รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
14 มกราคม 2565
ผู้เขียน ศุภวรรณ พิพิธสมบัติ
จุฬาฯ นำร่องเปิดศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงทางการแพทย์ เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของประเทศที่ได้การรับรองมาตรฐานทัดเทียมศูนย์ฝึกฯ ในโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของโลก เตรียมนิสิตและบุคลากรทางการแพทย์ให้เชี่ยวชาญในการรักษาและดูแลสุขภาพคนไข้อย่างมั่นใจ
การเรียนรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติผ่านอาจารย์ใหญ่ทำให้นิสิตแพทย์มีความรู้ความเข้าใจทางการแพทย์ แต่ประสบการณ์ในการลงมือรักษากับผู้ป่วยจริงเป็นชั่วโมงบินสำคัญที่จะเพิ่มความเชี่ยวชาญและเชื่อมั่นในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยยิ่งขึ้น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ก่อตั้งศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงทางการแพทย์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn Healthcare Advanced Multi-Profession Simulation Center หรือ ศูนย์ CHAMPS) เพื่อเตรียมนิสิตแพทย์ให้พร้อมสำหรับสนามจริงของชีวิตให้มากที่สุด
“ศูนย์นี้จะช่วยฝึกฝนทักษะด้านสุขภาพให้นิสิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความพร้อม เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโดยการใช้ simulation ทางการแพทย์ การจำลองสถานการณ์ผู้ป่วย การฝึกทักษะการแพทย์ร่วมกับหุ่น อุปกรณ์ และทีมสหวิชาชีพทางการแพทย์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่หลากหลายและถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุชัย สุเทพารักษ์ ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ฝึกทักษะการแพทย์เสมือนจริง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์ CHAMPS ของจุฬาฯ ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเดียวกันกับศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงด้านสุขภาพในโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของโลก
ผศ.นพ.สุชัย เล่าถึงการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ว่าในช่วงปีแรกๆ นิสิตจะได้เรียนความรู้เชิงทฤษฎีจากห้องเรียน เช่น ระบบประสาท ระบบเลือด ปรสิตวิทยา เภสัชวิทยา ฯลฯ และเรียนกับร่างอาจารย์ใหญ่เพื่อศึกษากายวิภาคศาสตร์ จนเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 4 นิสิตแพทย์จะได้ฝึกทางคลินิก ซึ่งจะได้โอกาสเรียนรู้และทดลองดูแลคนไข้จริงตามโรงพยาบาลต่างๆ ก่อนจะสำเร็จการศึกษา
“การเรียนกับร่างอาจารย์ใหญ่เป็นการศึกษาจากร่างไร้ชีวิต ซึ่งมีข้อจำกัด นิสิตแพทย์ไม่สามารถฝึกฟังเสียงการหายใจและเสียงการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่ป่วยตามอาการของโรคต่างๆ อีกทั้งไม่สามารถฝึกวินิจฉัยโรคจากการสัมผัส และการซักประวัติ” ผศ.นพ.สุชัย กล่าวและเสริมว่าการขาดโอกาสในการฝึกฝนทักษะกับสนามจริงทำให้นิสิตไม่สู้จะมั่นใจในการรักษา จนเมื่อมีศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงทางการแพทย์แห่งจุฬาลงกรณ์
“การฝึกฝนทักษะที่ศูนย์ฯ ช่วยให้นิสิตแพทย์สามารถวินิจฉัยพยาธิสภาพหรือสภาพโรค (Disease) ได้จากฝึกซักประวัติจากอาสาสมัครคนไข้ภายใต้การจำลองสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงฝึกสัมผัส ฟังเสียงอวัยวะในร่างกาย ลองทำหัตถการ (เย็บแผล) บนหุ่นแบบต่างๆ เช่น ฝึกทำคลอดจากหุ่นจำลองสถานการณ์ทำคลอดขั้นสูง ฝึกการเจาะหลอดเลือดดำจากหุ่นจำลองสำหรับฝึกแทงหลอดเลือดดำในเด็ก ฝึกใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ ฝึกทำหัตถการหรือเย็บแผลบนแผ่นหนังเทียม อีกทั้งยังสามารถศึกษาระบบร่างกายมนุษย์ แบบสามมิติด้วยโต๊ะผ่าตัดเสมือนจริงสอนกายวิภาค (Anatomage Table) เป็นต้น” ผศ.นพ.สุชัย อธิบาย
“นิสิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้ผ่านการอบรมจากศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงทางการแพทย์จะได้พัฒนาทักษะและเทคนิคใหม่ๆ ในการรักษาคนไข้ และเพิ่มความมั่นใจในการรักษาผู้ป่วยร้ายแรงในสถานการณ์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม (Multi professional team) ภายใต้การจำลองสถานกาณณ์การรักษาที่ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วย ซึ่งการเรียนการสอนที่นี่จะมีการบันทึกเทปวิดีทัศน์ไว้ตลอด ผู้เรียนสามารถรับชมย้อนหลังได้เพื่อปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องในการรักษาของตนและทีมต่อไป”
