนะวิธีดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงให้อยู่ด้วยกันไปนานๆ เสริมอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัยและเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยงยามชรา
แม้ความชราจะเป็นเรื่องที่หนีไม่พ้น ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ แต่ก็พอจะชะลอกันได้ เมื่อมนุษย์ทุกวันนี้บริโภคอาหารเสริมเพื่อชะลอความชราของตน อาหารเสริมลักษณะนี้ก็น่าจะได้ผลกับเพื่อนสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ด้วยเช่นกัน
“เมื่อสัตว์เลี้ยงอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของร่างกายจะเสื่อมลง เช่น ระบบข้อและปัญหาสมองเสื่อมซึ่งส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม เช่น นอนไม่หลับช่วงกลางคืน อุจจาระและปัสสาวะไม่เป็นที่ บางตัวจำเจ้าของไม่ได้ พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของอนุมูลอิสระ สาเหตุสำคัญของความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายสัตว์” สพ.ญ.ฐิตา เตโชฬาร สัตวแพทย์ประจำคลินิกหัวใจ คลินิกระบบขับถ่ายปัสสาวะ และคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายความชราในสัตว์เลี้ยง
“การเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจึงอาจจะจำเป็น เนื่องจากร่างกายของสัตว์เลี้ยงไม่สามารถสังเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระเองได้” สพ.ญ.ฐิตา กล่าวพร้อมแนะให้เจ้าของเสริมสารต้านอนุมูลอิสระให้สัตว์เลี้ยง ซึ่งในปัจจุบัน มีการนำสารต้านอนุมูลอิสระมาใช้ในการชะลอวัยและรักษาโรคในสัตว์เลี้ยง อาทิ โรคสมองเสื่อม โรคข้อ โรคผิวหนัง เป็นต้น
อนุมูลอิสระคืออนุมูลที่ไม่เสถียรและจะคอยแย่งอิเล็กตรอนของอะตอมอื่นมาสร้างความเสถียรให้แก่ตัวเอง การแย่งลักษณะนี้เกิดกับเซลล์ทั้งในร่างกายคนและสัตว์ โดยอนุมูลอิสระจะแย่งอิเล็กตรอนจากอะตอมที่เรียงตัวกันอย่างเป็นระบบระเบียบภายในเซลล์ ทำให้เซลล์เสื่อมและตาย ซึ่งความเสื่อมของเซลล์ลักษณะนี้หมายถึงความเสื่อมของอวัยวะในร่างกายและความชรา
“โดยปกติแล้ว ระบบการทำงานของร่างกายจะคอยหมั่นกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นตลอดเวลาอยู่แล้ว เพียงแต่เมื่อมนุษย์หรือสัตว์แก่ตัวลงหรือล้มป่วย ระบบกำจัดอัตโนมัติที่ว่านี้ก็จะเสื่อมถอยลงไปด้วย ไม่อาจไล่ตามกำจัดอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นได้ทัน เกิดภาวะเสียสมดุลภายในร่างกาย ในภาวะเช่นนี้ จึงจำเป็นต้องเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากภายนอกเพื่อรับมือกับปริมาณอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นภายในร่างกาย”
1. ช่วยชะลอกระบวนการของความชรา
2. ช่วยรักษาโรค เช่น โรคข้อ โรคสมองเสื่อม ผิวหนังอักเสบหรือภูมิแพ้
3. ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพิ่มการตอบสนองต่อวัคซีน เสริมความแข็งแรงของกระดูกและข้อต่อ รวมทั้งฟื้นฟูกล้ามเนื้อและสภาพผิวหนัง ลดการอักเสบ ป้องกันโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง
สัตวแพทย์ใช้สารต้านอนุมูลอิสระมาระยะหนึ่งแล้ว โดยใช้เพื่อถนอมอาหารสุนัขและแมวให้คงความสดใหม่นานขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายสัตว์โดยทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ซึ่งลักษณะของสารต้านอนุมูลอิสระในอาหารเสริมสำหรับสัตว์เลี้ยงในปัจจุบันจำแนกเป็น 2 แบบคือ
1. แบบชะลอความชรา เป็นอาหารเสริมชนิดเม็ดสำหรับสัตว์เลี้ยง ให้เพิ่มจากอาหารที่ให้สัตว์เลี้ยงกินตามปกติได้
2. แบบหวังผลเพื่อรักษาโรค แบบนี้เป็นอาหารเสริมที่ผสมวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินอี ซี บี ซิลิเนียม หรือกรดไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า ให้โดยคำนวณตามน้ำหนักสัตว์เลี้ยงและอยู่ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์
นอกจากการเสริมอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สพ.ญ.ฐิตา แนะวิธีการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงและอายุยืนยาว
1. จัดโปรแกรมดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงด้วยการป้องกันพยาธิ เห็บ หมัด พยาธิหัวใจด้วยผลิตภํณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อกำจัดพาหะนำโรค
2. ตรวจสุขภาพและพาไปรับวัคซีนสัตว์เลี้ยงทุกปี ถ้าอายุเกิน 8 ปี ควรตรวจสุขภาพทุก 6 เดือน
3. ดูแลน้ำหนักของสัตว์เลี้ยงเนื่องจากความอ้วนเป็นเหตุของโรคภัยต่างๆ ในสัตว์เลี้ยง ทั้งโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคผิวหนัง หายใจลำบาก โรคเบาหวาน และโรคตับ เป็นต้น
4. เลือกอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน สมดุล เหมาะสมกับช่วงวัยของสัตว์เลี้ยงในปริมาณที่พอดี และที่สำคัญ ใส่ใจเสริมสารต้านอนุมูลอิสระ
“การเสริมสารอาหารที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เหมาะสมนับว่ามีประโยชน์ต่อสัตว์เลี้ยงในทุกช่วงวัย ทั้งสัตว์ปกติและสัตว์ที่เป็นโรค ช่วยลดการอักเสบ ชะลอความเสื่อมของร่างกาย และทำให้การตอบสนองของภูมิคุ้มกันดีขึ้น”สพ.ญ.ฐิตา กล่าวทิ้งท้าย
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้