รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
7 มีนาคม 2565
ผู้เขียน รัชกร วิจิตรชาญ
นิสิตปริญญาโทครุศาสตร์ จุฬาฯ ประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์ “สานสร้างสรรค์” เสริมสร้างแรงบันดาลใจให้คนทุกวัยและทุกกลุ่มได้สนุกกับงานจักสานอย่างง่ายๆไม่ต้องมีพื้นฐาน แถมได้สมาธิและความเพลิดเพลิน
“เครื่องจักสาน” เป็นงานฝีมือประเภทขัด-สานจากวัสดุธรรมชาติที่ทำขึ้นเป็นเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน ทั้งตะกร้า กระบุง เครื่องดักจับสัตว์ ฯลฯ มรดกเชิงช่างฝีมือจากรุ่นปู่ย่าตาทวดยังคงดำรงอยู่จวบจนปัจจุบัน แต่การใช้สอยงานประเภททนี้อาจต่างไป คนยุคนี้นิยมนำเครื่องจักสานมาตกแต่งภายในสถานที่เพื่อสร้างบรรยากาศ “มินิมอล เรียบแต่โก้”
ดังนั้น งานจักสานจึงยังเป็นที่ต้องการ แต่การสร้างสรรค์ผลงานกลับไม่ง่ายเพราะต้องอาศัยทักษะฝีมือและความชำนาญ รวมถึงความอดทนและสมาธิในการจดจำการขึ้น-ขัด-สานเส้นต่างๆ ให้เป็นลวดลายที่สวยงามและหลากหลาย นายสุชาติ อิ่มสำราญ นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงคิดค้นชุดกิจกรรม “สานสร้างสรรค์” อุปกรณ์เรียนรู้การจักสานอย่างง่ายด้วยตัวเลข เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนได้สนุกกับงานฝีมือ เสริมสร้างพัฒนาการและสมาธิ อีกทั้งยังเป็นการสานต่อมรดกทางวัฒนธรรมด้วย
“สำหรับเราที่เป็นครูศิลปะในหัวข้องานจักสานพบว่า คนที่ไม่มีพื้นฐานและทำไม่เป็นเลยก็จะรู้สึกว่างานจักสานนั้นยาก เลยไม่ทำต่อแม้ว่าลายสานนั้นจะง่ายมากและเหมาะกับผู้เรียนในขั้นเบื้องต้นแล้วก็ตามผมและอาจารย์ที่ปรึกษาเลยคิดวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนที่ไม่มีทักษะและพื้นฐานด้านงานจักสานเลยให้สามารถทำงานฝีมือสำเร็จได้ในครั้งแรก เพื่อสร้างความมั่นใจและกำลังใจในการเรียนต่อไป” นายสุชาติ กล่าว
ชุดกิจกรรม “สานสร้างสรรค์” เป็นชุดต้นแบบการสานด้วยตัวเลข ประกอบด้วยอุปกรณ์สานกระดาษแบบปุ่มกดและกระดาษสานลายแบบมีตัวเลขกำกับซึ่งนายสุชาติกล่าวว่าใช้ระบบตัวเลขเข้ามาช่วยเพื่อทำให้การจักสานเป็นเรื่องง่าย
“ระบบการสานด้วยตัวเลขเป็นความรู้จากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการสานด้วยตัวเลขต่างๆ เราจึงประยุกต์ใช้ตัวเลขมากำกับการยกขึ้น-ยกลงของเส้นยืนเพื่อสอดเส้นนอนให้ออกมาเป็นลวดลายตามแบบมาตรฐาน” นายสุชาติเล่าที่มาและกระบวนการออกแบบ “สานสร้างสรรค์”
ต้นแบบแรกของชุดอุปกรณ์นี้เป็นเครื่องสานกระดาษด้วยการกด แต่เครื่องสานกระดาษใช้เวลาการผลิตอุปกรณ์นานและต้นทุนสูง จึงมีการปรับปรุงให้มีตัวเลขกำกับที่เส้นกระดาษแทนการใช้เครื่องกดเพื่อให้เหมาะสมกับการสอนนักเรียนและใช้งบประมาณในการจัดทำไม่สูง
