รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
8 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
อาจารย์จิตวิทยา จุฬาฯ ชี้ประเด็นการด้อยค่าตัวเอง ไม่ว่าเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและส่งผลต่อความสุขส่วนบุคคลและสังคม ชวนทุกฝ่ายรู้เท่าทันกระบวนการ Internalized Racism แล้วปรับมุมมองให้เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน
“ฉันผิวคล้ำ ใส่สีแดงสดไม่ได้หรอก เดี๋ยวเหมือนอีกาคาบพริก”
“เรามันแค่ประชากรประเทศโลกที่สาม จะไปเก่งสู้ฝรั่งได้อย่างไร”
หลายคนอาจจะคุ้นหูประโยคเหล่านี้และอาจจะเคยพูดกับตนเองด้วยซ้ำ โดยคิดว่า “ไม่เป็นไร เรื่องธรรมดา ก็มันจริง หรือพูดเล่นขำๆ” แต่สำหรับ ดร.พนิตา เสือวรรณศรี อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คำพูดเหล่านี้สะท้อนกระบวนการเหยียดและด้อยค่าตัวเอง (Internalized Racism) ซึ่งเป็นเสมือนเนื้อร้ายทำลายสังคมและความสุขของบุคคลในฐานะมนุษย์ที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน
“เราควรตระหนักและพูดถึงประเด็นนี้กันให้มากขึ้น สิ่งที่อันตรายกว่าการไม่เห็นด้วยคือการนิ่งเฉย ระบบ racism เป็นระบบที่กดทับอยู่แล้ว การละเลย ไม่พูดถึงสิ่งนี้เท่ากับเป็นการยอมรับมันโดยปริยาย” ดร.พนิตา ผู้วิจัยเรื่อง Internalized Racism กล่าว
Racism หมายถึงการเหยียดสีผิว เชื้อชาติ วัฒนธรรม ด้วยความรู้สึกว่าตนอยู่ในกลุ่มที่เหนือกว่า ดีกว่า แล้วยัดเยียดความรู้สึกด้อยค่านั้นให้ผู้อื่น ส่วน Internalized Racism เป็นการกระทำในทิศทางตรงกันข้าม คือผู้ที่ถูกกดขี่เชื่อและยอมรับความคิดว่าตัวเองด้อยกว่านั้นมาเป็นความจริงของตัวเอง
“พูดง่ายๆ ก็คือไม่ต้องมีใครมาเหยียดฉันหรอก ฉันชิงเหยียดตัวเองก่อนแล้ว เป็นกระบวนการที่เรามองว่าตัวเองด้อยกว่า ไม่ทัดเทียมผู้อื่น ไม่ว่าจะด้านเชื้อชาติ สีผิว Internalized Racism มักเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว ด้วยกระบวนการหล่อหลอมให้รู้สึกว่ามันเป็นอย่างนั้นและเป็นเรื่องธธรรมดา”
ดร.พนิตา เริ่มศึกษาและวิจัยเรื่อง Internalized Racism จากการสังเกตเบื้องลึกความรู้สึก “ไม่ดีพอ” ที่เกิดขึ้นภายในใจของเธอเอง
“สมัยที่เรียนต่างประเทศ เวลาไปเที่ยวโดยเครื่องบินกับเพื่อนต่างชาติซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาว เรามักจะบอกเพื่อนว่าให้รอเราด้วยเพราะเราน่าจะเป็นคนสุดท้ายที่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ที่บอกเพื่อนๆ อย่างนั้นเพราะเราเชื่อว่าเราต้องโดนตรวจกระเป๋าแน่ๆ ซึ่งก็เกิดขึ้นจริงๆ ตอนนั้นเรามองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ จนกระทั่งเพื่อนบอกว่า “นี่มันไม่ใช่เรื่องปกตินะ” เราจึงเริ่มมองเห็นว่ามันไม่ควรเป็นอย่างนั้น ทุกคนควรจะเท่าเทียมกัน ไม่ควรมีใครโดนเหยียด (racial slurs) โดนอคติมากกว่าคนอื่น”
ความคิดที่ว่าเราด้อยกว่า ไม่มีคุณค่าเท่า ไม่เก่งเท่า หรือสมควรแล้วที่ถูกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม มีผลลดทอนความมั่นใจในการใช้ชีวิตและอาชีพการงานของคนๆ นั้น ดร.พนิตา กล่าวเสริม
“ในฐานะนักจิตวิทยา เรามีหน้าที่ให้คำปรึกษาซึ่งต้องมีความน่าเชื่อถือ แต่เมื่อต้องไปให้คำปรึกษากับฝรั่ง เรากลับรู้สึกไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจว่าเขาจะเชื่อเราไหม เขาจะมองว่าเราเป็นคนต่างด้าวไหม ก็คล้ายๆ กับที่เรามักจะพูดกันว่า “คนผิวขาวพูดอะไรดูน่าเชื่อถือกว่า” พอเราพูดเช่นนี้กันบ่อยๆ และเห็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะซึมซับและ internalize เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบความคิดเราโดยอัตโนมัติ” ดร.พนิตา อธิบายกระบวนการหล่อหลอมความคิดด้อยค่าตัวเองในสังคม