อย่างไรก็ตาม ผศ.นพ.สุชัย กล่าวว่าห้องเรียนเสมือนจริงทางการแพทย์มีข้อจำกัดอยู่บ้าง ในแง่ที่ยังไม่สามารถจำลองวิกฤต หรือเหตุการณ์ด้านสาธารณสุขใหญ่ๆ ได้ เช่น เหตุการณ์ตึกถล่ม เป็นต้น
ศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงทางการแพทย์แห่งจุฬาลงกรณ์ ประกอบด้วยศูนย์ฝึก 2 หน่วยงาน คือ ศูนย์ฝึกทักษะการแพทย์เสมือนจริง (Clinical Skills and Simulation Center: CSSC) และศูนย์ฝึกกู้ชีพและฝึกทักษะเสมือนจริง (Simulation and CPR Training Center: SCTC)
ศูนย์ฝึกทักษะการแพทย์เสมือนจริง (CSSC) ตั้งอยู่ที่ชั้น 11 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นศูนย์การฝึกทักษะสำหรับนิสิตแพทย์ ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางที่สามารถเรียน 3 วิชาพร้อมกันและจุผู้เรียนได้สูงถึง 150 คน
“ศูนย์เพียบพร้อมด้วยห้องเรียนและเครื่องมือทันสมัย เช่น โต๊ะผ่าตัดเสมือนจริงสอนกายวิภาค (Anatomage Table) การเรียนการสอนแบบ 3 มิติ โดยใช้เทคโนโลยี Virtual Reality หรือ VR ที่มาช่วยเพิ่มความเสมือนจริงในการฝึกฝนทักษะ ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือต่างๆ ให้คล่องแคล่ว” ผศ.นพ.สุชัย กล่าว
“นอกจากนี้ ทางศูนย์ฯ ยังมีหุ่นหัตถการจำลองแบบต่างๆ ที่สามารถปรับฟังก์ชันความเจ็บป่วยให้เหมาะสมกับความต้องการฝึกฝน เช่น หุ่นจำลองสถานการณ์การทำคลอดขั้นสูง หุ่นฝึกช่วยชีวิตเด็กขั้นสูง หุ่นจำลองฝึกวินิจฉัยโรคทางระบบหายใจและปอด หุ่นฝึกตรวจภายใน หุ่นฝึกฉีดยาที่ข้อมือ อีกทั้ง ยังเปิดให้มีการฝึกทักษะพื้นฐานทั่วไป เช่น การฝึกแทงเข็ม น้ำเกลือ การฝึกกู้ชีพ จนถึงการทำหัตถการที่ซับซ้อน อาทิ การผ่าตัดโรคตา เป็นต้น”
ศูนย์ฝึกกู้ชีพและฝึกทักษะเสมือนจริง (SCTC) ตั้งอยู่ที่ชั้น 16 อาคารสิรินธร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นศูนย์ฝึกทักษะทางการแพทย์ที่เปิดให้เจ้าหน้าที่พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล แพทย์ประจำบ้าน และบุคลากรทางการแพทย์ เข้ามาฝึกทักษะต่างๆ ผ่านการจำลองสถานการณ์เสมือนจริง ซึ่งเป็นแนวทางการฝึกอบรมที่ใช้เป็นมาตรฐานในสถาบันแพทย์ชั้นนำทั่วโลก เป็นการเรียนการสอนที่เชื่อมต่อการเรียนทฤษฎีกับการปฏิบัติงานในผู้ป่วย รวมทั้งการฝึกในสถานการณ์ที่ไม่เคยประสบมาก่อน
เพียงปีเดียวที่ก่อตั้งศูนย์ขึ้นมาอย่างเต็มรูปแบบ ในปี 2564 ศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงทางการแพทย์ แห่งจุฬาลงกรณ์ ก็ได้รับ Official Accreditation (Provisional) จาก SSH — Society for Simulation in Healthcare สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานการบริการงานในระดับนานาชาติ มาตรฐานเดียวกันกับศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงด้านสุขภาพในโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของโลกและทวีปเอเชีย อาทิ ศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงด้านสุขภาพในโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ มหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยดุ๊กร่วมกับมหาวิทยาลัยเเห่งชาติสิงคโปร์ (Duke-NUS) และมหาวิทยาลัยการแพทย์ไทเป (TMU) เป็นต้น
“การรับรองมาตรฐานเป็นเพียงก้าวแรกที่จะกำกับการบริหารงานของศูนย์ CHAMPS ให้เติบโตและพัฒนาตามแบบสากลระดับโลก ในปี 2564 นี้ เราได้รับการรับรองมาตรฐานระดับพื้นฐาน และเราตั้งใจว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า เราจะก้าวสู่การรับรองมาตรฐานเต็มรูปแบบ เรามั่นใจว่าจะไปถึงจุดนั้นแน่นอน” ผศ.นพ.สุชัย กล่าวด้วยความมุ่งมั่นและทิ้งท้ายว่า “ศูนย์ CHAMPS มีความพร้อมที่จะให้บริการด้านการเรียนการสอน และงานสนับสนุนการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และเราจะไม่หยุดพัฒนาศักยภาพของเราให้ทันสมัยตลอดเวลา”
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และหน่วยงานด้านสาธารณสุขภายนอกที่สนใจร่วมฝึกทักษะกับศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงทางการแพทย์ แห่งจุฬาลงกรณ์ (ศูนย์ CHAMPS) สามารถแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าได้ที่ ศูนย์ฝึกทักษะการแพทย์เสมือนจริง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0 2256 4000 ต่อ 81105 และอีเมล cssc.mdcu@chula.md และสามารถเยี่ยมชมศูนย์ CHAMPS แบบ 360 Virtual Tour ได้ที่นี่ https://shorturl.asia/IJz5F
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้