รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
17 สิงหาคม 2564
ผู้เขียน ฐนิตา หวังวณิชพันธุ์
ยิ่งอายุมากขึ้น การออกกำลังกายก็ยิ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่ละเลยไม่ได้ แต่เนื่องด้วยมาตรการล็อกดาวน์และการรักษาระยะห่างทางสังคมที่เกิดขึ้นเป็นห้วงๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ผู้สูงวัยต้องเก็บตัวอยู่กับบ้าน เว้นจากกิจกรรมทางสังคม และการออกกำลังกายที่เคยทำตามสถานที่สาธารณะต่างๆ ไม่ว่าจะวิ่งเหยาะๆ รอบหมู่บ้าน รำมวยจีน (ไทเก๊ก) ที่สวนสาธารณะ เต้นแอโรบิกข้างห้างสรรพสินค้า เล่นโยคะที่ฟิตเนส หรือสนุกกับกีฬาเบาๆ ในลานกลางแจ้ง
การเก็บตัวอยู่กับบ้านอาจทำให้ผู้สูงวัยซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง ห่างไกลจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 แต่ก็อาจทำให้มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้มากมาย หากไม่หมั่นขยับเคลื่อนไหวหรือบริหารร่างกาย และบริหารจิตใจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิษฐ์ จิรเดชนันท์ อาจารย์ประจำภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวด้วยความห่วงใย
“โดยทั่วไป เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายจะทำงานลดลง เช่น ระบบเผาผลาญ ระบบการดูดซึมอาหาร ระบบการควบคุมการเคลื่อนไหวรวมถึงระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจะมีความแข็งแรงลดลง ร่างกายจะมีความอ่อนล้าและเหนื่อยง่ายขึ้น และอาจส่งผลไปสู่สภาพจิตใจให้รู้สึกหดหู่ด้วย การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะช่วยชลอการเสื่อมของระบบต่างๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น และช่วยส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาวะที่ดีขึ้น” ผศ.ดร.อดิษฐ์ กล่าวพร้อมเสนอรูปแบบ และวิธีการสร้างสรรค์ในการออกกำลังกายโดยรักษาระยะห่างที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีสุขภาวะที่ดีขึ้น
การออกกำลังกายนอกจากช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้สูงวัยดีขึ้นโดยองค์รวมแล้ว การออกกำลังยังช่วยทำให้ระบบไหลเวียนเลือด และการแลกเปลี่ยนแก๊สทำงานดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอาการความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ ลดปริมาณไขมันและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ การทำงานของระบบการควบคุมการเคลื่อนไหวจะสามารถทำงานได้ดีขึ้น โดยกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และระบบประสาทจะทำงานของประสานสัมพันธ์ดีขึ้น ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดการล้ม การเคลื่อนไหวร่างกายยังสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของอวัยวะภายในช่องท้อง โดยจะส่งผลให้ระบบทางเดินอาหารทำงานดีขึ้นส่งผลให้การย่อยอาหารและขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้นดี อีกทั้งการออกกำลังยังส่งผลต่อการหลั่งสารสื่อประสาททำให้การหลับพักผ่อนดีขึ้น ทำให้ความเครียดลดลง และลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า
ทั้งนี้ ผศ.ดร.อดิษฐ์ แนะนำแนวทางการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงวัย 2 แบบด้วยกัน
