รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
9 ธันวาคม 2564
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
“อินนูลินจากแก่นตะวัน” นวัตกรรมของทีมวิจัยคณะแพทย์ฯ และเภสัชฯ จุฬาฯ สร้างสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ลดโรคอ้วน จ่อพัฒนาเป็นอาหารฟังก์ชันพรีไบโอติกส์ เสริมสุขภาพผู้บริโภคทุกวัย
โรคอ้วนโดยเฉพาะโรคอ้วนในเด็กอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาวะโภชนาการมากเกินเพียงอย่างเดียว แต่อาจมาจากการขาดสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือที่รู้จักกันว่า “โรคอ้วนเพราะแบคทีเรียในเด็ก”
“ในกลุ่มคนที่มีโรคอ้วน เรามักพบความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ คือขาดจุลินทรีย์ที่ดีบางชนิด ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญและนำพลังงานไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น การแก้ปัญหาโรคอ้วนประเภทนี้จึงทำได้ด้วยการให้ “พรีไบโอติกส์” เพื่อไปเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดีเพื่อปรับสมดุลลำไส้ และส่งผลต่อการปรับให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างสมดุลตามมา” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) พญ.ชนนิกานต์ วิสูตรานุกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาโภชนาการ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ เผยถึงแนวคิดเบื้องหลัง “โครงการวิจัยการให้อินนูลินที่สกัดจากแก่นตะวันในเด็กโรคอ้วน” ที่ทำร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกาญจน์ ชำนิ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“โครงการนี้เป็นโครงการวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีการให้พรีไบโอติกส์ (prebiotics) ในเด็กอ้วนโดยมีเด็กอ้วนที่เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ 165 คน เราให้เด็กดื่มสารสกัดอินนูลินที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษจากแก่นตะวัน วันละ 1 ซอง โดยละลายน้ำ ดื่มต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน การวิจัยได้ผลดี ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ของเด็กโรคอ้วนให้เหมือนเด็กปกติ และไม่มีผลข้างเคียงใดๆ” ผศ. (พิเศษ) พญ.ชนนิกานต์ อธิบาย
โครงการวิจัยการให้อินนูลิน (Inulin) ที่สกัดจากแก่นตะวันในเด็กโรคอ้วน ได้รับรางวัลระดับโลก FISPGHAN Abstract Award for the best oral presentation อันดับที่ 1 และรางวัล Young Investigator Award จากงานประชุม The 6th World Congress of Pediatric Gastroenterology, Hepatology and Nutrition (WCPGHAN 2021) ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย และปัจจุบัน ทีมวิจัยเตรียมต่อยอดผลงานวิจัยเป็นอาหารฟังก์ชันอุดมพรีไบโอติกส์เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้คนทุกวัย
แก่นตะวัน (Jerusalem Artichoke) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกาเหนือ แต่ด้วยความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศเขตร้อน จึงเป็นที่นิยมปลูกในหลายพื้นที่ทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกต่างๆ กัน อาทิ ทานตะวันหัว มันทานตะวัน และ แห้วบัวตอง เป็นต้น
“แก่นตะวันจัดเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีปริมาณอินนูลินสูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ อินนูลิน คือ ใยอาหารละลายน้ำชนิดฟรุคโต โอลิโกแซคคาไรด์ (Fructo Oligosaccharides) จัดเป็นใยอาหารประเภทพรีไบโอติก อาหารชั้นดีสำหรับจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ หรือ โพรไบไอติกส์ (probiotics) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานไปยังระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น เชื่อมโยงการทำงานไปยังสมองโดยควบคุมความรู้สึกหิว-อิ่ม เชื่อมโยงไปที่ตับและตับอ่อนโดยมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายให้เหมาะสม เชื่อมโยงไปยังระบบภูมิคุ้มกันช่วยลดการอักเสบของร่างกาย เชื่อมโยงไปที่ตับและเซลล์ไขมันให้มีการสะสมไขมันน้อยลง ส่งผลให้น้ำหนักตัวและมวลไขมันในร่างกายลดลง” รศ.ดร.ศุภกาญจน์ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายคุณสมบัตเด่นของอินนูลิน
