รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
16 พฤศจิกายน 2564
ผู้เขียน ศุภวรรณ พิพิธสมบัติ
เครื่องสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกเฉพาะบุคคล นำส่งจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้ตรงความต้องการของร่างกาย แพทย์จุฬาฯ คิดค้นเพื่อรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการที่หาสาเหตุของโรคไม่เจอและผู้มีภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ (dysbiosis)
จากงานวิจัย การวิเคราะห์จุลชีพเชิงเปรียบเทียบสำหรับการพัฒนาจุลินทรีย์โพรไบโอติก ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค้นพบสายพันธุ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ช่วยลดไขมันในเลือด ไขมันพอกตับ และไขมันในชั้นผิวหนังได้ จึงเกิดแนวคิดต่อยอดงานวิจัย ประดิษฐ์เครื่องสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกเฉพาะบุคคล เพื่อนำส่งจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีให้ตรงตามที่ร่างกายของแต่ละบุคคลต้องการ
“เครื่องนี้สามารถสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกแก่ผู้ที่มีภาวะสมดุลของจุลชีพไม่ดี ผู้ที่ขาดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์บางชนิด รวมถึงผู้ที่มีอาการป่วยโดยหาสาเหตุของโรคไม่พบ เพื่อเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในร่างกาย” รศ.ดร.นพ.กฤษณ์ กล่าวถึงกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมชิ้นนี้
ในร่างกายของคนเรามีจุลินทรีย์นับร้อยชนิดอาศัยอยู่ ซึ่งมนุษย์จำต้องพึ่งพิงจุลินทรีย์เจ้าถิ่นในลำไส้เหล่านี้เพื่อช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย
“จุลินทรีย์ที่ดี ในปริมาณที่เหมาะสมในร่างกายจะช่วยให้ระบบเมตาบอลิซึม การเผาผลาญไขมันและน้ำตาลทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกัน-ลดการเกิดภูมิแพ้ ต่อต้านเชื้อก่อโรค รวมถึงป้องกัน-รักษาโรคมะเร็งบางชนิดได้” รศ.ดร.นพ.กฤษณ์ กล่าว อีกทั้งเสริมว่าปัจจุบันกำลังศึกษาวิจัยเปรียบเทียบจุลินทรีย์ของผู้ป่วยมะเร็งต่างๆ อาทิ มะเร็งปากมดลูก1-2 มะเร็งลำไส้3-4 มะเร็งเต้านม5-6 และมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น
ในกรณีที่ร่างกายขาดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์บางชนิด ร่างกายก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ (Dysbiosis) โดยอาการที่พบได้บ่อย เช่น ท้องอืดบ่อย ท้องเสีย ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น มีกลิ่นปาก มีอาการภูมิแพ้เรื้อรัง ผิวหยาบ ผิวมันเกิน นอนไม่หลับ เครียดง่าย และแก่กว่าวัย เป็นต้น
“คนไข้บางรายมาพบแพทย์ด้วยอาการป่วยหยุมหยิมถึง 5 อาการ คือ นอนไม่หลับ มีผื่นขึ้น มีอาการจาม อ้วน และอารมณ์แปรปรวนง่าย อาการเหล่านี้เป็นปัญหาสุขภาพที่ยังไม่ได้คำตอบถึงสาเหตุ จากการตรวจทั่วๆไป (Unexplained health problem) แพทย์ก็จะรักษาตามอาการป่วยซึ่งเป็นที่ปลายเหตุ ซึ่งหลายราย พบว่ามีภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ และเมื่อรักษาด้วยด้วยวิธีปรับสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายแล้ว พบว่าอาการป่วยของคนไข้ดีขึ้นตามลำดับ” รศ.ดร.นพ.กฤษณ์ กล่าว
ร่างกายของแต่ละคนต้องการจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่างชนิดกัน และในแต่ละวัน จุลินทรีย์ในร่างกายก็ไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงตลอดทั้งปริมาณและชนิด การบริโภคผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดอาจไม่ได้ส่งผลดีเสมอไป รศ.ดร.นพ. กฤษณ์ แนะให้ตรวจสอบว่าร่างกายของเราขาดจุลินทรีย์ชนิดใด แล้วจึงเลือกเติมจุลินทรีย์ที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