ผศ.ดร.อดิษฐ์ กล่าวถึงหลักการออกกำลังกายให้ได้ประโยชน์โดยทั่วไปว่าควรออกกำลังกายเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 30 – 45 นาทีต่อครั้ง และออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นอย่างน้อย โดยทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายทุกครั้งจำเป็นต้องวอร์มอัพ (warm Up) และคูลดาวน์ (cool down) เสมอเพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บ และไม่ว่าจะออกกำลังกายประเภทใด สิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจคือ “จังหวะการเต้นของหัวใจและการหายใจ”
ผศ.ดร.อดิษฐ์แนะให้ผู้สูงวัยคอยสังเกตุอัตราการเต้นของหัวใจเสมอๆ โดยใช้สูตรคำนวณ คือ (220 – อายุ) = อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ขณะออกกำลังกายแบบเบา (light exercise) จะกำหนดให้อัตราการเต้นของหัวใจไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด
“เช่นผู้ที่อายุ 60 ปี อัตราการเต้นหัวใจสูงสุดจะอยู่ที่ 220–60 = 160 อัตราการเต้นหัวใจในรูปแบบการออกกำลังกายแบบเบา อัตราการเต้นหัวใจสูงสุดคือ 80 ครั้งต่อนาที” ผศ.ดร.อดิษฐ์ อธิบาย
“และถ้าระหว่างออกกำลังกายยังรู้สึกสบายดี ต้องการเพิ่มความหนักของการออกกำลังกายเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น 60-70 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด นั้นคือ 96-112 ครั้งต่อนาที แต่ต้องดูให้ไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด หรือ 128 ครั้งต่อนาที ซึ่งนั้นคือรูปแบบการออกกำลังการแบบความหนักปานกลาง (moderate exercise)” ผศ.ดร.อดิษฐ์ เน้นข้อควรระวังและเสนอให้ผู้สูงวัยทีมีปัญหาสุขภาพส่วนตัว เช่นในมีภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะความผิดปกติของหัวใจควรจะปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้เกี่ยวกับการออกกำลังที่เหมาะสม อีกทั้งยังสามารถหาตัวช่วยในการออกกำลังกายติดตัวไว้ เช่น เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ โดยในปัจจุบันมีจำหน่ายในรูปแบบนาฬิกาข้อมือ Smart Watch และอีกอุปกรณ์คือเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อให้การออกกำลังในผู้สูงวัยมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
“หากออกกำลังแล้ว ขณะออกกำลังกายมีอาการไม่พึงประสงค์เช่น อาการเจ็บตามผนังทรวงอก ชาบริเวณแขน ลิ้น ใบหน้า ต้องหยุดทันทีเพื่อสังเกตอาการสักระยะ ถ้าหยุดออกกำลังกายแล้วหายจากอาการเหล่านั้นหายไปทันที อาจกลับมาเริ่มออกำลังกายอีกครั้งได้ แต่ต้องออกกำลังกายให้เบากว่าเดิม และถ้ารู้สึกหัวใจเต้นผิดปกติ ต้องหยุดทันที” ผศ.ดร.อดิษฐ์ แนะ
สวนสาธารณะ ฟิตเนส ชมรมออกกำลังกายต่างๆ อาจจำต้องปิดชั่วคราว แต่อย่าลืมว่า “บ้าน” เป็นพื้นที่ออกกำลังกายที่ดี และมีความปลอดภัยที่สุดในสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ผู้สูงวัยที่มีเครื่องออกกำลังกายอยู่ในบ้าน ก็อย่าทิ้งให้เครื่องออกกำลังกายเหล่านั้นเหงา ขึ้นไปเดิน-วิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า ขยับร่างกายบนเครื่องปั่นจักรยาน เป็นต้น แต่หากบ้านไหนไม่มีอุปกรณ์เหล่านั้น ก็สามารถออกกำลังโดยใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายในบ้านนั้นมีอยู่ หรือประยุกต์การออกกำลังโดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในบ้าน เช่น กระป๋องน้ำ ขวดเปล่าใส่น้ำ มาเป็นอุปกรณ์เพิ่มความหนักขณะทำการเคลื่อนไหว