“ตัวต้นแบบที่ 2 เรานำเอาตัวเลขที่อยู่ในเครื่องมาใส่ลงบนกระดาษเส้นยืนเลย ซึ่งสามารถผลิตซ้ำได้ในเวลาอันรวดเร็ว ประหยัดต้นทุน พกพาสะดวก เราสามารถส่งชุดอุปกรณ์และจัดการเรียนออนไลน์ให้เด็กทำได้จากที่บ้าน รวมไปถึงวัสดุสานก็สามารถกำหนดเองได้ทั้งกระดาษและความหนาของกระดาษ” นายสุชาติ อธิบายและกล่าวเสริมว่าชุดกิจกรรม “สานสร้างสรรค์” ได้รับการจดสิทธิบัตรการออกแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
งานจักสาน เมื่อแปลงเป็นอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้“สานสร้างสรรค์”แล้ว มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการและสร้างสมาธิให้ผู้เรียนจึงนับเป็นชุดกิจกรรมที่เหมาะกับคนทุกกลุ่มและทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยชรา และผู้พิการ
“ผู้เรียนต้องมีสมาธิในการจดจ่อและจดจำเส้นสานต่างๆ คำนวณช่วงการยกเส้นสาน รวมไปถึงออกแบบการนำลายที่ทำเสร็จแล้วไปสร้างเป็นผลงานที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง นอกจากนี้ ชุดกิจกรรมอาจเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม “ฮิลใจ” ของผู้คนในช่วงกักตัวอยู่ในบ้านเพื่อผ่อนคลายความเครียดจากสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้น และหากใช้กับผู้สูงอายุ อุปกรณ์นี้จะช่วยให้ในการฝึกการใช้กล้ามเนื้อได้เช่นกัน”
นายสุชาติยังกล่าวถึงแผนที่จะพัฒนาชุดอุปกรณ์นี้สำหรับผู้พิการทางสายตาอีกด้วย โดยจะพัฒนาเครื่องยกกระดาษที่ตีตัวเลขเป็นอักษรเบรลล์เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถผลิตลายจักสานที่สวยงามได้แม้จะมองไม่เห็น
สุดท้าย นายสุชาติกล่าวถึงโอกาสและแผนการต่อยอดชุดกิจกรรม “สานสร้างสรรค์” ในเชิงพาณิชย์ว่าอาจผลิตออกมาเป็นชุดกระบวนการวิธีสานทั้งกระบวนการ และใช้วัสดุอื่นๆ นอกจาก “กระดาษ” อาทิ “หนัง” หรือ “พลากสติก PVC” ตามความต้องการของลูกค้าที่สนใจหาพื้นผิวเส้นสานแบบใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าของงานจักสานและชุดการเรียนรู้
ชมคลิปการสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์สานกระดาษแบบปุ่มกด https://www.youtube.com/watch?v=HsDViv-9hwE
สนใจติดต่อชุดกิจกรรม “สานสร้างสรรค์” ติดต่อที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“สำหรับการพัฒนานวัตกรรมทางด้านการสอนในปัจจุบันอาจจะมีหลากหลายแพลตฟอร์ม แต่เราอาจจะลืมไปว่าเราใช้สื่อเหล่านี้มากเกินไปและมากเกินกว่าที่เด็กจะรับไหวจนไม่มีสมาธิ ลองย้อนกลับมาพัฒนาระบบความคิด สร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน เข้าใจและมองในมุมมองของผู้เรียนให้มากขึ้น เพื่อนำมาปรับใช้ในการสอนให้เขาเรียนรู้อย่างมีทักษะและมีความสุข”
นายสุชาติ อิ่มสำราญ นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้