รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
20 สิงหาคม 2564
จะดีสักแค่ไหนหากเราสามารถใช้เวลาว่างสร้างรายได้ และยังช่วยนักวิจัยพัฒนา AI ให้มีประสิทธิภาพไปด้วยในเวลาเดียวกัน นี่เป็นแนวคิดของสองหนุ่มนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ ผู้พัฒนา ‘Wang’ (ว่าง) แพลตฟอร์มที่แมทชิ่งเวลาว่างกับโอกาสทางธุรกิจและสร้างประโยชน์ให้สังคม รางวัลนวัตกรรมดีเด่นมากมายการันตีความเป็นสุดยอดสตาร์ทอัพ
นับวัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Smart Assistant อย่าง Google Assistant, Amazon Alexa, Siri, ระบบ Customer Service เช่น Chat Bot และคอลเซนเตอร์อัจฉริยะขององค์กรต่างๆ รวมไปถึงระบบเครื่องไม้เครื่องมือด้านการแพทย์ ฯลฯ ซึ่งการพัฒนา AI และ Machine Learning จำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล (data collecting) เป็นจำนวนมากและหลากหลาย มีต้นทุนสูงทั้งค่าใช้จ่าย กำลังคน และเวลา
ข้อจำกัดดังกล่าวกลายเป็นโอกาสให้สองนิสิตหนุ่มจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างสรรค์ธุรกิจเชื่อมการพัฒนา AI ที่ต้องอาศัย “ข้อมูล” เข้ากับ “คนที่มีเวลาว่าง” เกิดเป็นแพลตฟอร์ม “Wang” (ว่าง) ที่ให้ “คนว่าง” มาร่วมงานติดแท็กข้อมูลและเก็บข้อมูล ซึ่งถือเป็นงานที่ใช้เวลานานที่สุดในการสร้าง AI เลยทีเดียว
กฤตย์ กังวาลพงศ์พันธุ์ นิสิตปริญญาโท จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ K.G. & Patrick Co., Ltd. เจ้าของแพลตฟอร์ม ‘Wang’ เล่าถึงจุดเริ่มต้นแนวคิดธุรกิจว่า “ช่วงที่เรียนระดับปริญญาโท ผมทำงานวิจัยเกี่ยวกับ AI และ Machine Learning ก็ได้เห็นว่า จุดอ่อน หรือ pain point ในตลาดด้าน Machine Learning และ AI คือ ข้อมูลไม่เพียงพอ ทั้งในแง่ปริมาณ คุณภาพ และความหลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล ซึ่งสิ่งนี้สวนทางกับตลาดด้าน Machine Learning ที่เติบโตสูงขึ้นและจะยิ่งมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวัน ผมจึงอยากพัฒนาตรงนี้เพื่อแก้ปัญหาในมุมของผู้ต้องการใช้ข้อมูล”
“การสร้าง AI ขึ้นมาสักตัว ให้ลองนึกถึงการสอนเด็กตั้งแต่ยังเป็นทารก เราจะต้องค่อยๆ สอนให้เขารู้จักว่าสิ่งนี้คืออะไร ถ้าเราต้องการให้เขาทำอะไร ต้องคอยป้อนข้อมูลให้เขา ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำ Machine Learning ก็คือ ‘ข้อมูล’ AI ใดๆ จะไม่สามารถทำงานได้ หากขาดข้อมูลที่เพียงพอ ข้อมูลยิ่งมากยิ่งทำงานได้ดีขึ้นเท่านั้น” กฤตย์ เน้นความสำคัญของการเก็บข้อมูลเพื่อเป็นฐานพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning
Wang: Data Market คือแพลตฟอร์มสำหรับเก็บข้อมูลและติดแท็กข้อมูล (data labeling) เพื่อนำไปใช้พัฒนางานวิจัยด้าน AI ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับภาครัฐ บริษัทเอกชน และองค์กรต่างๆ ที่ต้องการข้อมูลไปตอบโจทย์งาน ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยด้านการศึกษา งานวิจัยงานวิจัยทางการตลาด สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค สำรวจตลาดเพื่อออกแบบบริการและผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคและธุรกิจ หรืองานวิจัยเก็บความคิดเห็นสาธารณะเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ เป็นต้น
“Wang จะเป็นตัวกลางระหว่างผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลหรือที่เรียกว่า Requester กับคนที่มีเวลาว่างซึ่งออนไลน์อยู่ในแพลตฟอร์มจากทั่วประเทศ หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘คนว่าง’ โดยทำการกระจาย task หรืองานติดแท็กข้อมูลเหล่านี้ให้กับคนว่าง ทำให้การเก็บข้อมูลทำได้อย่างได้รวดเร็ว ควบคุมได้ ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และมีความหลากหลายมากกว่าวิธีเก็บข้อมูลโดยทั่วไป และคนว่างก็ได้ใช้เวลาว่างในการหารายได้เสริมได้อีกด้วย” กฤตย์ กล่าวถึงแนวคิดหลักในการดำเนินงานธุรกิจ
