รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
28 มีนาคม 2565
ผู้เขียน รัชกร วิจิตรชาญ
นิสิตปริญญาโท ครุศาสตร์ จุฬาฯ เสนอแนวทางศิลปะและกิจกรรมศิลปะสนุกๆ 4 แบบ เพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็นและตาบอดสนิท
เพราะความงามอยู่ที่ใจ สายตาและการเห็นจึงไม่ใช่ข้อจำกัดในการเข้าถึงความหมายของศิลปะและสนุทรียะของเด็กตาบอดสนิทและเด็กที่การเห็นเลือนราง เด็กๆ ในโลกมืดก็สามารถสร้างสรรค์และเป็นศิลปินได้แม้จะมองไม่เห็น
นี่เป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่นำทางให้นางสาวจิราพร พนมสวย นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาศิลปศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษากิจกรรมด้านศิลปะในโรงเรียนเด็กตาบอดและนำเสนอผลงานวิจัย “กิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น” เพื่อให้แนวทางกับครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมมุมมองด้านศิลปะให้เด็กพิการทางสายตาที่มีระดับการมองเห็นเลือนรางไปจนถึงตาบอดสนิท
“เด็กตาบอดมีศักยภาพในตัวเองมาก การมองไม่เห็นไม่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาพัฒนาชีวิตของน้องเลย เขาสามารถใช้ชีวิตหรือแม้แต่เข้าใจงานศิลปะได้เหมือนคนทั่วไป เพียงแต่ต้องปรับรูปแบบหรือวิธีการให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเขา” นางสาวจิราพร กล่าว
“ในงานวิจัยนี้เราเน้นพัฒนาประสบการณ์ศิลปะและสุนทรียะสำหรับกลุ่มเด็กตาบอด ซึ่งแม้เขาจะมองไม่เห็น แต่เขายังใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ที่ยังมี อย่างเช่น การฟังเสียง การสัมผัส การดมกลิ่นเพื่อรับรู้และสร้างสรรค์ศิลปะได้” จิราพรหวังว่าผลงานวิจัยจะช่วยน้องๆ กลุ่มเด็กตาบอด
มีการศึกษาวิจัยมากมายที่ชี้ว่าศิลปะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่างๆ ของเด็ก แต่จากการสัมภาษณ์ผู้สอนกลุ่มเด็กบกพร่องทางสายตาในโรงเรียนสอนเด็กตาบอด นางสาวจิราพรพบว่าในชั้นเรียนของเด็กตาบอดดูจะไม่เน้นประสบการณ์ศิลปะและสุนทรียภาพ เธอจึงเกิดแรงบันดาลใจในการนำหลักศิลปะ ‘MATA’ มาออกแบบกิจกรรมที่จะกระตุ้นสุนทรียะของเด็กตาบอดไปพร้อมกับการเรียนรู้
หลักของศิลปะ ‘MATA’ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ประกอบด้วย 4 แนวทาง อันเป็นที่มาของตัวย่อ MATA ได้แก่
จากหลักศิลปะ MATA 4 ประการข้างต้น นาวสาวจิราพรได้ออกแบบเป็นกิจกรรมศิลปะสนุกๆ 4 กิจกรรม ที่ผู้สอนสามารถนำไปใช้กับเด็กๆ ได้
จิราพร กล่าวว่าในยุคการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะของเด็กตาบอดและสายตาเลือนรางก็ต้องทำผ่านหน้าจอเหมือนกับเด็กสายตาปกติเช่นกัน จึงต้องมีการลดทอนอุปกรณ์การเรียนรู้ จากเดิมที่คุณครูเคยเตรียมอุปกรณ์สำหรับการปั้นหรือทำกิจกรรมศิลปะต่างๆ กลายเป็นอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ง่ายภายในบ้าน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และต้องขอรับความร่วมมือจากผู้ปกครองในการเป็นครูพี่เลี้ยงเพื่อช่วยเด็กๆ ให้สามารถดำเนินกิจกรรมร่วมกันได้
เรื่องนี้ทำให้จิราพรนึกถึงแผนการต่อยอดกิจกรรมศิลปะเพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้และสนุกได้ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนหรือที่บ้าน
“ในอนาคต เราอาจจะพัฒนาเซตกิจกรรม เช่น อุปกรณ์สำหรับการปั้นดินน้ำมัน อุปกรณ์พื้นผิวต่างๆ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางศิลปะ ทักษะทางอารมณ์ให้เด็กๆ เข้าถึงศักยภาพของเขาอย่างสมวัยเราควรสนับสนุนความสามารถของเด็ก มากกว่าปล่อยให้เลือนรางไปพร้อมกับสายตาของเขา” จิราพร กล่าวทิ้งท้าย
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้