รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
3 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้เขียน ภัทรพร รักเปี่ยม
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ โรงพยาบาลจุฬาฯ เปิดตัวแอปพลิเคชัน PDPlus ช่วยผู้ป่วยพาร์กินสันบันทึกอาการแบบ Real time พร้อมระบบเตือนทานยา เกมทดสอบประเมินการเคลื่อนไหว และระบบรายงานผลให้แพทย์ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
พาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สถิติปี 2553 ระบุว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคพาร์กินสันราว 60,000 คน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขนี้ดูจะสูงขึ้นตามจำนวนประชากรสูงวัยในสังคมที่เพิ่มขึ้น โดยสถิติล่าสุดเผยว่า 3 % ของประชากรสูงวัยในประเทศมีอาการของโรคพาร์กินสัน (ราว 360,000 คน จากจำนวนประชากรสูงวัยราว 12 ล้านคนในปัจจุบัน)
โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่รักษาได้ โดยการรักษาหลักจะเป็นการรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมอาการของโรค เช่น
ซึ่งเมื่อโรคดำเนินไปมากขึ้นจะมีการตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ มีช่วงเวลาที่ตอบสนองต่อยาลดลง และมีระยะเวลาที่อาการดีลดลง หรือมีอาการหมดฤทธิ์ยาก่อนมื้อยาถัดไป มีอาการยุกยิกหรืออาการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากภาวะตอบสนองต่อยามากกว่าปกติหลังมื้อยา
“อาการของผู้ป่วยพาร์กินสันจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในแต่ละวัน แพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยบันทึกอาการและการรับประทานยาอย่างละเอียด ซึ่งการเขียนบันทึกข้อมูลลงกระดาษไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแลเท่าไรนัก”ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.พัทธมน ปัญญาแก้ว และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.พญ.อรอนงค์ โพธิ์แก้ววรางกูล กล่าวถึงที่มาของความร่วมมือกับทีมจากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชัน PDPlus เพื่อตอบโจทย์การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอย่างครอบคลุม
“เป้าหมายในการรักษาโรคพาร์กินสันไม่ใช่เพื่อให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ แต่คือการทำให้อาการของผู้ป่วยไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ก็มีเป้าหมายเดียวกัน ผู้ป่วยสามารถบันทึกอาการได้ทันที มีระบบเตือนการทานยา มีเกมที่เป็นแบบทดสอบประเมินการเคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสังเกตและเข้าใจอาการตัวเองมากขึ้นว่าอยู่ในระดับใด รวมถึงมีระบบรายงานผลวิเคราะห์ข้อมูลอาการผู้ป่วยอย่างละเอียดเพื่อให้แพทย์ติดตามอาการผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิดและปรับยาตามอาการได้ง่ายขึ้น” ผศ.พญ. พัทธมน กล่าว
แอปพลิเคชัน PDPlus เริ่มนำร่องใช้งานในกลุ่มผู้ป่วยของทางศูนย์ฯ แล้ว และได้เสียงตอบรับที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยสามารถใช้แอปพลิเคชันนี้บันทึกอาการและทำแบบทดสอบประเมินอาการ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาล
ผศ.(พิเศษ)ดร.พญ.อรอนงค์ กล่าวเสริมว่าแอปพลิเคชัน PDPlus เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และกลุ่มผู้ป่วยอื่น ๆ ที่ต้องการทำแบบทดสอบประเมินการเคลื่อนไหว เช่น
และไม่จำเพาะว่าต้องเป็นผู้ป่วยของศูนย์ฯ เท่านั้น
แอปพลิเคชัน PDPlus ประกอบด้วย 3 ฟังก์ชันหลักด้วยกัน คือ
ผู้ป่วยสามารถกดเลือกอาการตามจริงจากตัวเลือก “ปกติ แย่ ยุกยิก” และถ้าแย่ ลักษณะอาการเป็นแบบใด เช่น อาการสั่น เกร็ง เคลื่อนไหวช้า ก้าวขาไม่ออก แข็ง เป็นต้น ต่อจากนั้นก็สามารถระบุความรุนแรงของอาการว่า “พอทำกิจกรรมได้” หรือ “รบกวนชีวิต” และเมื่ออาการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ก็ให้กดเลือกอาการตามจริง นอกจากนี้ ยังมีการสรุปผลอาการในแต่ละวันให้ผู้ป่วยทราบว่า อาการดี หรือ อาการแย่