กฤติน เดชหอมชื่น นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ร่วมก่อตั้ง K.G. & Patrick Co., Ltd. และรับผิดชอบดูแลหาคนว่างมาทำงาน รวมถึงงานด้านการตลาดต่างๆ กล่าวเสริมว่า “รอบๆ ตัวเรา มีคนที่ว่างงาน หรือมีเวลาว่างหลังเลิกงาน หรือเลิกเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก พวกเขาสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ หารายได้เสริม พร้อมทั้งได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีของโลกใบนี้ได้ด้วย”
นอกจากนี้ Wang ยังเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มคนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงงานอีกด้วย
“เมื่อเร็วๆ นี้ เราได้มีโอกาสนำ Wang ไปเข้าร่วมโครงการของ Thailand Institute of Justice หรือสถาบันเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยให้กลุ่มคนชายขอบ เช่น เยาวชนในสถานพินิจ ผู้ต้องหาในเรือนจำ ผู้ที่มีรายได้น้อยในชุมชนแออัด ได้มีรายได้เสริม เป็นการช่วยเหลือสังคมอีกทางหนึ่งด้วย” กฤติน กล่าว
ปัจจุบันมี “คนว่าง” ที่เข้ามาเป็นสมาชิกในระบบของ Wang แล้วกว่า 18,000 คน และได้รับค่าตอบแทนจริงจากการทำงานติดแท็กข้อมูล เช่น งานอัดเสียง งานจำแนกวัตถุจากภาพ เป็นต้น
“ในอนาคต เราอยากจะพัฒนาให้เกิดเป็น community ของ “คนว่าง” โดยพยายามหางานที่มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นและตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนที่เข้ามาเป็นสมาชิกของเรา” กฤติน กล่าวเสริม
Wang ได้รับรางวัลมากมายจากหลายสถาบัน โดยในปีล่าสุดคว้ารางวัลชนะเลิศสาขาย่อย Community Services หรือการช่วยเหลือสังคม จาก TICTA (Thailand ICT Award) มาครอง
“รางวัลต่างๆ ที่เราได้รับมานั้นผ่านการเดินทางมาค่อนข้างยาวนาน ตั้งแต่สมัยที่ผมยังเป็นนิสิตปริญญาตรี มีทั้งรางวัลที่ได้รับในขณะที่ Wang ยังเป็นแค่ Idea stage รางวัลที่ได้ตอนเป็น prototype และรางวัลที่ได้หลังจากเป็น product จริงๆ ในการเข้าร่วมกันแข่งขันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ” กฤตย์ เล่าเส้นทางกว่าจะเกิดเป็นความสำเร็จเชิงธุรกิจในวันนี้
“การเข้าแข่งขันคือการไปหามิตรภาพและเครือข่ายในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกัน หาคำปรึกษา หาลูกค้า หาตลาด เรียกว่าเป็นการไปหาประสบการณ์และเติมเชื้อไฟในการทำงานด้วย ที่ผ่านมา เราได้รับกำลังใจและแรงสนับสนุนจากหลายท่านๆ และหลายองค์กรเลยครับ นับตั้งแต่ทีมอาจารย์ที่ปรึกษา ได้แก่ อ.ดร.เอกพล ช่วงสุวนิช รศ.ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ รศ.ดร.อติวงศ์ สุชาโต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ พี่ๆ จาก CU Innovation Hub พี่ๆ ในแวดวงอุตสาหกรรม รวมถึงลูกค้าของเราด้วยที่คอยให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ จนมี Wang: Data Market ในวันนี้”
กฤตย์ กล่าวเสริมถึงเป้าหมายในอนาคตว่า ทั้งตัวเขา ผู้ร่วมก่อตั้งและบริษัทจะยังคงเดินหน้า พัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองกับความต้องการของตลาดให้ครบถ้วน และขยายตลาดให้กว้างขึ้น ทั้งในส่วนของงานและฐานลูกค้า ทั้งภายในและต่างประเทศ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Wang: Data Market เพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/wang.datamarket
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์ นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้