ปัจจุบัน มีการนำอินนูลินมาใช้เป็นองค์ประกอบในหลายผลิตภัณฑ์อาหารและอาหารเสริม แต่สำหรับงานวิจัยนี้ ผศ.(พิเศษ)พญ.ชนนิกานต์ กล่าวว่าทีมวิจัยคิดค้นวิธีการสกัดอินนูลินแบบใหม่ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน และได้มีการจดอนุสิทธิบัตรวิธีการสกัดอินนูลินแล้วเมื่อปี 2563
“ในการสกัดอินนูลินจากแก่นตะวัน เราคัดเลือกใยอาหารละลายน้ำชนิดพิเศษ ด้วยวิธีสกัดแบบพิเศษ ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดใช้มาก่อน เพื่อให้คงคุณสมบัติการเป็นพรีไบโอทิกส์ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ”
นอกจากนี้ ผศ.(พิเศษ)พญ.ชนนิกานต์ กล่าวเสริมอีกว่าทีมวิจัยเน้นศึกษาแก่นตะวันสายพันธุ์ที่เพาะปลูกในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการใช้พืชในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดและส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้เกษตรกรไทยด้วย
ปัจจุบัน ทีมวิจัยได้ต่อยอดงานวิจัยเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มอินนูลินสูตรออริจินัลและรสโกโก้ เพื่อให้เด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วนดื่มได้ง่ายขึ้น
รศ.ดร.ศุภกาญจน์ อธิบายเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักทั่วไปกับอาหารแปรรูปอินนูลินจากแก่นตะวันว่า “ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักมีกลไกควบคุมการทำงานของร่างกายให้ขับน้ำออก จึงทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นผลในระยะสั้น ไม่ยั่งยืน และอาจมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก แต่ผลิตภัณฑ์ที่สกัดอินนูลินจากแก่นตะวันนั้นจะทำให้รู้สึกอิ่ม อยากอาหารน้อยลง เส้นใยหรือไฟเบอร์ที่รับประทานเข้าไปจะเคลื่อนที่ไปที่ลำไส้ กลายเป็นอาหารของแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งกลไกการเติบโตของแบคทีเรียจะส่งผลดีต่อสุขภาพในเรื่องการดูแลระดับน้ำตาลในเลือด คอเลสเตอรอล หรือการสร้างภูมิต้านทานโรค”
รศ.ดร.ศุภกาญจน์ กล่าวว่าสารสกัดอินนูลินที่ทีมวิจัยพัฒนาชึ้นมานั้นเป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Active ingredients) ซึ่งสามารถนำไปเป็นอาหารฟังก์ชั่น พร้อมเป็นองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม หรือขนม ทั้งแบบกรอบ นุ่ม หรือ เยลลี เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม
“อินนูลินสามารถประยุกต์ได้หลายรูปแบบ แต่กระบวนการแปรรูปต้องไม่ทำให้ประสิทธิภาพของอินนูลินเสื่อมสลาย ซึ่งตรงนี้ยังเป็นจุดที่ต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมว่าผลิตภัณฑ์อาหารรูปแบบใดที่จะเหมาะกับเส้นใยอินนูลินพิเศษจากแก่นตะวัน” รศ.ดร.ศุภกาญจน์ กล่าว
ขณะนี้ทีมผู้วิจัยกำลังหาความร่วมมือจากภาคเอกชนที่สนใจเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ “อินนูลินจากแก่นตะวัน” เชิงพาณิชย์และวางแผนจำหน่ายสู่ท้องตลาด
“สิ่งที่ต้องการทำต่อไปคือนำผลงานวิจัยเข้าสู่กระบวนการผลิตที่ได้มาตราฐานสากลรับรอง เพื่อผลิตและจำหน่ายให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง อีกทั้งยังได้ช่วยสนับสนุนเกษตรกรชาวไทยที่ผลิตแก่นตะวันพืชที่อุดมไปด้วยคุณสมบัติที่มีประโยชน์อีกด้วย”รศ.ดร.ศุภกาญจน์ กล่าวทิ้งท้าย
สอบถามข้อมูลอินนูลินจากแก่นตะวันเพิ่มเติมได้ที่
ผศ.(พิเศษ)พญ.ชนนิกานต์ วิสูตรานุกูล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโทร. (02) 256 4951หรือ E-mail: chonnikant.v@chula.ac.th
รศ.ดร.ศุภกาญจน์ ชำนิ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโทร. (02) 218 8357หรือ E-mail: supakarn.c@pharm.chula.ac.th
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้