รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
10 พฤศจิกายน 2564
ผู้เขียน ศุภวรรณ พิพิธสมบัติ
นักวิจัยจุฬาฯ เผยโควิดระบาดกระทบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความเชื่อมั่นในรัฐ ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อปกปิดข้อมูล เป็นอุปสรรคต่อการควบคุมการแพร่ระบาด พร้อมแนะรัฐเร่งให้ความรู้เรื่องสิทธิตามกฎหมายเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในสังคม
ต้นปี 2563 ภายหลังรัฐบาลไทยประกาศใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยกำหนดให้ผู้เดินทางเข้าไทยทุกคนต้องถูกบังคับกักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน ในสถานที่ที่ส่วนกลางจัดให้ ในเวลานั้น มีบางเที่ยวบินกำลังนำคนไทยกลับบ้าน ซึ่งผู้โดยสารบนเครื่องยังไม่รับรู้ข่าวการประกาศดังกล่าว และทันทีที่เครื่องลงจอด ก็เกิดความโกลาหลขึ้นที่ท่าอากาศยาน ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐอ้างประกาศและข้อบังคับในกฎหมาย พร้อมนำผู้โดยสารทั้งหมดตรงไปยังสถานที่กักตัว แน่นอน ผู้โดยสารหลายคนไม่ยินยอมและหนีกลับที่พักตนทันที
ข้อมูลชื่อ-นามสกุลและที่อยู่ของผู้โดยสารในเที่ยวบินดังกล่าวรั่วไหลออกมาในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้โดยสารรวมไปจนถึงสมาชิกในครอบครัว ถูกตีตราจากสังคมว่า “เป็นคนเห็นแก่ตัว” “ไม่รักชาติ” กระทั่งถูกบุกรุกคุกคามถึงที่พักด้วย
เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง ระหว่างฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวมกับบุคคลที่พึงได้รับการปกป้องสิทธิเช่นเดียวกัน? ในภาวะคับขันเช่นนี้ พลเมืองและรัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศต่างเผชิญกับการตัดสินใจที่ชักเย่อกันไปมาระหว่างผลประโยชน์สาธารณะกับการเคารพในข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน
ประเด็นนี้เป็นแรงจูงใจให้ ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยอาวุโส (Senior Research Fellow) แห่ง LIRNEasia ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง Health-Related Information & COVID-19 : A Study of Sri Lanka and Thailand ร่วมกับ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล Ramathi Bandaranayake และ Ashwini Natesan โดยให้ความสนใจกับวิธีการเก็บ การใช้ และการคุ้มครองดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งของประเทศไทยและศรีลังกา โดยเป็นโครงการนำร่องต้นแบบการศึกษาการปกป้องสิทธิและข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ในประเทศกำลังพัฒนา
ศ.ดร.พิรงรอง ชี้ “ทั้งศรีลังกาและไทยยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ทำให้รัฐจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาขน เพื่อประเมินสถานการณ์และควบคุมการแพร่ระบาดให้มากที่สุด จึงทำให้ต้องลดความเข้มข้นในส่วนของการคุ้มครอง”
เดือนมกราคม 2563 ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อรายแรกและได้จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เพื่อควบคุมสถานการณ์ โดยใช้อำนาจ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ควบคู่กับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (บังคับใช้ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563) ซึ่ง ศ.ดร.พิรงรอง ระบุว่าตามหลักการสากลแล้ว รัฐบาลไทยควรบังคับใช้ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) ควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมีความโปร่งใสและเป็นระบบ
น่าเสียดายที่กรณีของไทยไม่เป็นเช่นนั้น การบังคับใช้ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล ถูกเลื่อนไปจนถึง 31 พฤษภาคม 2565 ส่งผลให้การเก็บข้อมูลผู้ป่วยต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540 เป็นหลัก ขณะที่ศรีลังกา รัฐบาลกลับใช้กฎหมายกักกันและป้องกันการแพร่ระบาดโรค เพื่อกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและแยกตัวผู้ป่วยออกจากสังคม ควบคู่กับการใช้มาตรการเคอร์ฟิว (curfew)
“ศรีลังกายังไม่ผ่านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างเป็นทางการ การเก็บข้อมูลสาธารณสุขช่วงการระบาดจึงไม่ระบุหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) รวมทั้งไม่กำหนดหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ด้วย ศรีลังกาใช้เพียงนโยบายข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ กำกับดูแลการเก็บ การใช้ และส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและกลุ่มสัมผัสเสี่ยง และยังใช้แนวปฏิบัติมาตรฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ กำกับดูแลสถาบันสุขภาพของรัฐและเอกชน ครอบคลุมการบริหารจัดการซอฟต์แวร์สุขภาพ เครือข่ายสุขภาพ อีเมล เว็บไซต์ การรักษาความลับ ตลอดจนความปลอดภัยและจริยธรรมทางการแพทย์สาธารณสุข เพื่อรับรองว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะไม่ถูกเปิดเผยโดยปราศจากการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบุคคลนั้น ๆ” ศ.ดร.พิรงรอง กล่าว
ศ.ดร.พิรงรอง กล่าวสรุปเบื้องต้นว่าทั้งไทยและศรีลังกาใช้โมเดลการเก็บข้อมูลคล้ายกัน 2 โมเดล คือ