ระบบในแอปพลิเคชันจะช่วยเตือนว่าผู้ป่วยต้องรับประทานยากี่ตัว ปริมาณเท่าไร ยามื้อถัดไปคือกี่โมง ระบบนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ลืมรับประทานยาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางรายจำเป็นจะต้องรับประงทานยาถี่ ทุก 3-4 ชั่วโมง หรือรับประทานยาครั้งละหลายตัว บางรายมีทั้งยารับประทาน ยาแปะ
เมื่อรับประทานยาแล้ว ระบบก็ให้กดบันทึกว่า “รับประทานยาไปแล้ว” เพื่อให้แพทย์รู้ว่าผู้ป่วยรับประทานยาตรงเวลาหรือไม่ และผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ยาออกฤทธิ์ช้า หรือหมดฤทธิ์เร็วก่อนยามื้อถัดไป หรือมีอาการยุกยิกหลังรับประทานยา หากอาการไม่ดีทั้งๆ ที่รับประทายยาตรงเวลา แพทย์จะได้ปรับยาให้ตรงกับผู้ป่วย
เกมหรือแบบทดสอบในแอปพลิเคชันไม่เพียงช่วยประเมินการเคลื่อนไหว แยกอาการผู้ป่วยพาร์กินสันกับคนปกติเท่านั้น แต่ยังใช้ประเมินอาการของผู้ป่วยในแต่ละช่วงว่าอาการดีหรือไม่ดี
เกมและแบบทดสอบใช้สื่อเสียงและสีเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้สูงอายุ ให้อยากเล่นและ รู้สึกสนุกที่เล่นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ติดตามอาการของผู้ป่วยได้อย่างละเอียด
เกมมีทั้งการทดสอบการเคลื่อนไหวและการใช้ความคิดในกิจกรรมเดียว ผู้ป่วยในกลุ่มพาร์กินสัน นอกจากจะมีปัญหาในการเคลื่อนไหวแล้ว ยังมีการคิดการตัดสินใจและความจำถดถอยด้วย ดังนั้น การให้ผู้ป่วยทำสองอย่างพร้อมกัน หรือทำสลับไปมา ก็จะช่วยให้เปรียบเทียบอาการได้ว่าผู้ป่วยทำได้ดีขึ้นหรือไม่ และการแสดงผลมีความถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือมากกว่าการให้ผู้ป่วยทดสอบการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียว
ตัวอย่างเกมแบบทดสอบ
ผศ.พญ. พัทธมน และผศ.(พิเศษ)ดร.พญ.อรอนงค์ กล่าวถึงแผนพัฒนาแอปพลิเคชัน PDPlus ติดตามอาการผู้ป่วยพาร์กินสันในอนาคตว่าจะเพิ่มฟีเจอร์ให้ผู้ป่วยสามารถรีเช็กอาการของตัวเองได้ทันทีเมื่อผู้ป่วยกดบันทึกอาการ ระบบจะเชื่อมต่อให้ผู้ป่วยทำแบบทดสอบวัดประเมินอาการโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น หากผู้ป่วยรู้สึกว่ามีอาการสั่น ก็กดบันทึกและทำแบบทดสอบว่ามีอาการสั่นจริงหรือไม่ หรือแบบนี้ไม่เรียกว่าอาการสั่น
ในส่วนของแบบทดสอบประเมินการเคลื่อนไหวก็จะเพิ่มเติมแบบทดสอบสำหรับวัดประเมินกลุ่มอาการอื่น ๆ เช่น อาการอ่อนเพลีย หรือปัญหาการนอน การทรงตัวและการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน เป็นต้น
“เราอยากให้มีการใช้แอปพลิเคชันนี้ในวงกว้างมากขึ้น ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน แต่อยากขยายไปจนถึงกลุ่มคนปกติ เพราะการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานไม่ได้มีประโยชน์เพียงติดตามอาการ แต่ข้อมูลเหล่านี้จะกลายเป็นฐานข้อมูลใหญ่ระดับ Big data เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยแยกโรคในอนาคตว่า ลักษณะอาการแบบนี้ จัดเป็นกลุ่มคนปกติ หรือกลุ่มผู้ป่วยพาร์กินสัน หรือกลุ่มผู้ป่วยโรคอื่น รวมไปถึงการพยากรณ์โรคในระยะเริ่มต้นหรือใช้ในการพัฒนาการรักษาใหม่ๆ ในอนาคต” ผศ.(พิเศษ)ดร.พญ.อรอนงค์ กล่าวทิ้งท้าย
ดาวน์โหลดและสมัครใช้งานแอปพลิเคชัน PDPlus ได้ทั้งทาง App Store (https://apps.apple.com/do/app/pdplus-movement-diary/id1580906294) และ Play Store (https://play.google.com/store/apps/details?id=swoft.pdplus)
หากมีข้อสงสัยในการใช้งานแอปพลิเคชัน สามารถสอบถามได้ทางแอปพลิเคชัน Official Line ID: ChulaPD
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้