“ปัจจุบัน ตามโรงพยาบาลมีห้องแลปสำหรับตรวจวัดสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย มักนิยมใช้เทคโนโลยีการตรวจหาเชื้อที่มีชื่อเรียกว่า “16s rRNA Sequencing” สำหรับการจำแนกจุลินทรีย์แต่ละชนิด แต่ราคาค่าตรวจค่อนข้างสูงและใช้เวลาวิเคราะห์ผล 2-3 สัปดาห์ ทำให้กว่าจะนำผลตรวจมารักษาอาการ จุลินทรีย์ในร่างกายก็เปลี่ยนแปลงไปแล้ว”
จากปัญหาดังกล่าว รศ.ดร.นพ.กฤษณ์ จึงพัฒนา “Test kit ชุดตรวจชนิดจุลินทรีย์โพรไบโอติกแบบพกพา” (ราคา 2,500 บาทต่อชุด) ซึ่งคนทั่วไปสามารถตรวจได้เองที่บ้าน
“ปัจจุบันชุดตรวจ 1 ชุด มี Test kit 5 อัน วิธีตรวจเป็นการนำอุจจาระมาละลายในสารละลายบัฟเฟอร์แล้วหยอดลงใน Test kit ทั้ง 5 อัน ต่อมา หยอดน้ำยาตรวจเชื้อจุลินทรีย์ 5 ชนิดลงใน Test kit อันละชนิด รอประมาณ 15 นาที ก็สามารถอ่านและบันทึกผล แล้วส่งต่อให้แพทย์ที่ทำการวินิจฉัยเพื่อสั่งชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ที่เหมาะสมแก่ร่างกายแบบเฉพาะบุคคลได้” รศ.ดร.นพ.กฤษณ์ อธิบายการใช้ชุดตรวจ
เมื่อตรวจพบว่า ร่างกายของเราพร่องจุลินทรีย์ตัวใด การเลือกเติมจุลินทรีย์ก็ต้องการความจำเพาะ จึงเป็นที่มาของเครื่องสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกเฉพาะบุคคลที่ช่วยรักษาคุณภาพของจุลินทรีย์ให้สดใหม่และยังมีชีวิตเกือบ 100%
รศ.ดร.นพ.กฤษณ์ อธิบายขั้นตอนการใช้นวัตกรรมดังกล่าวว่า “เมื่อคนไข้ได้ผลการตรวจชนิดของจุลินทรีย์ในร่างกายแล้ว แพทย์จะนำผลวินิจฉัยเพื่อวางแนวทางรักษาต่อไป” ซึ่งมีกระบวนการทำงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้
“เครื่องจะสั่งจ่ายในรูปแบบของเหลว คนไข้สามารถดื่มได้ทันทีเพื่อคงความสดใหม่และมีชีวิตของจุลินทรีย์ ทั้ง 23 ชนิดที่ตรงตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)” รศ.ดร.นพ. กฤษณ์ กล่าวรับรอง
“การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมจุลินทรีย์ในท้องตลาดอาจจะรักษาคุณภาพของจุลินทรีย์ได้เพียง 50% เท่านั้น ทำให้มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูปรับสมดุลร่างกายได้ผลต่างกันอย่างชัดเจน”
นอกจากนี้ เครื่องสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกเฉพาะบุคคลยังสามารถสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกได้ทั้งแบบสายพันธุ์เดียว และแบบผสมสายพันธุ์ อีกทั้ง สามารถสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกได้ตามประเภท ชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์โพรไบโอติกตามสัดส่วนที่ต้องการ
ปัจจุบันเครื่องสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกเฉพาะบุคคลได้จดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว ตัวเครื่องต้นแบบอยู่ระหว่างการผลิต ซึ่งการใช้งานเครื่องสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกเฉพาะบุคคลจะต้องอยู่ใต้การควบคุมของแพทย์ที่ผ่านการอบรมเท่านั้นเพื่อความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดของคนไข้
“สำหรับผู้ที่สนใจปรับสมดุลทางชีวภาพด้วยจุลินทรีย์สามารถมาขอคำปรึกษาแพทย์ได้ที่อาคารภปร. ชั้น 16 เวชศาสตร์ป้องกัน เปิดทุกวันพุธเช้า ซึ่งการปรับสมดุลควรทำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ครั้ง (1 คอร์ส) โดยช่วงแรกๆ แพทย์จะนัดมาตรวจร่างกายและให้ดื่มจุลินทรีย์ทุกๆ 2 สัปดาห์ เมื่อร่างกายปรับสมดุลได้แล้ว คนไข้สามารถเว้นช่วงการพบแพทย์ให้ห่างออกไปได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000 บาท/คอร์ส”