นอกเหนือจากนั้น การเดินขึ้นลงบันได้ก็เสามารถประยุกต์มาเป็นการออกกำลังได้ด้วยเช่นกัน โยอาจเพิ่มจำนวนรอบการขึ้นลง หรือเพิ่มความเร็ว อีกทั้งยังสามารถเพิ่มความสนุกได้ด้วยการเปิดเพลงประกอบการเดิน หรือการขึ้นลงบันไดได้ด้วยเช่นกัน” ผศ.ดร.อดิษฐ์ แนะ
การทำงานบ้านก็เป็นการออกกำลังกายที่ดี ได้ทั้งสุขภาพและบ้านที่สะอาดเรียบร้อย
“ไม่ว่าจะล้างรถ กวาดบ้าน เช็ดพื้น เราสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ประกอบจังหวะกับเพลงสนุกๆ ให้รู้สึกเพลิดเพลินไปด้วย หรือแทรกรูปแบบการออกกำลังกายเข้าไปในการทำงานบ้าน เช่น ย่อขา เดินกรรไกร สลับเดินเร็วหรือกระโดดไปด้วยก็ได้ การทำงานบ้านที่เป็นการออกกำลังกายควรทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 30-45 นาที เราจะได้ความเร็ว ได้ออกแรงกด แรงดัน ใช้กำลังมากกว่าทำงานบ้านปกติ”
“สิ่งสำคัญสำหรับการวิ่งไม่ใช่ระยะทาง แต่คือการเต้นของหัวใจและระยะเวลาของการออกกำลัง” ผศ.ดร.อดิษฐ์ กล่าวเน้น ดังนั้น แม้จะอยู่ที่บ้าน ทำระยะทางไม่ได้ แต่ก็ยังวิ่งทำระยะเวลาให้ร่างกายออกแรงได้อยู่
หากที่บ้านไม่มีลู่วิ่งไฟฟ้า ก็อาจวิ่งรอบโรงรถ วิ่งรอบบ้าน เปิดเพลงไปด้วยเพื่อไม่ให้รู้สึกเบื่อและรักษาความเร็วในการวิ่ง แต่หากไม่สามารถหาพื้นที่ในการวิ่งได้เลย ก็อาจเปลี่ยนมากระโดดเชือกแทน ซึ่งให้ผลดีเช่นกัน (ผู้มีปัญหาโรคข้อเข่าอาจข้ามกิจกรรมนี้ไป)
ไม่ว่าจะวิ่งที่ไหน ควรเริ่มด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อน ตามด้วยการวอร์มอัพด้วยการเดินปกติ จากนั้นทุก 1-2 นาทีค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับความเร็วที่เคยวิ่งเป็นปกติ โดยดูอัตราการเต้นหัวใจให้อยู่ที่ 50-60 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่านั้นแต่ไม่ควรเกิน 80 เปอรเซ็นต์ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ แล้วพยายามคงการออกกำลังที่จุดนี้ไว้
หากรู้สึกเหนื่อยหรือหัวใจเต้นเร็วเกินไป สามารถออกกำลังโดยรักษาระดับนั้นไว้ หรือเบาลงได้ หากร่างกายปกติก็ให้รักษาระดับนั้นไปก่อนจนถึงเวลาที่กำหนด หรือหากวิ่งแล้วรู้สึกกระฉับกระเฉงอยู่ก็อาจจะเพิ่มระยะเวลาได้ เมื่อถึงเวลาคูลดาวน์ ให้ค่อยๆ ลดความเร็วลง แล้วสลับเร็ว-ช้าจนหยุด แล้วมายืดเหยียดกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อที่แข็งแรงช่วยให้ผู้สูงวัยยังคงฟิตและทำกิจกรรมประจำวันที่โปรดปรานได้อย่างที่เคย ซึ่งผู้สูงวัยควรดูแลออกกำลังให้กล้ามเนื้อแข็งแรงอยู่เสมอด้วยการออกกำลังกาย การออกกำลังกล้ามเนื้อไม่ต้องใช้พื้นที่ อุปกรณ์ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นต้องหาซื้อมาใหม่ ดังที่กล่าวไปในเบื้องต้น โดยสามารถประยุกต์ใช้สิ่งของรอบตัวในบ้าน อย่างขวดน้ำพลาสติกขนาด 1-1.25 ลิตร ก้อนหิน ข้าวของที่ไม่เป็นอันตราย มีน้ำหนักพอสมควร และพอยกไหว เราก็เริ่มออกกำลังดูแลกล้ามเนื้อให้แข็งแรงได้
ผศ.ดร.อดิษฐ์ แนะท่าออกกำลังกายง่ายๆ คือ จับอุปกรณ์ยกน้ำหนักที่เหมาะมือ แล้วเหยียดแขนไปข้างหน้าตรงๆ แล้วยกแขนขึ้นลงช้าๆ แล้วกางแขนไปข้างๆ สลับ “ขณะยกอุปกรณ์ ต้องยืดตัวตรง เก็บพุง เก็บก้น ให้แกนกลางร่างกายทำงาน ไม่อย่างนั้นจะปวดหลังปวดคอได้ ถ้าอยากเพิ่มความยาก ก็สามารถยกแขนไปข้างหน้าพร้อมย่อเข่า ก็จะได้ออกกำลังขาด้วย หรือหากต้องการท่าที่ซับซ้อนก็สามารถเปิดดูคลิปวีดิโอออกกำลังกายจากยูทูปแล้วทำตามก็ได้” ผศ.ดร.อดิษฐ์ แนะนำ
