รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
17 ธันวาคม 2564
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
อาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ วิจัยผลิตเนื้อหมูจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รสชาติและคุณค่าโภชนาการใกล้เคียงเนื้อหมูที่บริโภค เตรียมผลักสู่กระบวนการผลิตเพื่อจำหน่าย ตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหารในอนาคต
เมื่อประชากรมีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น แต่พื้นที่การปศุสัตว์มีจำกัดและการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ยังส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน หลายฝ่ายจึงพยายามค้นหาทางเลือกใหม่ของแหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยไม่ต้องเลี้ยงสัตว์!
“เนื้อหมูจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ” (Cultured Meat) เป็นนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตที่เกิดขึ้นแล้วในวันนี้ จากการวิจัยกว่า 2 ปี โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.เจนภพ สว่างเมฆ จากศูนย์ Veterinary Stem Cell and Bioengineering Innovation Center (VSCBIC) คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“สิ่งนี้เป็นนวัตกรรมทางเลือกในการบริโภคเนื้อสัตว์ โดยเราไม่จำเป็นต้องเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม ไม่ต้องใช้ทรัพยากรสูงมาก ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม และตอบโจทย์ผู้บริโภคด้านคุณค่าด้านโภชนาการและความปลอดภัยทางอาหารอีกด้วย” ผศ.น.สพ.ดร.เจนภพ กล่าว
ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัท ไบโอ อิงค์ จำกัด บริษัทสตาร์อัพของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ภายใต้การบ่มเพาะของ CU Innovation Hub ผศ.น.สพ.ดร.เจนภพ เผยว่าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงอยู่ระหว่างขั้นตอนการวิจัยเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตในโรงงาน และคาดว่าจะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงให้ผู้บริโภคลิ้มลองได้ในอนาคตอันใกล้
“ในอนาคตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจะเป็นอาหารทางเลือกที่อาจจะเข้ามาทดแทนเนื้อสัตว์ตามธรรมชาติ และประเทศไทยก็มีศักยภาพทางการผลิตที่จะแข่งขันในตลาดโลกได้”
เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง (Cultured Meat) เป็นเนื้อสัตว์ที่มาจากกระบวนการเลียนแบบการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อด้วยเทคโนโลยี “สเต็มเซลล์” วิศวกรรมชีวภาพและวัสดุชีวภาพ
“ในทุกเนื้อเยื่อจะมีสเต็มเซลล์ซ่อนอยู่ เราใช้วิธีการที่พัฒนาขึ้นมาแยกเซลล์นั้นออกมา แล้วนำมาเพาะเลี้ยงให้ห้องทดลองเพื่อเพิ่มจำนวน ถ้าได้เซลล์อย่างเหมาะสม เซลล์นั้นจะเพิ่มจำนวนต่อเนื่องได้เรื่อยๆ เราใช้เซลล์ปริมาณไม่มาก เพราะใน 1 เซลล์ตั้งต้น สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้เป็นจำนวนมาก ขึ้นอยู่กับกระบวนการเลี้ยง การผลิตและการสร้างชิ้นเนื้อขึ้นมา” ผศ.น.สพ.ดร.เจนภพ อธิบาย
“เนื้อสัตว์ต้นแบบ” จากการวิจัยเป็นเนื้อสุกร เนื่องจากเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ส่วนในอนาคต ผศ.น.สพ.ดร.เจนภพ วางแผนจะเพาะเนื้อเยื่อสัตว์ประเภทอื่นๆ ตามมา
“จุดเด่นของเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงคือความสะอาด เครื่องมือและระบบการผลิตเป็นระดับเดียวกับที่ใช้ผลิตยารักษาโรค จึงสะอาด ปลอดภัย และแทบไม่มีสิ่งแปลกปลอมเลย นอกจากนี้ เรายังสามารถปรับแต่งหรือเพิ่มสารอาหารเข้าไปในเนื้อสัตว์ได้ตามความต้องการอีกด้วย”
สถานการณ์การเกิดโรคระบาดทั้งในสัตว์และในคน เช่น การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เราเห็นความสำคัญของความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งการผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงเป็นหนึ่งในคำตอบ
“กระบวนการทำเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงใช้พื้นที่ระบบปิดคือในโรงงาน ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดโรคระบาดในสัตว์หรือคน ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง เราจะยังมีแหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์สำหรับบริโภค” ผศ.น.สพ.ดร.เจนภพ เน้น
นอกจากนี้ การผลิตเนื้อสัตว์จากการเพาะเนื้อเยื่อยังมีส่วนช่วยลดมลภาวะในโลกด้วย
“กระบวนการผลิตอาหารในรูปแบบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ส่งผลให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งกระทบต่อภาวะโลกร้อนค่อนข้างมาก หลายประเทศจึงมีความพยายามที่จะลดมลภาวะจากการเลี้ยงสัตว์ในระยะยาว สำหรับประเทศไทย แม้เราจะเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ในอนาคต เราคงหนีไม่พ้นการผลิตอาหารทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ผลิตจากพืช (Plant-based meat) หรือ Cultured meat”
ผศ.น.สพ.ดร.เจนภพ เผยว่าเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงเป็นตลาดที่กำลังเติบโตและได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภคในต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเข้าไปมีส่วนแบ่งทางการตลาด แม้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มในการสร้างเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจะมีต้นทุนสูง แต่คาดว่าจะมีบริษัททั้งในและต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนมากขึ้น
“ภายในอนาคตอันใกล้ เราจะได้เห็นและลิ้มลองผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงชุดแรก และในอนาคตก็จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่นๆ ตามมา เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และผู้บริโภค” ผศ.น.สพ.ดร.เจนภพ กล่าวในที่สุด
สนใจติดต่อ
บริษัท ไบโอ อิงค์ จำกัด (Bio ink Co., Ltd.) (https://www.bioinkcu.com/)
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้