รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
7 เมษายน 2565
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาน้ำกระสายยาสำหรับการเตรียมยาน้ำแขวนตะกอนฟาวิพิราเวียรสำหรับผู้ป่วยเด็กเฉพาะราย ลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ในขั้นตอนการเตรียมยาน้ำจากยาเม็ด อีกทั้งช่วยผู้ปกครองดูแลให้ยาลูกหลานที่ป่วยในช่วง Home Isolation ได้อย่างเหมาะสม
ไม่เพียงผู้ใหญ่ แต่เด็กจำนวนไม่น้อยก็ป่วยเป็นโรคโควิด-19 และต้องได้รับการรักษาด้วยการกินยาเม็ดฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) ซึ่งเป็นยาหลักที่ใช้รักษาโรคระบาดในปัจจุบัน แต่การกินยาในรูปแบบเม็ดแบบที่ผู้ใหญ่บริโภคอยู่นั้นไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่ยังกลืนยาไม่ได้ อาจารย์ เภสัชกร ดร.วันชัย จงเจริญ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าใจปัญหานี้และได้พัฒนาสูตรน้ำกระสายยาสำหรับผสมกับยาเม็ดฟาวิพิราเวียร์ ที่ไม่เพียงเปลี่ยนยาที่มีรสขมให้เด็กทานได้ง่ายขึ้น แต่ยังช่วยลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้องเตรียมยาน้ำจากยาเม็ดให้กับผู้ป่วยเด็กเป็นรายครั้งอีกด้วย
เมื่อเด็กป่วยด้วยโรคคิด-19 บุคลากรทางการแพทย์ต้องเตรียมยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเด็กเป็นรายบุคคล โดยขั้นตอนเริ่มจากการคำนวนขนาดยาที่ต้องได้รับ จากนั้น นำยาเม็ดจำนวนที่มีปริมาณตัวยาเทียบเท่ากับปริมาณที่ต้องการ นำไปบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำหรือน้ำหวานก่อนจะนำไปป้อนให้ผู้ป่วยเด็ก
“กระบวนการเหล่านี้ต้องคำนึงถึงความแตกต่างกันตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วยเด็ก ซึ่งหมายความว่าสำหรับเด็กแต่ละคน บุคลากรทางการแพทย์ต้องเตรียมจำนวนเม็ดยา บด และผสมน้ำให้เป็นรายๆ ไป ขั้นตอนค่อนข้างละเอียดและใช้เวลา เมื่อผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น กระบวนการเหล่านี้ก็ต้องใช้เวลามากขึ้นตามไป และเป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่บุคลากรมีไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย อาจทำให้ผู้ป่วยเด็กได้รับยาไม่ครบตามปริมาณที่เหมาะสมตามแผนการรักษาและอาจเกิดการดื้อยาได้เมื่อได้รับยาไม่ตรงกับขนาดที่ควรจะเป็น” อาจารย์ ภก. ดร.วันชัย กล่าวถึงปัญหาการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคโควิด-19
นอกจากปัญหาในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ปัจจุบันและอนาคต ผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการไม่หนักจะเข้ากระบวนการรักษาตัวแบบ Home isolation มากขึ้น ซึ่งหมายความว่า ครอบครัวที่มีเด็กติดโรคโควิด-19 ต้องดูแลและป้อนยาฟาวิพิราเวียร์ให้กับเด็กเอง
“ปัญหาที่เราห่วงใยคือผู้ปกครองจะบด ตวง และผสมยาได้อย่างที่บุคลากรทางการแพทย์ทำให้ได้หรือไม่ อาจทำให้เด็กได้รับยาไม่ครบถ้วนเหมาะสมและได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง”
ข้อห่วงใยดังกล่าวทำให้อาจารย์ ภก.ดร.วันชัย และคณะผู้วิจัย ประกอบด้วย ผศ. ภญ. ดร.นฤพร สุตัณฑวิบูลย์ ผศ. ภญ. ดร.ดุษฎี ชาญวาณิช รศ. ภญ. ดร.อังคณา ตันติธุวานนท์ และ อ. ภก. ดร.ภาสวีร์ จันทร์สุก จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เร่งคิดค้นและพัฒนาน้ำกระสายยาเพื่อใช้กับยาเม็ดฟาวิพิราเวียร์ ที่สามารถเตรียมให้เป็นรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอนที่รับประทานง่ายสำหรับผู้ป่วยเด็ก และสะดวกต่อการเก็บไว้ใช้ได้จนครบกำหนด 5-10 วัน ตามระยะเวลาการรักษาที่แพทย์แนะนำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครองดูแลให้ยาลูกหลานได้อย่างเหมาะสม
“สุขภาพเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ เมื่อเราเห็นปัญหาในเด็ก เห็นบุคลากรทางการแพย์ลำบาก เราจึงนำองค์ความรู้มาพัฒนาสิ่งนี้เพื่อแบ่งเบาภาระเพื่อนร่วมวิชาชีพ” อาจารย์ ภก. ดร.วันชัย กล่าว
อาจารย์ ภก. ดร.วันชัย กล่าวถึงน้ำกระสายยาที่ใช้ผสมกับยาเม็ดฟาวิพิราเวียร์ โดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ว่าเป็นสูตรที่มีรสหวานอ่อนๆ และสามารถคงปริมาณตัวยาสำคัญได้ตลอดอายุการใช้งานที่แนะนำ ที่สำคัญเมื่อผสมยาเม็ดกับน้ำกระสายยาแล้วสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 10 วัน! ที่อุณหภูมิห้องหรือในตู้เย็น
“หากนึกถึงภาพการผสมยาเม็ดที่ถูกบดละเอียดกับน้ำกระสายยา เมื่อตั้งทิ้งไว้ไม่นาน ผงยาจะตกตะกอนนอนก้นและเขย่ากลับคืนได้ยาก แต่สูตรน้ำกระสายยาที่เราพัฒนาขึ้นนี้จะช่วยพยุงผงยาไม่ให้นอนก้นเร็วเกินไปและสามารถคงสภาพได้นานพอที่จะเตรียมเป็นยาสำเร็จรูปพร้อมใช้ได้” อาจารย์ ภก. ดร.วันชัย อธิบายคุณลักษณะเด่นของน้ำกระสายยา
“เราต้องการทำให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานสะดวกขึ้น ผู้ปกครองสามารถดูแลบุตรหลานเองได้ เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ไม่บ้วนหรือคายยาทิ้ง”
หลังจากประสบความสำเร็จในการคิดค้นสูตรน้ำกระสายสำหรับยาเม็ดฟาวิพิราเวียร์ คณะผู้วิจัยได้ทดลองผลิตน้ำกระสายยาในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการนำไปใช้ของสถานพยาบาล
“เราไม่มีเครื่องมือการผลิตแบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เราจึงเตรียมในห้องแลปมาตรฐานที่อ้างอิงมาตรฐานห้องสะอาด (clean room) ที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นระดับที่เล็กกว่าอุตสาหกรรมประมาณ 10 เท่า ในห้องแลปของเรา หนึ่งชั่วโมง เราจะเตรียมน้ำกระสายยาได้ประมาณ 10 ถึง 20 ลิตร และใน 1 วัน เราผลิตได้ประมาณ 50 ลิตร” อาจารย์ ภก. ดร.วันชัย กล่าว
นอกจากการเตรียมน้ำกระสายยาแล้ว คณะผู้วิจัยยังได้จัดทำคู่มือขั้นตอนการนำน้ำกระสายยาไปใช้เพื่อเตรียมยาสำหรับดูแลผู้ป่วยเด็กด้วย
“เราทำโบว์ชัวร์ มี QR Code วิดีโอแสดงขั้นตอนการเตรียมยาน้ำแขวนตะกอนจากยาเม็ด สำหรับแนะนำสถานพยาบาล วิธีการคำนวนจำนวนยาเม็ดที่ต้องใช้กับผู้ป่วยเด็กที่มีน้ำหนักและช่วงอายุที่ต่างกัน รวมถึงความเข้มข้นของตัวยาหลังการผสม และมีตารางกำกับเกี่ยวกับปริมาณการใช้ยาน้ำแขวนตะกอนนี้ตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วยเด็ก เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งจัดเป็นยาที่ใช้รักษาเฉพาะรายบุคคล”
ในอนาคต เมื่อการระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลาย อาจารย์ ภก. ดร.วันชัย เผยว่าคณะผู้วิจัยน้ำกระสายยามีแผนจะพัฒนาสูตรน้ำกระสายยาสำหรับปรับใช้กับยาตัวอื่น ๆ หรือพัฒนาเป็นรูปแบบผงพร้อมใช้ (ready to use) เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถาณการณ์ที่ไม่คาดคิดหากพวกเราต้องเผชิญภาวะแบบโควิด-19 อีก
สถานพยาบาลหรือหน่วยงานที่สนใจน้ำกระสายยาฟาวิพิราเวียร์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ. ดร.นฤพร สุตัณฑวิบูลย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ 083-445-9393
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้