รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
15 ธันวาคม 2564
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
ดร.สุดเขต ไชโย นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ปี 2564 จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพฯ จุฬาฯ ด้วยผลงานการพัฒนา “เซนเซอร์” รูปแบบใหม่ ประเมินความปลอดภัยทางอาหารและการเกษตรได้อย่างแม่นยำ ตรวจวัดง่าย พร้อมประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ในการเฝ้าระวังโรคและตรวจวัดภูมิคุ้มกันที่มีความไวต่อเชื้อโควิด-19
“เซนเซอร์” เป็นเทคโนโลยีใกล้ตัวที่อำนวยความสะดวกในชีวิตยุคใหม่ในหลายมิติ ไม่ว่าจะใช้เป็นคีย์การ์ดในการเปิด-ปิดประตูอัตโนมัติ ตรวจวัดสารตกค้างในสิ่งแวดล้อมและการเกษตร ตรวจวัดสารสำคัญต่างๆ ทางการแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค อาทิ ตรวจวัดระดับน้ำตาลในร่างกาย ตรวจวัดสารตกค้างและสารอันตรายในอาหาร เป็นต้น
การพัฒนาเซนเซอร์ให้ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว และตรวจวัดผลได้อย่างแม่นยำจึงเป็นเรื่องที่อยู่ในหัวใจของ ดร.สุดเขต ไชโย นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทุ่มเทวิจัยและพัฒนาเซนเซอร์รูปแบบต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม จนล่าสุดได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2564 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้วยผลงานโดดเด่น “เซนเซอร์ประเมินความปลอดภัยทางอาหารและการเกษตร” และ”เซนเซอร์ทดสอบภูมิคุ้มกันที่มีความไวและความจำเพาะเจาะจงต่อเชื้อโควิด-19” ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในการคัดกรองผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 สำเร็จเป็นครั้งแรกของวงการวิทยาศาสตร์ไทย
ดร.สุดเขต นิยามตัวเองว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจวิเคราะห์และประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ และที่สนใจด้านเซนเซอร์เป็นพิเศษก็เพราะเป็นนวัตกรรมที่ย่อส่วนวิธีการตรวจวัดในห้องปฏิบัติการ โดยรวมหลายศาสตร์อยู่ในอุปกรณ์ชิ้นเดียว
“ผมสนใจนำความรู้ทางด้านเคมีวิเคราะห์มาพัฒนาแพลทฟอร์มใหม่ๆของเซนเซอร์ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประชาชนในการใช้งานได้ด้วยตนเองในระดับ Home Use ซึ่งปัจจุบันเซนเซอร์ใช้ในบ้านเรา ยังมีข้อจำกัดอยู่คือเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ ราคาแพงเนื่องจากส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ และวิธีตรวจวัดค่อนข้างยุ่งยาก ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ”
ด้วยเป้าหมายที่จะพัฒนาเซนเซอร์ให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงและได้รับประโยชน์ในวงกว้าง ดร.สุดเขตจึงทุ่มเทศึกษาวิจัยและพัฒนาเซนเซอร์อย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี เพื่อให้ได้เซนเซอร์รูปแบบใหม่ๆ ในราคาถูกและใช้อุปกรณ์จากในประเทศ โดยเซนเซอร์ตัวแรกที่ ดร.สุดเขตพัฒนาขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ชิ้นเล็กลง พกพาสะดวก และราคาถูก เป็นเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณโลหะหนักในอาหารและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการต่อยอดนำไปตรวจวัดโลหะหนักในอาหารและสิ่งแวดล้อมในโรงงาน จากนั้นก็ได้พัฒนาเซนเซอร์ชนิดอื่นๆ ตามมา เช่น เซนเซอร์ตรวจวัดยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าแมลงที่ตกค้าง และเซนเซอร์ที่ใช้ในทางการแพทย์ เป็นต้น
ด้วยความร่วมมือจากอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาฯ ดร.สุดเขต ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเซนเซอร์วิเคราะห์ทางเคมีชีวภาพและอาหารที่ใช้ตรวจวัดโละหนักและความสดใหม่ของอาหาร ตรวจวัดสารเคมีตกค้าง ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าแมลง
