รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
8 เมษายน 2565
วิศวฯ พร้อมแพทย์ จุฬาฯ ร่วมคิดค้นนวัตกรรมตรวจจำแนกชิ้นเนื้อเสี่ยงมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร คำนวณผลแม่นยำ ย้ำชูการแพทย์เชิงป้องกัน หวังลดยอดผู้ป่วยมะเร็งฯ
โรคมะเร็งหลายชนิดสามารถรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ๆ อย่างเช่น มะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งสถิติโลกชี้ว่าเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้ป่วยเป็นอันดับสามและสี่ตามลำดับ (รองจากโรคมะเร็งปอดและตับ) โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ในกลุ่มคนไข้สูงอายุในประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นด้วย
ปัจจุบันสถิติผู้สูงอายุ (เกิน 50 ปี) ในประเทศไทยปี 2564 ว่ามีจำนวนกว่า 15 ล้านคน ซึ่งเข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคมะเร็งระบบทางเดินอาหาร
“สำหรับผู้สูงอายุโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งในระบบทางเดินอาหารจะเพิ่มขึ้น จึงมีคำแนะนำให้ผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจช่องท้องเป็นประจำทุก ๆ 5-10 ปี ซึ่งหากประชากรกลุ่มนี้เข้าถึงบริการสาธารณสุขดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง ก็จะได้เป็นแนวทาง “เวชศาสตร์ป้องกัน” (Preventive Medicine) ที่ให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจและรักษาได้อย่างทันท่วงทีในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะสามารถช่วยลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้ได้”
นี่คือที่มาของโจทย์ในการสร้างนวัตกรรม AI ล่าสุดจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องตรวจทางเดินอาหารอัจฉริยะ “DeepGI” เพื่อช่วยตรวจจับติ่งเนื้อที่มีความผิดปกติในลำไส้ใหญ่ ผลงานชิ้นสำคัญที่ร่วมพัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรพล เวทีกูล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สติมัย อนิวรรณน์ และ อาจารย์ แพทย์หญิง เกศินี เธียรกานนท์ จากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ด้วยการสนับสนุนจากศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (Chulalongkorn University Technology Center : UTC) และบริษัท อีเอสเอ็ม โซลูชั่น จำกัด คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลวิจัยมาตั้งแต่ปี 2562 จนพัฒนาAI ตรวจจับความผิดปกติในทางเดินอาหาร (DeepGI – Deep Technology for Gastrointestinal Tracts) ได้สำเร็จ และทดลองให้บริการคนไข้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ แล้วตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา
สัญญาณเตือนมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เราสังเกตได้ด้วยตัวเอง อาทิ อุจจาระมีมูกปนเปื้อน คลำพบก้อนบริเวณท้องน้อยด้านขวา ขนาดอุจจาระลีบเล็ก (ผลจากขนาดชิ้นเนื้อมะเร็งที่ใหญ่อุดทางเดินลำไส้) ถ่ายอุจจาระไม่ปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ฯลฯ มักเป็นอาการที่โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อยู่ในระยะที่ลุกลามแล้ว
“ดังนั้นจึงไม่ควรรอให้เกิดอาการ แต่ถ้าอายุเกิน 50 ปีหรือมีปัจจัยเสี่ยง ควรให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยร่างกายด้วยการส่องกล้องหรือการคัดกรองอื่นตามมาตรฐาน โดยเฉพาะผู้ทีมีบุคคลในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือเคยป่วยเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง”
