รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
19 มกราคม 2565
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
อาจารย์สัตวแพทย์ จุฬาฯ “นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2565” เผยรหัสพันธุกรรม เชื้อดื้อยาในสัตว์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม แนะวิธีแก้ปัญหาอย่างครอบคลุมภายใต้แนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว”
“เชื้อดื้อยา”เป็นภัยเงียบที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าคร่าชีวิตประชากรโลกถึงปีละ 700,000 คน หากไม่เร่งแก้ไข คาดว่าอีก 30 ปีข้างหน้า หรือราวปี 2593 การเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอาจสูงถึงปีละหนึ่งล้านคนทั่วโลก สำหรับประเทศไทย การศึกษาเบื้องต้นพบว่าการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยามีสถิติสูงถึงปีละประมาณ 30,000 คน! การเร่งหาแนวทางรับมือกับปัญหาเชื้อดื้อยาในวันนี้จึงจำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาสาธารณสุขในวันหน้า
“ปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ที่เชื่อมโยงทั้งสุขภาพคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม หากเราไม่ทำอะไรเลย หรือไม่ลงมือแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาในตอนนี้ ก็เป็นไปได้ที่เราจะไม่มียาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคติดเชื้อในอนาคต ไม่ว่าจะโรคติดเชื้อในคนหรือในสัตว์” ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น หัวหน้าภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าว
ด้วยความเชี่ยวชาญด้านเชื้อดื้อยาในสัตว์ ประกอบกับผลงานวิจัยมากมายที่ได้รับการผลักดันสู่แผนปฏิบัติการระดับชาติและนานาชาติ ศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ดำรงตำแหน่งงานสำคัญมากมาย อาทิ ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ โดยความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก ผู้อำนวยการศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยา องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO Antimicrobial Resistance Reference Center) และผู้อำนวยการ Global Foodborne Infections Network: South-East Asia and Western Pacific Region องค์การอนามัยโลก ฯลฯ และล่าสุดอาจารย์ได้รับเลือกเป็น “นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2565 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา” จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ด้วยผลงานวิจัยทางอณูชีววิทยาที่ไขหนทางแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาอย่างยั่งยืน
ศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ อธิบายว่าการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อการบริโภคทั้งปศุสัตว์และสัตว์น้ำมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรักษาและป้องกันการติดเชื้อและเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ แต่ปัญหาเชื้อดื้อยาที่เกิดขึ้นมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุผล
“ทุกครั้งที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะจะเปิดโอกาสให้เชื้อพัฒนาการดื้อยาและแพร่กระจายยีนดื้อยาได้ ในฟาร์มปศุสัตว์ก็มีการใช้ยาปฏิชีวนะเช่นกัน เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และผู้บริโภคอาจได้รับเชื้อดื้อยาผ่าน ห่วงโซ่อาหาร จากการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนหรือจากการสัมผัสโดยตรงซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ”
นอกจากนี้ สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า รวมทั้งสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ ก็อาจมีการปนเปื้อนเชื้อดื้อยาได้เช่นกัน เชื้อดื้อยาไม่ว่าจะอยู่ในคน สัตว์หรือสิ่งแวดล้อม ย่อมส่งผลกระทบถึงกันหมด
การแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาที่เกี่ยวข้องสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อการบริโภคนั้นไม่ง่าย เนื่องจากภาคปศุสัตว์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะ โจทย์ท้าทายจึงกลับมาที่นักวิจัย ซึ่ง ศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการความปลอดภัยทางจุลชีววิทยาในอาหารและการดื้อยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ค้นคว้าวิจัยเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาด้วยความรู้ด้านพันธุกรรมและใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยาเพื่อตอบคำถามว่า ทำไมเชื้อดื้อยาบางชนิดจึงพบมากในประเทศไทย เหตุใดเชื้อดื้อยายังคงอยู่หลังจากเลิกใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว และปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ ทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้อย่างไร
“เราศึกษาเชื้อดื้อยาในระดับgenome และนำเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม(Genetic Engineering) มาใช้ในการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อดื้อยาและกลไกการดื้อยา ทำให้เข้าใจแหล่งที่มา ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการถ่ายทอดพันธุกรรมของเชื้อดื้อยามากขึ้นซึ่งข้อมูลกลไกการดื้อยาสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาโมเลกุลหรือยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ รวมทั้งสารทดแทนยาปฏิชีวนะได้อีกด้วย”
ศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ เล่าถึงผลการวิจัยจากการวิเคราะห์จีโนมิกของเชื้อดื้อยาที่เก็บจากคน ปศุสัตว์ และอาหารจากสัตว์ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนด้วยเทคนิค nanopore sequencing ว่า “ลักษณะทางจีโนมของเชื้อในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในอาเซียนมีความหลากหลาย โดยมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน แสดงถึงการถ่ายทอดหมุนเวียนของยีนดื้อยาของเชื้อดื้อยาในภูมิภาคนี้”
ไม่เพียงแค่ยาปฏิชีวนะ ศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ เผยว่ายังมีสารอื่นๆ ที่ทำให้เชื้อพัฒนาการดื้อยาและถ่ายทอดยีนหรือตัวระบุการดื้อยาได้ ส่งผลให้มีการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในฟาร์มและโรงพยาบาล และโลหะหนักที่ผสมในอาหารสัตว์
“จากข้อมูลเบื้องต้นเราตรวจพบยีนดื้อยาในฝุ่นที่เก็บจากฟาร์มปศุสัตว์ รวมทั้งฝุ่นจากเครื่องปรับอากาศในห้องวิจัยอีกด้วย เรากำลังขยายการวิจัยไปยังคลินิกและโรงพยาบาลสัตว์ เชื้อดื้อยาไม่ได้พบในสัตว์และอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น ดังนั้นการใช้มาตรการยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์เพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาทั้งหมดได้”
ผลงานวิจัยของ ศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ ได้ถูกนำไปใช้ในการสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาปฏิชีวนะประเทศไทย และใช้แก้ปัญหาเชื้อดื้อยาในเอเชียและประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคอื่นๆ โดยร่วมมือกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติและหน่วยงานระดับนานาชาติ มีทั้งเรื่องการประเมินระบบการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาแห่งชาติและระบบห้องปฏิบัติการเชื้อดื้อยา การกำหนดมาตรการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ การทบทวนตำรับยาสำหรับสัตว์ การจัดทำแผนการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาการเฝ้าระวังการดื้อยาปฏิชีวนะภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว เป็นต้น
นอกจากนี้ งานวิจัยก็ยังถูกถ่ายทอดเพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจด้านเชื้อดื้อยาและการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมแก่เยาวชน ประชาชนทั่วไป เจ้าของสัตว์เลี้ยง ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์และบุคคลกรภาครัฐและเอกชน
“การแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาในปศุสัตว์ให้มีประสิทธิภาพต้องทำหลายอย่างและต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ได้แก่ การตรวจติดตามและเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล การส่งเสริมระบบป้องกันทางชีวภาพในฟาร์ม (farm biosecurity) การลดการติดเชื้อและเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับสัตว์ การใช้สารทดแทนยาปฏิชีวนะ เป็นต้น”
“เชื้อดื้อยาเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องทั้งสุขภาพคน สุขภาพสัตว์ และสุขภาพสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาจึงควรบูรณาการภายใต้แนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” (One Health Concept) ซึ่งต้องแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาทั้งในคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน” ศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ กล่าวทิ้งท้าย
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้