รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
10 มีนาคม 2565
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
อาจารย์คณะวิทย์ฯ จุฬาฯ พัฒนาเสาจราจรล้มลุกจากยางธรรมชาติ ยืดหยุ่นสูง ซับแรงกระแทก ลดแรงปะทะ คืนตัวกลับทันทีเมื่อถูกทับ เริ่มทดลองใช้แล้ว หวังทดแทนเสาจราจรพลาสติกในไม่ช้า
เสาจราจร เสาแท่งกลมสีส้มสลับแถบสะท้อนแสงสีขาว เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยจัดระเบียบการจราจรบนท้องถนนให้ผู้ขับขี่อยู่ในช่องทางที่ถูกต้องและเห็นเส้นทางชัดเจนขึ้นในยามค่ำคืน แต่หลายครั้ง เสาสีส้มแถบขาวเหล่านี้ก็ถูกชนจนแตกหัก เศษชิ้นส่วนกระเด็นกีดขวางถนน ทำให้ผู้ขับขี่ต้องหลบเลี่ยงจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนได้
ปัญหาดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นให้รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ พุ่มประดับ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดค้นและผลิต “เสาจราจรล้มลุกจากยางธรรมชาติ” ผลงานความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และบริษัท สยามยูไนเต็ด รับเบอร์ จำกัด
“เสาจราจรที่ใช้กันอยู่นั้นมักทำมาจากพลาสติก มีน้ำหนักเบา จึงแตกหักง่ายและล้มลงเมื่อโดนรถชนหรือกระแทก เราจึงพัฒนาเสาจราจรล้มลุกจากยางธรรมชาติ ที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นและซับแรงกระแทกได้ดีกว่า”
รศ.ดร.ศิริลักษณ์ กล่าวว่าเสาจราจรในปัจจุบันส่วนใหญ่ทำมาจากพลาสติก น้ำหนักเบาและมีความเปราะ ไม่อาจช่วยลดแรงกระแทกได้มากนัก แม้จะมีเสาจราจรที่ทำจากวัสดุอื่นที่มีสมบัติทนทานมากกว่า เช่น พอลิยูรีเทน (Polyurethane) หรือ เทอร์มอพลาสติกพอลิยูรีเทน (Thermoplastic polyurethane) แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเนื่องด้วยมีราคาสูง ดังนั้น ยางธรรมชาติจึงดูเป็นวัสดุที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาเป็นเสาจราจร
“ยางพาราหรือยางธรรมชาติมีความยืดหยุ่นสูง สามารถคืนตัวกลับได้ทันทีเมื่อถูกรถเหยียบทับหรือเฉี่ยวชน นอกจากนี้ ยางธรรมชาติยังมีความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประสบอุบัติเหตุด้วย”
อย่างไรก็ดี ยางธรรมชาติก็มีจุดอ่อน คือเมื่อโดนแสงแดดและความร้อนเป็นเวลานานจะเกิดรอยแตก ซึ่ง รศ.ดร.ศิริลักษณ์ ก็ได้พยายามทดลองและปรับสูตรเพื่อกำจัดจุดอ่อนตรงนี้
“เราปรับสูตรเคมีอยู่เป็นเวลานานจนได้เสายางพาราที่มีความยืดหยุ่นสูง ทนแรงปะทะได้ดี มีน้ำหนักมากพอที่จะรับแรงกระแทกและคืนตัวกลับได้ทันทีเมื่อถูกรถเหยียบทับหรือเฉี่ยวชน และที่สำคัญ ทนต่อสภาพอากาศและรังสี UV ด้วย”
รศ.ดร.ศิริลักษณ์ ออกแบบการทดสอบประสิทธิภาพของเสาจราจรล้มลุก โดยให้รถน้ำหนัก 1 ตัน วิ่งด้วยความเร็ว 30, 50 และ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้าชนและทับเสาจราจรล้มลุกซ้ำๆ จำนวน 90 ครั้ง จากนั้นก็มีการทดสอบให้รถขนาดน้ำหนัก 5 ตัน วิ่งชนและทับเสาล้มลุกด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นจำนวน 10 ครั้ง
“ผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจ เมื่อรถชนเสาจราจร เสาล้มลงไปกับถนน จนเมื่อรถขับพ้นเสาจราจรไปแล้ว เสาก็เด้งคืนตัวกลับมาอย่างเดิม ไม่แตก ทิ่มแทง หรือสร้างรอยขีดข่วนกับยานพาหนะมากนัก เพิ่มความปลอดภัยในการจราจรและช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ”
ปัจจุบัน มีการนำร่องใช้เสาจราจรล้มลุกจากยางธรรมชาติบนทางด่วนศรีรัชและทางด่วนพระราม 7 เพื่อทดสอบระยะเวลาการใช้งานจริง และเป็นการเก็บผลการทดลองไปด้วย
นอกจาก “เสาจราจรล้มลุก” รศ.ดร.ศิริลักษณ์ เล็งเห็นศักยภาพของยางธรรมชาติที่จะนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้ผู้ใช้รถใช้ถนนในอนาคต อาทิ แผงกั้น (barrier) บริเวณทางโค้งขึ้นลานจอดรถ หรือบริเวณลานจอดรถที่แคบๆ ซึ่งแผงกั้นที่ทำจากยางธรรมชาติจะช่วยลดแรงปะทะระหว่างยานพาหนะกับผนังลานจอดรถ รวมถึงไม่ก่อให้เกิดรอยขีดครูดลึกที่ยานพาหนะได้
“ประเทศไทยเป็นผู้นำในการผลิตยางธรรมชาติในโลก การนำยางธรรมชาติมาพัฒนาและผลิตอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนนับเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าผลิตผลภายในประเทศและช่วยเหลือเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย” รศ.ดร.ศิริลักษณ์ ฝากทิ้งท้าย
ผู้สนใจเสาจราจรล้มลุกจากยางธรรมชาติ สามารถติดต่อได้ที่บริษัท สยามยูไนเต็ดรับเบอร์ จำกัด หรือประสานผ่าน รศ.ดร.ศิริลักษณ์ พุ่มประดับ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ทางอีเมล Sirilux.P@chula.ac.th
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้