รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
24 ธันวาคม 2564
นักวิจัยจุฬาฯ พัฒนา “กรีน บับเบิล” ต้นแบบสครับเซลลูโลสจากพืช ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ หวังส่งต่อผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ที่ดีต่อผิวหน้าและสิ่งแวดล้อม
สครับ (Scrub) หรือการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วด้วยการขัดถู เป็นหนึ่งในวิธียอดนิยมของคนรักผิว บริษัทเครื่องประทินผิวต่างๆ จึงพยายามตอบโจทย์ความงามของผู้บริโภคด้วยนวัตกรรม “เม็ดบีดส์” สครับนาโนที่มีอนุภาคขนาดเล็กสามารถขจัดสิ่งสกปรกได้อย่างล้ำลึก ผลัดผิวใหม่กันเลยทีเดียว แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือเม็ดบีดส์เหล่านี้ไม่ย่อยสลายและเป็นปัญหากับสิ่งแวดล้อม
เมธีรัตน์ ธานีรัตน์ นิสิตระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงวิจัยและพัฒนาตัวเลือกที่เป็นคำตอบให้กับผิวหน้าและสิ่งแวดล้อม จนประสบความสำเร็จในการผลิตต้นแบบ “กรีน บับเบิล : ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าประสิทธิภาพสูงจากเซลลูโลสอสัณฐาน”
“เม็ดสครับที่มีอยู่ในหลายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าส่วนใหญ่จะเป็นโพลิเมอร์สังเคราะห์ ซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์ปิโตรเลียม ไม่สามารถกรองได้ 100% ทำให้สครับพวกนี้หลุดไปสู่ระบบนิเวศและย้อนกลับมาสู่มนุษย์ในที่สุด เราจึงพัฒนาตัวเม็ดบีดส์ไมโครขึ้นมาจากธรรมชาติ ซึ่งก็คือเซลลูโลสจากพืช 100% ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์” เมธีรัตน์ เผยถึงความสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมความงาม “กรีน บับเบิล”
พลาสติกไมโครบีดส์ (Plastic microbeads) ที่นิยมใช้ในเครื่องสำอางต่างๆ ถูกห้ามผลิตและห้ามจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2563 สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ห้ามผลิต ห้ามนำเข้าหรือจัดจำหน่าย พลาสติกสังเคราะห์ที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ที่ใช้ในการทำความสะอาด เนื่องจากเป็นพลาสติกขนาดเล็กที่ไม่ละลายน้ำ ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ สามารถหลุดรอดผ่านตะแกรงกรองน้ำและฝาท่อไหลลงสู่แหล่งน้ำกลายเป็นอาหารของสัตว์ทะเลและย้อนกลับมาเป็นอาหารของมนุษย์
เมธีรัตน์ พัฒนานวัตกรรม “กรีน บับเบิล” จากเยื่อยูคาลิปตัสเหลือใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษ
“เราใช้เพียงเซลลูโลสอสัณฐานที่สกัดแยกส่วนคริสตัลไรด์ออก เนื่องจากมีคุณสมบัติดักจับสิ่งสกปรกได้ดีกว่าคริสตัลไรด์ และแปรรูปเป็นเม็ดบีดส์ หรือ “บับเบิล” เพื่อนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ทั้งเจลล้างมือ โฟมล้างหน้า หรือ สครับผิว”
เซลลูโลสอสัณฐานเป็นโครงสร้างโมเลกุลที่มีคาร์บอนและไฮโดรเจนที่ต่อกันเป็นสายยาว เป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่สามารถดูดจับสิ่งสกปรกได้ และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับพอลิเมอร์สังเคราะห์ ผลิตได้จากวัสดุธรรมชาติมีความปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม
เมธีรัตน์ กล่าวถึงจุดเด่นของ “กรีน บับเบิล” ว่ามีประสิทธิภาพในการขจัดเซลล์ผิวแห้ง และสามารถเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆ ที่ผู้บริโภคต้องการ เช่น บรรจุซิงค์ออกไซด์หรือทองคำเพื่อยับยั้งการเกิดสิว และเพิ่มความอ่อนเยาว์ให้กับผิวหน้า เป็นต้น
นอกจากผลิตภัณฑ์ความงามแล้ว เมธีรัตน์ เล็งต่อยอดนวัตกรรมเม็ดบีดส์จากธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์ด้วย โดยจะพัฒนาเป็นยาสมานแผล
“เม็ดบีดส์แบบนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายฟังก์ชัน อย่างยาสมานแผล เราอาจจะเติมตัวยาเข้าไปในบับเบิล เมื่อทายาแล้ว ตัวยาจะแตกตัวออก แทรกซึมเข้าไปในแผลได้ดีกว่าการทายาทั่วไป ซึ่งประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับตัวยาที่จะใส่ในเซลลูโลส ทั้งซิงค์ออกไซด์หรือยาที่ใช้สมานแผล” เมธีรัตน์ กล่าวทิ้งท้ายว่าปัจจุบัน นวัตกรรมนี้ยังเป็นต้นแบบ ซึ่งต้องรอการวิจัยขยายผลสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป
อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : คำชี้แจง ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562
(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้