สำหรับผู้สูงวัยที่มีปัญหาทางสุขภาพ อาทิ โรคข้อเข่า โรคความดันโลหิต โรคปอด โรคเกี่ยวกับหัวใจ เบาหวาน ฯลฯ การออกกำลังกายก็ยังจำเป็น แต่ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือนักกายภาพบำบัดก่อนเพื่อหาโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมเนื่องจากการออกกำลังกายอาจส่งผลต่อโรคและอาการที่เป็นอยู่ได้
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับหัวใจ และความดันโลหิต ไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินไป เพราะหากออกกำลังเกินขีดจำกัดจะทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้นได้ “ผู้ที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ควรรออกกำลังกายโดยเริ่มจากน้อยๆ แล้วค่อยๆ ขยับความหนักขึ้นไปเล็กน้อยเพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายรับไหว แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยหนัก เช่น เส้นเลือดในหัวใจอุดตัน 50-70 เปอร์เซ็นต์ ไม่แนะนำให้ออกกำลังกาย หรือทางดีที่สุดคือการปรึกษาแพทย์ประจำตัวผู้ที่ทราบข้อมูลเรื่องโรคประจำตัวของเรา” ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อมควรเลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่า เช่น การวิ่ง เดิน เพราะจะทำให้เกิดการกระแทกซ้ำๆ เป็นเวลานาน
“สำหรับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกๆ หากมีความจำเป็นต้องออกกำลังด้วยวิธีการยืน เดิน หรือวิ่ง ต้องเริ่มจากเบาๆ ก่อน เลือกรองเท้าให้รับแรงกระแทกได้ดี และต้องใส่อุปกรณ์พยุงเข่า เพื่อประคองข้อเข่าไม่ให้เกิดแรงกระแทก กิจกรรมที่ต้องหลีกเลี่ยงคือการนั่งยอง และคุกเข่า เนื่องจากในท่าทางดังกล่าว จะทำให้เกิดการเบียดชนของผิวข้อมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บของข้อเข่าได้”
รูปแบบการออกกำลังกายอื่นๆ ที่เหมาะสมกับผู้เป็นโรคข้อเข่า เช่น ขี่จักรยานแต่ต้องปรับที่นั่งให้สูงในระดับที่ไม่ทำให้ข้อเข่างอมากในขณะที่ปั่นจักรยาน ออกกำลังแบบแอโรบิกร่วมไปกับการออกกำลังโดยเน้นที่หน้าขาเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของข้อเข่า กล้ามเนื้อที่พยุงเข่า กล้ามเนื้อสะโพกด้านข้าง และกล้ามเนื้อก้นด้านหลัง และหากจะหาเครื่องออกกำลังกายมาเป็นตัวช่วย อุปกรณ์ที่เหมาะคือเครื่องวิ่งวงรี เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกระแทกของเข่าได้ดี
สุดท้าย ผศ.ดร.อดิษฐ์ ให้คำแนะนำถึงการใส่หน้ากากอนามัยในชีวิตประจำวันและในช่วงออกกำลังกายว่า “หน้ากากอนามัยจะปิดกั้นการไหลเวียนของอากาศ ทำให้ผู้ที่สวมใส่หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่ดี หากเป็นการออกกำลังกายด้วยการเดินเฉยๆ ยังคงพอไหว แต่การสวมหน้ากากอนามัยเพื่อวิ่งออกกำลังกายไปด้วย ร่างกายรับไม่ไหวแน่นอน เพราะการวิ่งจะทำให้ร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากกว่าเดิม และอากาศไหลเวียนเข้ามาลำบาก อาจหน้ามืดเป็นลมได้ ซึ่งไม่คุ้มเลยที่จะเสี่ยงออกไปออกกำลังกายนอกบ้าน การออกกำลังกายอยู่กับบ้านจะได้ผลดีต่อสุขภาพและปลอดภัยที่สุด”
ผู้สูงวัยสามารถติดต่อและขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสุขภาพได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัด หน่วยปฏิบัติการบริการวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 02-218-1100 หากคนไข้มีปัญหาสุขภาพประจำตัว ขอให้เตรียมข้อมูลทั้งหมดมาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบด้วย
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้