ปัจจุบัน การส่องกล้องผ่านช่องทวารหนัก (ตรวจลำไส้ใหญ่) หรือระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย เป็นวิธีการมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ติ่งเนื้อ ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งการตรวจจับความผิดปกติค่อนข้างมีความท้าทายมาก เนื่องจากลักษณะของติ่งเนื้อมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น แบบที่นูน และแบบที่แบนราบไปกับผนังลำไส้ อีกทั้งอาจจะมีขนาดที่เล็ก และสีที่กลมกลืนไปกับบริเวณโดยรอบ จึงทำให้การตรวจวินิจฉัยจึงผิดพลาดได้ง่ายหากแพทย์ขาดประสบการณ์หรืออุปกรณ์การแพทย์ไม่ครบเครื่อง จากสถิติพบว่าการตรวจอาจผิดพลาดได้ถึงร้อยละ 22 โดยประมาณ
ผศ.ดร.พีรพล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยให้ทีมแพทย์ (AI-Assisted Solution) สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และลดความผิดพลาดดังกล่าว “DeepGI จะประมวลวิเคราะห์ภาพที่ได้จากวีดีโอระหว่างการส่องกล้อง แล้ววิเคราะห์ความผิดปกติด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยใช้เทคนิคเครื่องจักรเรียนรู้ที่เรียกว่า การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ซึ่งโมเดลจะตีกรอบบริเวณที่มีความผิดปกติแล้วแจ้งเตือนให้กับแพทย์แบบทันที (real-time) โดยมีความแม่นยำมากกว่าร้อยละ 90 พร้อมให้การวินิจฉัย (characterization) ชนิดของติ่งเนื้อว่าเป็น ชิ้นเนื้อที่เป็นอันตราย (Neoplastic) หรือไม่เป็นอันตราย (Hyperplastic)อย่างแม่นยำ ความสามารถด้านนี้จะช่วยเพิ่มให้แพทย์มีความมั่นใจในการวินิจฉัยโรคได้มากขึ้น”
DeepGI เป็นระบบตรวจความผิดปกติในทางเดินอาหารที่มีจุดเด่น 4 ประการ ดังนี้
ผศ.ดร.พีรพล เผยว่าปัจจุบัน DeepGI อยู่ระหว่างการยื่นขอจดสิทธิบัตรระดับชาติ และยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีระดับ 5 (Technology Readiness Level 5, TRL5) “ปัจจุบัน DeepGI นอกเหนือจากช่วยในการตรวจจับติ่งเนื้อ ยังสามารถระบุชนิดของชิ้นเนื้อได้ด้วยว่าเป็นติ่งเนื้อที่เป็นเนื้อร้าย (Neoplastic) หรือเป็นติ่งเนื้อที่ไม่ใช่เนื้อร้าย (Hyperplastic) โดยไม่จำเป็นต้องตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อออกมาทดสอบ และเรากำลังขยายขีดความสามารถของ DeepGI ในการตรวจหาความผิดปกติไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น กระเพาะอาหาร และท่อน้ำดี”
“ผมหวังว่านวัตกรรมนี้จะถูกนำไปเป็นผู้ช่วยแพทย์ตามโรงพยาบาลอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะโรงพยาบาลชนบทที่ขาดแคลนบุคลากรทางแพทย์และเทคโนโลยี”
สถานพยาบาลที่สนใจ DeepGI สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ผศ.ดร.พีรพล เวทีกูล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยประสานผ่านอีเมล peerapon.v@chula.ac.th หรือผ่านทางเว็บไซต์ https://deepgi.cp.eng.chula.ac.th/
ส่วนคนทั่วไปที่ต้องการเข้ารับบริการด้วยนวัตกรรมระบบตรวจความผิดปกติในทางเดินอาหาร (DeepGI) เพื่อป้องกันโรคมะเร็งทางเดินอาหาร สามารถนัดหมายเพื่อขอรับบริการได้ที่ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 10 โซน A หมายเลขโทรศัพท์ 0-2256-4000 ต่อ 81001-2
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร รพ.จุฬาฯ แนะข้อสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งหากพบหลายอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยร่างกายโดยละเอียดและรับการรักษา– อุจจาระมีมูกปนเปื้อน– เลือดออกทางทวารหนัก– ปวดท้องน้อย (ปวดบิด ๆ )– คลำพบก้อนบริเวณท้องน้อยด้านขวา– ขนาดอุจจาระลีบเล็ก (ผลจากขนาดชิ้นเนื้อมะเร็งที่ใหญ่อุดทางเดินลำไส้)– ถ่ายอุจจาระไม่ปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายน้อยลง– น้ำหนักลด เบื่ออาหาร– สีหน้าซีดเซียวจากการเสียเลือด– ปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน ผายลมลดลง อันเกิดจากลำไส้อุดตัน
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้