รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
20 กรกฎาคม 2564
คณาจารย์จากศศินทร์ จุฬาฯ แนะคนไทยใช้พลังเชิงบวกแก้ปัญหา ด้านรัฐต้องเป็นศูนย์กลางในการล็อกดาวน์ สื่อสารมาตรการให้ชัดเจน
คณาจารย์จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอบทความเรื่อง “ล็อกดาวน์ สื่อสาร มาตรการชัดเจน” แนะคนไทย ร่วมแรงร่วมใจใช้พลังเชิงบวกในการแก้ปัญหา โดยรัฐต้องเป็นศูนย์กลางในการกำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างเร่งด่วน และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต้องสื่อสารให้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
จากงานวิจัยของ Kavakli (2020) พบว่ามีหลายประเทศในโลกที่เริ่มใช้การล็อกดาวน์ในระดับที่มีความเข้มข้นน้อย แล้วค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นเมื่อสถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุหลักเป็นเพราะประเทศเหล่านี้ไม่อยากให้การล็อกดาวน์ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ (ที่บอบช้ำอยู่แล้ว) จึงหวังว่าการใช้มาตรการในระดับเบานั้นอาจจะเพียงพอและสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจที่อาจจะรุนแรงเกินความจำเป็นได้ และไม่อยากให้ประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการทั้งเล็กและใหญ่ได้รับความลำบากและไม่พอใจกับการบริหารประเทศ
ทั้งนี้ การตัดสินใจจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคนั้นได้ถูกกระทบจากความกลัวในสถานการณ์ของการระบาดอยู่แล้ว ซึ่งบทความของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) (2020) แสดงให้เห็นว่าการล็อกดาวน์แบบเข้มข้นและเข้มงวดดีกว่าการล็อกดาวน์แบบเบาๆและไม่เข้มงวด ทั้งในด้านการควบคุมการระบาดและในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากการ ล็อกดาวน์แบบเบาๆ ไม่เข้มงวดทำให้ระดับจำนวนผู้ติดเชื้อยังคงสูง ส่งผลให้ผู้บริโภคลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพราะยังมีความเสี่ยงด้านสุขภาพอยู่ ในขณะที่การล็อกดาวน์แบบเข้มงวดจะใช้เวลาควบคุมโรคที่สั้นกว่า โดยจะมีต้นทุนทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากกรณีไม่เข้มงวดเพียงเล็กน้อย แต่จะทำให้การติดเชื้อลดลงอย่างมากและเร็ว จะนำไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วขึ้น
ก่อนที่จะมีการประกาศล็อกดาวน์ รัฐต้องมีมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมที่ชัดเจน เพื่อให้การล็อกดาวน์มีประสิทธิภาพสูงสุด ประชาชนปฏิบัติตามได้และพร้อมให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการในด้านสภาพคล่องของประชาชน รวมทั้งผู้ประกอบการทั้งเล็กและใหญ่ ซึ่งได้ทำในหลายๆ ประเทศ อาทิ เยอรมนี ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฝรั่งเศส เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการที่รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน และโปร่งใส รวมถึงมีหน่วยงานที่รับผิดชอบชัดเจนซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
องค์ประกอบหนึ่งที่หลายๆ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ชัดเจน คือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ อ้างอิงงานวิจัยของ Hyland-Wood และคณะ (2021) ที่ได้ทำการศึกษาและรวบรวมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในภาวะวิกฤตของรัฐบาล โดยสามารถสรุปเป็นประเด็นหลักๆ ดังนี้
1. สื่อสารอย่างชัดเจนและครบถ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและทำให้ประชาชนไม่เกิดความสับสน เช่น อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ และมีนโยบายเพื่อให้การสนับสนุนแก่ประชานชนที่จะตอบสนองต่อนโยบายต่างๆของรัฐในทิศทางที่ชัดเจนและไม่ขัดแย้งกัน โดยเฉพาะข้อมูลที่ออกมาจากหน่วยงานของรัฐต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกัน ถูกต้อง ชัดเจน และปราศจากความสับสน
2. สื่อสารข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ เช่น หากเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการแพทย์และมีผลกระทบในวงกว้าง ให้นักวิทยาศาสตร์หรือบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความน่าเชื่อถือและเชี่ยวชาญเข้าร่วมแถลง
3. สื่อสารอย่างมีความเห็นอกเห็นใจ จริงใจและซื่อสัตย์ เช่น แสดงออกถึงความเข้าใจถึงปัญหาและสื่อสารออกไปอย่างเห็นอกเห็นใจ และสื่อสารด้วยคำพูดเชิงบวก
4. สื่อสารถึงความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เช่น ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ความไม่แน่นอนในสิ่งต่างๆ อาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรสื่อสารออกไป เพื่อสร้างความคาดหวังที่ถูกต้อง
5. สื่อสารโดยตระหนักถึงพื้นฐานและความเข้าใจของผู้ฟัง ซึ่งจะสามารถช่วยให้นโยบายต่างๆ ของรัฐดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ควรสื่อสารโดยยกตัวอย่างแบบง่ายๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสนและเข้าใจผิด
6. สื่อสารถึงโดยตระหนักถึงบรรทัดฐานทางสังคมและความหลากหลายและแตกต่างกันของกลุ่มคนในสังคม เช่น คำนึงถึงแรงงานต่างด้าว ผู้สูงอายุ หรือ เด็กและเยาวชน
7. สื่อสารเชิงรุกต่อข้อมูลเท็จ เช่น ต้องออกมาให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และดำเนินคดีกับผู้ให้ข้อมูลเท็จอย่างเด็ดขาด
รัฐต้องตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารที่ชัดเจนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกนโยบายใดๆ จะต้องมีมาตรการรองรับที่ชัดเจนต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ บทความของ IMF (2020) พบว่าการที่ประชาชนรับทราบถึงภาวะวิกฤติ จะช่วยให้ประชาชนตระหนักและเพิ่มความระมัดระวังตนเองมากยิ่งขึ้น ลดการเคลื่อนที่และให้ความร่วมมือกับมาตรการต่างๆมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลดการระบาด ดังนั้นการนำเสนอข่าวที่เป็นความจริง แม้ว่าจะทำให้เกิดความหวาดกลัว แต่ความหวาดกลัวที่เกิดจากความจริงเป็นสิ่งที่ดี ไม่ควรห้าม สุดท้ายนี้ ฝ่ายที่มีหน้าที่หาวัคซีน ควรเร่งหาวัคซีนเพื่อให้ประชาชนคนไทยได้วัคซีนอย่างทั่วถึง มีวัคซีนดีกว่าไม่มี ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนแบบไหนก็ควรฉีดไปก่อนเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
อ้างอิง
Hyland-Wood, B., Gardner, J., Leask, J. et al. Toward effective government communication strategies in the era of COVID-19. HumanitSocSciCommun8, 30 (2021). https://doi.org/10.1057/s41599-020-00701-w
Caselli, F., Grigoli, F., Lian, W., &Sandri, D. (2020). “Chapter 2 The Great Lockdown: Dissecting the Economic Effects”. In World Economic Outlook, October 2020. USA: International Monetary Fund. Retrieved Jul 19, 2021, from https://www.elibrary.imf.org/view/books/081/29296-9781513556055-en/ch002.xml
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์ นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้