นักวิจัยยังได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า “ไทยควบคุมการระบาดในช่วงแรกได้ดีมาก ปัจจัยสำคัญมาจากการทำงานของเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นจิตอาสาช่วยพัฒนาด้านสุขภาพประจำชุมชนซึ่งเข้าถึงคนในหมู่บ้านและยังจดจำการเข้าออกของคนในชุมชนได้ด้วย เครือข่ายนี้สื่อสารกันผ่าน “ไลน์กลุ่ม” มีระบบจัดเก็บข้อมูลโดยกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ ทำให้ติดตามกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
การเข้าถึงชุมชนผ่านเครือข่ายสาธารณสุขที่กว้างขวางและเข้าถึงชุมชนขนาดเล็กได้ คือ กุญแจสำคัญซึ่งทำให้ข้อมูลภาคสนามมีความละเอียด ใช้งานได้จริง เช่น การติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและผู้ป่วย กรณีศรีลังกายังร่วมมือกับฝ่ายบังคับใช้กฎหมายและกองทัพอีกด้วย
ทั้งสองประเทศยังต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทางไซเบอร์ เพราะแอปพลิเคชัน Stay Safe ที่ศรีลังกาใช้เก็บข้อมูลการเข้าออกสถานที่สาธารณะยังมีปัญหาในการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลจากบัตรประชาชน ขณะที่ประเทศไทย การคุ้มครองข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ ทั้งยังมีความสับสนในบทบาทระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) กับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งผู้พัฒนาแอปพลิเคชันในการเก็บข้อมูลยอมรับว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่เข้าใจหลักการของ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ได้ดีพอ สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ตระหนักรู้เรื่องสิทธิส่วนบุคคล และข้อมูลส่วนบุคคลในสังคมไทย
ศ.ดร.พิรงรอง กล่าวถึงประเด็นการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลว่า “ศรีลังกาป้องกันการเปิดเผยตัวตนของผู้ป่วยโควิด-19 ผ่านแอปฯ WhatsApp และ Viber ซึ่งเป็นกลุ่มปิด ขณะที่ไทยใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ควบคุมรหัสผ่านระหว่างการรับส่งข้อมูลส่วนบุคคล และไม่ได้กำหนดระยะเวลาการเก็บข้อมูลผู้ป่วย (ตามหลักสากลจะทำลายข้อมูลภายใน 60 วัน) ในขณะที่ แอปฯ ไทยชนะ และ Stay Safe ระบุระยะเวลาเก็บข้อมูลไว้ 60 วัน ชัดเจนตามนโยบายความเป็นส่วนตัว”
จากการศึกษาดังกล่าว ศ.ดร.พิรงรอง เสนอข้อแนะนำว่า “รัฐควรสร้างกรอบนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และควรแจ้งให้ชัดถึงประเภทข้อมูลที่จัดเก็บ วิธีการรวบรวม วิธีการจัดเก็บ ระยะเวลาที่เก็บ ใครเข้าถึงข้อมูลได้บ้าง วิธีการเข้าถึงข้อมูล วัตถุประสงค์ในการใช้ การรับผิดหากละเมิด ลำดับการเข้าถึงข้อมูล ระยะเวลาการใช้และทำลาย ทั้งหมดเพื่อความโปร่งใสและวางใจได้ระหว่างผู้ใช้ข้อมูล เจ้าของข้อมูล และสังคม ซึ่งหากทำได้ก็จะช่วยลดปัญหาความไม่เต็มใจเปิดเผยข้อมูล หรือปกปิดเพียงเพราะไม่มั่นใจในระบบ จนอาจนำไปสู่การตีตราทางสังคมเมื่อข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 รั่วไหล”
“นอกจากนี้ รัฐควรเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งในระดับประชาชน เอกชนและหน่วยงานรัฐ เพื่อให้เกิดการตระหนักในบทบาทและสิทธิที่ตนพึงมีต่อตนเองและสังคม” ศ.ดร.พิรงรอง กล่าวทิ้งท้าย
อ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ Health-Related Information & COVID-19 : A Study of Sri Lanka and Thailand
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่บ่งชี้ให้เห็นและเข้าใจถึงเรื่องราวลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน รูปถ่าย ประวัติการทำงาน และอายุ เป็นต้นเนื่องจากปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นยุคที่ธุรกิจต่างต้องการข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาสินค้าและการบริการขององค์กร เช่น ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ พฤติกรรมการจับจ่าย เป็นต้น ดังนั้น พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA – Personal Data Protection Act จึงถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากองค์กรที่ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและพนักงาน โดยองค์กรจึงจำดูแลป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นพ.ร.บ.นี้ เน้นบังคับใช้กับองค์กร หน่วยงาน หรือนิติบุคคลให้มี “มาตรฐาน” ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม เมื่อมีความจำเป็นต้องขอใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบไปถึงการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูลส่วนบุคคลที่ก่อให้เกิดแนวโน้มให้เกิดผลกระทบเชิงลบหรือความเสียหายในระดับบุคคลหรือองค์กรบุคคลทั่วไปในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ควรจะตระหนักและเข้าใจสิทธิของตนเอง โดยสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีด้วยกันทั้งหมด 7 ประการ1. สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed)2. สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access)3. สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)4. สิทธิคัดค้านการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)⠀⠀5. สิทธิขอให้ลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวตนได้ (Right to erasure; also known as right to be for-gotten)6. สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)7. สิทธิการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification)อ้างอิงจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.): https://bit.ly/3D14Owkhttps://www.mfec.co.th/th/tech-talk/coe/pdpa-ep1/
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้