“ผมนำองค์ความรู้ทางด้านเคมีและชีวภาพมาประยุกต์ใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและชีวภาพ เดิมการตรวจวัดต้องทำในห้องปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่เซนเซอร์ที่พัฒนาขึ้นมาเป็นอุปกรณ์ฐานกระดาษ ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯพัฒนาขึ้นเป็นคนแรก ให้สามารถตรวจวัดโลหะหนักได้จากการเปลี่ยนแปลงของสีบนกระดาษเล็กๆ เพียงชิ้นเดียว นอกจากนี้เซนเซอร์ฐานกระดาษยังนำไปกำจัดได้ง่ายหลังใช้งาน ช่วยลดต้นทุนในการกำจัดขยะติดเชื้อได้เป็นอย่างดี”
ดร.สุดเขตเผยว่าขณะนี้เซนเซอร์ในการตรวจวัดโละหนักและความสดใหม่ของอาหาร ตรวจวัดสารเคมีตกค้าง ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าแมลง อยู่ระหว่างการพัฒนาในห้องปฏิบัติการเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้เซนเซอร์ตรวจวัดได้ด้วยตนเอง โดยมีการพัฒนาเซนเซอร์ต้นแบบในตรวจวัดการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะในอาหารประเภทนม น้ำผึ้ง และนำไปให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในจังหวัดสุพรรณบุรีให้ ทดสอบยาปฏิชีวนะจากน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง รวมถึงทดสอบโลหะหนักในแหล่งน้ำตามธรรมชาติด้วย ทั้งนี้ ดร.สุดเขต กล่าวเสริมว่าผลการทดสอบเซนเซอร์มีความเที่ยงตรงเมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ในช่วงที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ใหม่ๆ ดร.สุดเขต ได้ริเริ่มวิจัยและพัฒนาเซนเซอร์ที่สามารถทดสอบภูมิคุ้มกันที่มีความไวและความจำเพาะต่อเชื้อโควิด-19 ซึ่งผลการทดสอบได้รับการยืนยันว่าสอดคล้องกับวิธีมาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์แล้ว นับเป็นงานวิจัยแรกของโลกที่ใช้เซนเซอร์ฐานกระดาษร่วมกับเคมีไฟฟ้าในการตรวจวัดภูมิคุ้มกันเชื้อโควิด-19 และได้นำไปใช้ในการตรวจวัดภูมิคุ้มกันของคนไข้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว
นอกจากนี้ ดร.สุดเขตยังได้พัฒนาเซนเซอร์สำหรับชุดตรวจการติดเชื้อโควิด-19 ด้วย ATK (Antigen Test Kit) ด้วย เนื่องจากชุดตรวจเดิมที่ใช้งานอยู่เป็นการตรวจวัดโดยดูจากแถบสีที่ปรากฏขึ้น แต่ในงานวิจัยจะพัฒนาเซนเซอร์ที่อ่านสัญญาณการตรวจพบเชื้อได้อย่างรวดเร็วด้วยการเห็นเป็นตัวเลข นอกจากการใช้งานเซนเซอร์ที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 แล้ว ดร.สุดเขต ยังพัฒนานำเซนเซอร์ไปใช้ในการเฝ้าระวังสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหรือความผิดปกติของร่างกาย เช่น ตรวจวัดระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล เป็นต้น
“เซนเซอร์ที่มีขายอยู่ทั่วไปอาศัยหลักการคือใช้เอนไซม์ในการทดสอบการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีข้อเสียคือเอนไซม์มีอายุการใช้งานสั้นมากเมื่อโดนความร้อน งานวิจัยที่ทำอยู่เป็นการพัฒนาคอเลสเตอรอลเซนเซอร์และกลูโคสเซนเซอร์โดยไม่ใช้เอนไซม์ เพื่อให้อายุการใช้งานนานขึ้น”
ดร.สุดเขต กล่าวว่าความสำเร็จต่างๆ มาจากความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างจริงจังและความร่วมมือจากคณาจารย์ นิสิต และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
“ขอให้ทำในสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุด ถ้าเรามีความมุมานะก็สามารถแก้ปัญหาเอาชนะอุปสรรคไปได้” ดร.สุดเขตฝากข้อคิดในการทำงานวิจัย พร้อมเผยถึงเป้าหมายในอนาคตว่าจะนำเซนเซอร์ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นไปสู่เชิงพาณิชย์เพื่อให้ประชาชนได้ใช้งานจริง
หน่วยงานที่สนใจเรื่องเซนเซอร์หรือต้องการสนับสนุนการพัฒนาเซนเซอร์ สามารถติดต่อได้ที่สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาฯ โทร.0-2218-8078 หรืออีเมล sudkate.c@chula.ac.th
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้