รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
20 กรกฎาคม 2564
เภสัชฯ จุฬาฯ เตรียมทดสอบ “วัคซีนใบยา” ป้องกันโควิด-19 วัคซีนสัญชาติไทยแท้โดย “ใบยาไฟโตฟาร์ม” สตาร์ทอัพสังกัดจุฬาฯ สร้างต้นแบบโรงงานผลิตวัคซีนจากพืชสำหรับใช้ในมนุษย์แห่งแรกในเอเชีย วางแผนพิสูจน์ประสิทธิภาพกับอาสาสมัครภายในเดือนกันยายน 2564 พร้อมกับวิจัยวัคซีนรุ่น 2 รองรับไวรัสกลายพันธุ์
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทวีความรุนแรงขึ้นด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิต ที่ไต่ระดับสูงขึ้นรายวัน “วัคซีน” เป็นหนึ่งในความหวังที่จะช่วยชะลอและลดการแพร่ระบาดของโรคและอัตราการเสียชีวิตได้
ที่ผ่านมา นักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้คิดค้นพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 โดยตลอด ทั้ง ChulaCov19 วัคซีนชนิด mRNA ที่พัฒนาโดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และอีกหนึ่งความหวังของคนไทย “วัคซีนใบยา” ที่พร้อมพิสูจน์ฝีมือคนไทยเดือนกันยายนนี้
“วัคซีนใบยา” ป้องกันโควิด-19 ผลิตจากใบพืช เป็นผลงานสตาร์ทอัพแห่งจุฬาฯ บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด (ภายใต้ CU Enterprise) โดยสองนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และรองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลเจริญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ
“วัคซีนใบยาเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด subunit vaccine ซึ่งต่างประเทศมีการผลิตวัคซีนชนิดนี้มานานแล้วโดยผลิตจากหลายแหล่ง เช่น พืช แมลง ฯลฯ ขณะที่หลายประเทศผลิต subunit vaccine จากใบพืช เช่น แคนาดา และเกาหลีใต้” ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา CEO และ Co-founder บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด เผย
“วัคซีนใบยาใช้ใบยาสูบสายพันธุ์ดั้งเดิมจากออสเตรเลียทำหน้าที่เสมือนโรงงานผลิตชิ้นส่วนของไวรัสซึ่งเป็นไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดโรคเมื่อฉีดวัคซีนใบยาเข้าไปในร่างกาย วัคซีนจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเรา หากติดเชื้อโควิด-19 ก็จะป้องกันได้”
ภายหลังได้รับวัคซีนต้นแบบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการทดสอบวัคซีนใบยากับสัตว์ทดลอง เช่น หนูขาวและลิงซึ่งแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งพบว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ผลสูง หลังจากนั้น (ตุลาคม 2563) จึงเริ่มสร้างโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนที่อาคารจุฬาพัฒน์ 14 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2564 โรงงานเนื้อที่ 1,200 ตร.ม. มีกำลังการผลิตวัคซีนเดือนละ 1 – 5 ล้านโดส
“สิงหาคม 2564 เราจะเปิดรับอาสาสมัครเพื่อทดสอบวัคซีนกลุ่มแรกจำนวน 50 คน อายุ 18 – 60 ปีโดยอาสาสมัครต้องมีสุขภาพแข็งแรงและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน การทดสอบวัคซีนจะเริ่มในเดือนกันยายนอาสาสมัครจะได้รับการฉีดวัคซีนจำนวนสองเข็ม เว้นระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ เมื่อทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรกเสร็จเราก็จะทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัครกลุ่มอายุ 60–75 ปี ต่อไป” ผศ.ภญ.ดร.สุธีรากล่าว และคาดว่าวัคซีนใบยาจะพร้อมฉีดให้คนไทยช่วงกลางปี 2565 ในราคาต้นทุนโดสละ 300 – 500 บาท
นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังได้พัฒนาวัคซีนใบยารุ่นที่ 2 เพื่อรับมือการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะพร้อมทดสอบกับอาสาสมัครปลายปี 2564 โดยจะปรับปรุงศักยภาพของวัคซีนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันดีขึ้นด้วย
ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา ย้ำทิ้งท้ายถึงคุณค่าของโครงการวิจัยนี้ นั่นคือวัคซีนใบยาเป็นวัคซีนฝีมือคนไทยโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ใช้นักวิจัยคนไทยกว่า 50 ชีวิต และผู้สนับสนุนอีกนับร้อย
“การผลิตวัคซีนโควิดได้เองส่งผลให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านสุขภาพ สามารถต่อยอดงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อประชาชนได้ และเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศไทยด้วย” ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวด้วยความภาคภูมิใจ
ผู้สนใจบริจาคเพื่อสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนใบยา โปรดดูรายละเอียดได้ที่https://www.cuenterprise.co.th/ หรือ Facebook: CUEnterprise
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้