รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
29 พฤศจิกายน 2564
ผู้เขียน ปริณดา แจ้งสุข
นักวิจัยจุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรมน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ทดแทนสเปรย์แอลกอฮอล์ ฆ่าเชื้อโควิดรวดเร็ว ถนอมผิว รับรองคุณภาพด้วยสิทธิบัตรระดับชาติ พร้อมได้รับคัดเลือกเป็นนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ของที่ระลึกในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564
การฉีดสเปรย์หรือทาเจลแอลกอฮอล์สม่ำเสมออาจช่วยลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แต่ก็ต้องแลกกับมือแห้ง ยิ่งใช้สเปรย์แอลกอฮอล์บ่อย มือยิ่งแห้งและคัน นี่เป็นโจทย์สำคัญที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับมาเพื่อพัฒนานวัตกรรม “น้ำยาฆ่าเชื้อจุลชีพก่อโรค Medical Antiseptic and Moisturizing Spray” ที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 และแบคทีเรียได้ภายใน 1 นาที
“เราคิดค้นผลิตภัณฑ์นี้เพื่อใช้ทดแทนสเปรย์แอลกอฮอล์ โดยไม่มีผลข้างเคียง ไม่ระคายเคืองผิว และไม่ก่อให้เกิดไฟ ที่สำคัญ ต้นทุนน้ำยาถูกกว่าแอลกอฮอล์ด้วย” ผศ.ดร.โรจน์ฤทธิ์ กล่าว
ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ นวัตกรรมน้ำยาฆ่าเชื้อจุลชีพก่อโรค Medical Antiseptic and Moisturizing Spray จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นของที่ระลึกในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ2564 (Thailand Research Expo 2021) ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2564ที่ผ่านมา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ หัวหน้าหน่วยวิจัย Nanomedicine Research Unit และผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ส่งต่อแนวคิดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทดแทนแอลกอฮอล์ให้ ผศ.ดร.โรจน์ฤทธิ์ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ กล่าวเสริมถึงที่มาของการวิจัยนี้ว่า “ในช่วงที่ผ่านมา บุคลากรทางการแพทย์และบุคคลทั่วไปต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทุกวัน แต่เมื่อใช้แอลกอฮอล์ปริมาณมากๆ และบ่อยๆ ก็ทำให้ผิวแห้ง เกิดการระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อน เป็นแผล โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องใช้แอลกอฮอล์เป็นประจำ จะพบปัญหาเยอะ เราจึงคิดว่าต้องมีน้ำยาฆ่าเชื้อสูตรที่ไม่ใช้แอลกอฮอล์”
ผลิตภัณฑ์น้ำยาฆ่าเชื้อโรคนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่เสียทีเดียว ผศ.ดร.โรจน์ฤทธิ์ กล่าว แต่เกิดจากการเลือกของที่มีอยู่แล้วมาบวกกันให้เกิดเป็นคุณสมบัติใหม่ ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและราคาย่อมเยา
“เราใช้สารที่มีผนังเยื่อหุ้มเซลล์เป็นประจุบวกเพื่อให้เข้าไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อโควิด ซึ่งเป็นประจุลบให้แตกและตาย และยังได้เพิ่มสารประกอบบางอย่างลงไปในน้ำยาเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ของไวรัส ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการฆ่าเชื้อดีขึ้น” ผศ.ดร.โรจน์ฤทธิ์ อธิบาย และเสริมว่าสารประกอบต่างๆ ในผลิตภัณฑ์เป็นสารเคมีที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วว่าเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลชีพต่างๆ ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้
คุณสมบัติเด่นอีกประการของผลิตภัณฑ์ นอกจากจะฆ่าเชื้อจุลชีพก่อโรคแล้ว ยังถนอมผิวผู้ใช้ด้วย
“แอลกอฮอล์ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคมีความเข้มข้นสูง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวผู้ใช้และอาจก่อให้เกิดการติดไฟได้ เราจึงคิดค้นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสูตรน้ำแทน ซึ่งนอกจากจะไม่ระคายผิวแล้ว ยังไม่ระเหยง่ายเหมือนแอลกอฮอล์ด้วย เพราะฉะนั้น น้ำยาจึงสามารถติดอยู่บนผิวได้นาน นำไปพ่นกับหน้ากากอนามัยหรือเสื้อผ้าก็จะสามารถติดอยู่ได้ ทำให้มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้ในระยะเวลาที่ยาวนานกว่าแอลกอฮอล์”
ผศ.ดร.โรจน์ฤทธิ์ ชี้จุดเด่นในการใช้นวัตกรรมชิ้นนี้ว่า “ผลิตภัณฑ์น้ำยาฆ่าเชื้อมาในรูปแบสเปรย์ ใช้พ่นผิวกายและบริเวณอื่นๆ ที่ต้องการ ให้ความชุ่มชื้น และทำความสะอาดโดยไม่ต้องล้างน้ำออก สามารถพ่นซ้ำๆ ได้ทุก 4 ชั่วโมง แต่ให้หลีกเลี่ยงการพ่นบริเวณดวงตา เยื่อบุผิวช่องปากและจมูก และเก็บไว้ใช้ได้นานถึง 2 ปี”
ปัจจุบัน คณะผู้วิจัยได้จดแจ้งทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิบัตรระดับชาติเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างการดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด เพื่อนำไปจัดจำหน่าย อย่างไรก็ดี คณะผู้วิจัยก็เปิดกว้างให้ผู้ประกอบการอื่นๆ ที่สนใจนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ผลิตในเชิงพาณิชย์ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cmic.chula
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้