รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
30 พฤศจิกายน 2564
จากความสำเร็จของ “Plastic Sea”: Art Exhibition on Plastic Marine Pollution” ผลงานศิลปะจัดวางที่สะท้อนปัญหาขยะพลาสติกในท้องทะเลของอาจารย์ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ Art4c Gallery จุฬาฯ เล็งก้าวต่อไปในปีหน้าเน้นศิลปะสร้างการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมและความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม
“เราพยายามสร้างงานศิลปะเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงการลดขยะและในขณะเดียวกัน สิ่งที่เราสร้างก็ต้องไม่กลายเป็นขยะอีกชิ้น” ดร.ให้แสง ชวนะลิขิกร อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง“Plastic Sea”: Art Exhibition on Plastic Marine Pollution” ผลงานศิลปะสะท้อนปัญหาขยะพลาสติกในท้องทะเลที่เพิ่งคว้ารางวัลOver-All Best Presenters จากงานประชุมวิชาการนานาชาติ “International Conference on Arts and Humanities” ครั้งที่ 8 ประจำปี 2564 ร่วมจัดโดย Faculty of Fine Arts, Concordia University แคนาดา, Faculty of Music Universiti Teknologi MARA มาเลเซีย และ International Association for Social Science and Humanities ศรีลังกา จัดในรูปแบบออนไลน์ มีผู้ร่วมงานมากกว่า 100 คน จาก 25 ประเทศ
Plastic Sea เป็นผลงานชิ้นหนึ่งในโครงการ FAAMAI Digital Arts Hub ภายใต้การสนับสนุนของโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ซึ่ง ดร. ให้แสง ร่วมสร้างสรรค์กับวิทยา จันมา ศิลปินแนวหน้าด้านศิลปะสื่อใหม่ ผู้เชี่ยวชาญการจัดวางปฏิสัมพันธ์ Interactive installation และ Data visualisation
“เราค้นคว้างานวิจัยและข้อมูลมากมายจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแล้วพบข้อมูลที่น่าตกใจว่าขยะพลาสติกถูกทิ้งลงมหาสมุทรทั่วโลกเป็นปริมาณปีละกว่า 10 ล้านตัน และประเทศไทยติดอันดับ 7 ของประเทศที่ปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลกคือมากกว่า 1 ล้านตันต่อปี เราจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาสร้างผลงานกับศิลปิน โดยมีโจทย์ว่าจะต้องให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์กับผลงานได้” ดร.ให้แสง เล่าจุดเริ่มต้นของไอเดียสร้างสรรค์ผลงาน
“Plastic Sea”: Art Exhibition on Plastic Marine Pollution” จัดแสดงที่ CU Art4C แกลลอรี (Chulalongkorn University’s Art for Community) เมื่อ 3-11 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นการนำเสนอผลงานศิลปะในรูปแบบ Interactive Installation ที่มุ่งหวังให้ผู้เข้าชมตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยข้อมูลปริมาณขยะในท้องทะเลที่ปรากฏขึ้นทันทีเมื่อผู้เข้าชมเล่นสนุกร่วมกับชิ้นงาน
“เรามีแคปซูลต่างๆ ที่มีขยะพลาสติกที่คุ้นตาในชีวิตประจำ เมื่อผู้เข้าชมงานเลือกแคปซูลแล้วทิ้งลงไปในถังน้ำวนที่เตรียมไว้ ก็จะมีตัวเลขสองชุดปรากฎขึ้นทันที เป็นตัวเลขสัดส่วนปริมาณขยะพลาสติกดังกล่าวที่เราโยนลงไปในทะเล และปีที่แสดงผลสัดส่วนนั้นๆ” ดร.ให้แสง เล่าถึงการมีส่วนร่วมของผู้ชมงานศิลปะ
ผู้เข้าชมงาน Plastic Sea จะได้เลือกทิ้งแคปซูลที่นำเสนอชนิดของพลาสติกต่างๆ แล้วรับรู้ถึงปริมาณของขยะพลาสติกชนิดนั้นๆ ที่สะสมอยู่ในท้องทะเลไทยมาตั้งแต่ปี 2550 จนปัจจุบัน โดย 10 อันดับแรกของขยะพลาสติกในทะเลเป็นพลาสติกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ ขวดน้ำดื่ม โฟม ถุงพลาสติก หลอด ฯลฯ
“ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าตัวเรามีส่วนที่ทำให้ขยะพลาสติกในทะเล ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งขยะพวกนี้ก็จะวนกลับมาหาเราในท้ายที่สุด”
ดร. ให้แสง กล่าวถึงการเปลี่ยนความคิดและวิถีบางอย่างที่เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงปัญหาขยะในทะเล “เราไม่ได้สนใจเรื่องขยะพลาสติกนักในตอนแรก แต่การได้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ก็ทำให้ได้ทบทวนตัวเอง ให้ความสำคัญกับการแยกขยะมากขึ้น และตั้งใจว่าจะสร้างผลงานศิลปะที่มีคุณค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด จะไม่ให้กลายเป็นขยะไปอีกชิ้น”
แม้นิทรรศการ “Plastic Sea” จะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ด้วยเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ดร.ให้แสง ผู้อำนวยการ CU Art4C แกลลอรี วางแผนส่งเสริมผลงานศิลปะและกิจกรรมสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
“ในปีหน้า เราจะมีการแสดงผลงานศิลปะในหัวข้อต่างๆ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดทั้งปี โดยเฉพาะโปรเจคเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สะท้อนผ่านงานศิลปะ แผนงานวิจัยเกี่ยวกับ Zero Waste รวมทั้งกิจกรรม workshop ต่างๆ”
สำหรับช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2565 ดร. ให้แสง ชวนผู้สนใจศิลปะเข้าชมนิทรรศการผลงานภาพยนตร์ทดลอง “มาแกแต” ซึ่งเป็นคำภาษามลายูท้องถิ่นหมายถึงการชักชวนมาดื่มน้ำชา
“ผลงานเสียงจัดวางในนิทรรศการจะบอกเล่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมร่วมของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเกิดจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์พูดคุยกับผู้คนใกล้ตัวและนักวิจัยเกี่ยวกับความเป็นมลายู ส่วนผลงานประติมากรรมจัดวางก็จะแสดงถึงความต่างของใบชาหลากชนิดจากหลายแหล่งที่มา การผสมผสานของใบชาเพื่อให้ได้รสชาติหลากหลายน่าสนใจ เป็นการย้อนตั้งคำถามปลายเปิดให้ผู้คนในสังคมได้ค้นหาความกลมกล่อมภายในตัวเองของแต่ละคน”
นิทรรศการนี้เปิดให้เข้าชมฟรีตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 มกราคม 2565 ที่ชั้น 2 Art4C, Gallery and Creative Learning Space
เพลิดเพลินกับงานนิทรรศการต่างๆ สังสรรค์และเสวนา พร้อมจิบกาแฟได้ที่ Art4c Gallery and Creative Learning Space วันจันทร์-เสาร์ เวลา 9.00 – 18.00 น. และติดตามความเคลื่อนไหวของ Art4C ได้ที่ FaceBook page: Art4C, Gallery and Creative Learning Space
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้