กระบวนการที่เราถูกทำให้ยอมรับการเหยียดและด้อยค่าตนเอง ไม่ได้จำกัดในประเด็นเชื้อชาติเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงเรื่อง Internalized Oppression หรือการยอมรับการกดขี่ อย่างในเรื่องเพศ เราจะได้ยินความคิดที่ยอมรับว่า “ผู้ชายแข็งแรงกว่าผู้หญิง” “ผู้ชายมีความเป็นผู้นำมากกว่า” หรือ การยอมรับที่จะไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQ+ เป็นต้น ซึ่งความคิดเหล่านี้สะท้อนการยอมรับการตัดสินจากกลุ่มคนที่เราให้ค่าว่าเหนือกว่าในสังคม ได้แก่ กลุ่มผู้ชายรักต่างเพศ (heterosexual men)
Check list สัญญาณว่าเรากำลังถูก Internalized Racism
1.ความรู้สึกว่า “ตัวเองด้อยกว่าคนอื่น” หรือต้องพิสูจน์ตัวเองตลอดเวลา เมื่อใดที่รู้สึก “เราไม่เก่งเท่าคนอื่น” ควรกลับมาเช็คตัวเองว่า เราไม่เก่งจริงหรือ เหตุผลคืออะไร ถ้าความไม่มั่นใจมาจากความสามารถ ความไม่ถนัด ขาดประสบการณ์ อันนั้นเข้าใจได้ แต่ถ้าเกิดจากความรู้สึกที่ว่าเราไม่น่าเชื่อถือเพราะเป็นคนเอเชีย เพราะเป็นคนไทย ฯลฯ อันนี้เป็น internalized racism จากสังคมที่เหยียดและกดขี่เรา 2.ความรู้สึกต่อต้านหรือเฉยชากับกระบวนการเรียกร้องให้เกิดความเท่าเทียมในสังคม หรือเห็นด้วยกับระบบสังคมที่กดทับและมองว่าเป็นกฎเกณฑ์หรือเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้ว โดยที่ตนเองก็อยู่ในกลุ่มที่ไม่ได้รับความเท่าเทียม หรือเสียประโยชน์ตามที่ควรจะได้รับ
การต้านทานอิทธิพลทางสังคมหรือลบล้างกระบวนการด้อยค่าและกดทับตัวเอง (Internalized Oppression หรือ Racism) ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้หมดไปในเวลาอันรวดเร็ว หากแต่เป็นกระบวนการที่ใช้เวลา ทั้งนี้ ดร.พนิตา แนะนำ 4 วิธีที่จะช่วยให้เราเปลี่ยน “อุปนิสัยทางความคิด” ใหม่ ได้แก่
“หากเรามีสติรู้ตัวว่าทำไมเราถึงรู้สึกแบบนี้ เป็นเพราะอะไร เกิดการคิดวิเคราะห์ ตั้งคำถาม สะท้อนความรู้สึกของตัวเอง เราจะรู้เท่าทันการถูกกระทำให้เหยียดตัวเองและรู้ว่าเรากำลังดูถูกตัวเองอยู่หรือเปล่า นอกจากนี้ เราก็ต้องมีสติรู้ด้วยว่าเรากำลังดูถูกหรือด้อยค่าคนอื่นอยู่หรือเปล่าด้วย อย่ากดคนอื่นลงเพื่อให้เราดูสูงขึ้น อันนี้ก็ต้องระวังด้วยเหมือนกัน”
“เราต้องให้ความสำคัญกับตัวเองว่าเราไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ไม่ว่าเราจะเกิดมาเป็นเพศใด มีเชื้อชาติ สีผิวแบบไหน มันไม่ใช่สิ่งที่จะมากำหนดการใช้ชีวิตหรืออนาคตของเรา”
“เราจะได้เห็นภาพกว้างๆ ว่าความรู้สึกต่ำต้อยที่เราเป็นอยู่นั้นไม่มีแก่นสารและไม่ควรจะเกิดขึ้น รวมถึงการหาประสบการณ์ชีวิต เช่น การเข้าไปทำความรู้จักกับกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติ เพศ วัฒนธรรมและความเชื่อ เพื่อให้เห็นความงามในความต่างเหล่านั้น ทลายกำแพงความเชื่อในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว และอื่นๆ ที่เคยมี ให้เห็นความเป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์แบบ มีความเท่าเทียม ไม่เปรียบเทียบคุณค่าว่าอย่างไหนเหนือกว่าหรือด้อยกว่า และเพื่อตรวจสอบกลับมาที่ตัวเองว่า ความรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอนั้น เป็นข้อเท็จจริงหรือเป็นแค่สิ่งที่เราคิดไปเอง”
ดร.พนิตา กล่าวว่าปัจจุบัน สถานการณ์ Internalized Racism ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น โดยมีคนรุ่นใหม่เป็นหัวหอกสำคัญ
“คนรุ่นใหม่มีทัศนคติที่ยอมรับความหลากหลายมากขึ้นและให้ความสำคัญกับการรณรงค์เพื่อสร้างความเท่าเทียมมากกว่าในอดีต เขาเห็นการเคลื่อนไหวทางสังคมในระดับโลกมากขึ้น แล้วย้อนกลับมาตั้งคำถามว่าทำไมในประเทศยังทักกันเรื่องรูปร่างหน้าตา มีการเหยียดสีผิวกันอยู่ แล้วเริ่มเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แบน (banned) ทัศนคติที่เป็นการเหยียดกัน”
“การลด Internalized Racism เป็นขบวนการที่ใช้เวลา แต่แม้จะยาวนาน ก็ต้องทำไปเรื่อยๆ เพื่อสังคมที่ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข” ดร.พนิตา กล่าวทิ้งท้ายอย่างมีความหวัง
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์ นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้