รศ.ดร.นพ.กฤษณ์ คาดว่าในปีหน้า (2565) Test kit ชุดตรวจชนิดจุลินทรีย์แบบพกพาและเครื่องสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกเฉพาะบุคคลจะผลิตเสร็จและวางจำหน่าย พร้อมใช้งานในโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพต่างๆ
นอกจากนี้ รศ.ดร.นพ.กฤษณ์ กล่าวถึงการร่วมลงทุนกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และภาคเอกชนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ช่วยย่อยไขมันในรูปแบบพร้อมดื่มอีกด้วย
รศ.ดร.นพ. กฤษณ์ กล่าวว่า 96% ของการมีสุขภาพดี เกิดจากการดูแลป้องกันร่างกายให้ไม่เกิดโรค ซึ่งการเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นมิตรต่อร่างกายก็เป็นหนึ่งในการดูแลร่างกายให้มีความสมดุลทางชีวภาพ การกินโยเกิร์ต กิมจิ และของหมักดองในชีวิตประจำวันก็ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในร่างกายได้ในเบื้องต้น
“การเลือกกินโยเกิร์ตให้เหมาะกับร่างกายสามารทำได้โดยการสังเกต เพราะโยเกิร์ตแต่ละยี่ห้อจะมีชนิดจุลินทรีย์ที่ต่างกัน ดังนั้น หากต้องการเสริมจุลินทรีย์ให้เหมาะกับร่างกาย ควรลองกินโยเกิร์ตยี่ห้อเดิมจนครบ 7 วันแล้วค่อยเปลี่ยนยี่ห้อ และให้สังเกตร่างกายว่ามีอาการท้องอืด ท้องเสียหายหรือไม่ และควรจดบันทึกอาการทุกๆ วัน เพื่อวิเคราะห์การตอบสนองของร่างกาย ก็จะทำให้เราพบชนิดของจุลินทรีย์ที่ร่างกายต้องการในช่วงเวลานั้นๆ” รศ.ดร.นพ. กฤษณ์ กล่าวแนะนำทิ้งท้าย
ผู้สนใจปรับสมดุลทางชีวภาพด้วยจุลินทรีย์สามารถมาขอคำปรึกษาแพทย์ได้ที่อาคารภปร. ชั้น 16 เวชศาสตร์ป้องกัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดทุกวันพุธเช้า เบอร์โทรศัพท์ 0-2256-5425
หรือสนใจสนับสนุนการวิจัย ติดต่อ รศ.ดร.นพ.กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีเมล doctorkrit@gmail.com
1. Jahanshahi, M.; Maleki Dana, P.; Badehnoosh, B.; Asemi, Z.; Hallajzadeh, J.; Mansournia, M. A.; Yousefi, B.; Moazzami, B.; Chaichian, S., Anti-tumor activities of probiotics in cervical cancer. J Ovarian Res 2020, 13 (1), 68.
2. Qiu, G.; Yu, Y.; Wang, Y.; Wang, X., The significance of probiotics in preventing radiotherapy-induced diarrhea in patients with cervical cancer: A systematic review and meta-analysis. Int J Surg 2019, 65, 61-69.
3. Brady, L. J.; Gallaher, D. D.; Busta, F. F., The role of probiotic cultures in the prevention of colon cancer. J Nutr 2000, 130 (2S Suppl), 410S-414S.
4. Wollowski, I.; Rechkemmer, G.; Pool-Zobel, B. L., Protective role of probiotics and prebiotics in colon cancer. Am J Clin Nutr 2001, 73 (2 Suppl), 451S-455S.
5. de Moreno de LeBlanc, A.; Matar, C.; Perdigon, G., The application of probiotics in cancer. Br J Nutr 2007, 98 Suppl 1, S105-10.
6. Mendoza, L., Potential effect of probiotics in the treatment of breast cancer. Oncol Rev 2019, 13 (2), 422.
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
อาหารเป็นยา นวัตกรรมเพื่อสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน
จุฬาฯ ชู “หมัดสั่ง” ภาพยนตร์สารคดีฟื้นจิตวิญญาณมวยไทยบนสังเวียนโลก
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้