รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
25 เมษายน 2565
ผู้เขียน ขนิษฐา จันเทร์เจริญ
จุฬาฯ เปิดศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร ระดมแพทย์เฉพาะทางหลายสาขา รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิดด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีขั้นสูง เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและโอกาสหายจากโรค
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 คือราว 80,000 คนต่อปี แนวโน้มสถิตินี้อาจจะยืนหนึ่งต่อไป เนื่องด้วยในแต่ละปี มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่กว่า 200,000 คน! เป็นผู้ป่วยในทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก วัยทำงาน ไปจนผู้สูงอายุ
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ผู้ป่วยหลายคนมักรู้สึกหมดหวัง กลัวและกังวลว่าจะมีแนวทางรักษาที่ได้ผลหรือไม่ ผลข้างเคียงจะเป็นอย่างไร และจะเอาทุนค่าใช้จ่ายในการรักษาจากไหน อย่างไร คำถามเหล่านี้ทับถมทุกข์ที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่ไม่น้อยเลย ซึ่งศูนย์ความเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หวังจะเป็นหนึ่งในคำตอบให้ผู้ป่วยมะเร็ง
“โรคมะเร็งเป็นโรคที่รักษายากเนื่องจากธรรมชาติของโรคมีความซับซ้อน การบำบัดรักษาจึงต้องบูรณาการความร่วมมือจากแพทย์หลากหลายสาขา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จึงได้ก่อตั้ง “ศูนย์ความเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร” คัดสรรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาวิชาต่างๆ ให้มาทำงานร่วมกันในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด” รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เผยที่มาของแนวคิดในการก่อตั้งศูนย์ฯ ซึ่งเปิดให้บริการมาแล้ว 7 ปีและมีจำนวนผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาเพิ่มขึ้นทุกปี
ในการรักษาผู้ป่วยอย่างครบวงจรและได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ กล่าวว่าศูนย์ความเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสหสาขาวิชาชีพมาทำงานร่วมกัน ใช้วิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ชั้นสูงเพื่อรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานระดับนานาชาติ รวมถึงนำนวัตกรรมใหม่ๆ อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ มาใช้ในการรักษา เช่น หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery) เครื่อง MRI และเครื่องฉายรังสีด้วยอนุภาคโปรตรอน ซึ่งเป็นแห่งแรกในอาเซียน สามารถให้รังสีไปที่ก้อนมะเร็งได้อย่างแม่นยำ ลดปริมาณรังสีไปสู่อวัยวะรอบข้าง และลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการฉายรังสี
นอกจากการรักษาด้วยวิทยาการอันทันสมัยแล้ว ศูนย์ฯ ยังคำนึงถึงการดูแลผู้ป่วยในมิติอื่นๆ อย่างรอบด้าน อาทิ ให้คำแนะนำผู้ป่วยตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการรักษา ส่งเสริมสุขภาพระหว่างการรักษา ติดตามสุขภาพผู้ป่วยเมื่อจบการรักษา รวมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสิทธิการรักษาอย่างเท่าเทียม ได้มาตรฐาน และครอบคลุมทุกสิทธิการรักษาอย่างดีที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อคลายความกังวลใจในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา
รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ กล่าวถึงแนวทางมาตรฐานการให้ยารักษามะเร็งในปัจจุบันว่ามี 3 วิธี ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งแตกต่างกัน ดังนี้
1. ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการ ทำให้โรคมะเร็งลดลง ค่าใช้จ่ายไม่สูง มีประสิทธิภาพปานกลาง แต่อาจมีผลข้างเคียงมาก
2. ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) มีฤทธิ์ในการมุ่งรักษาเฉพาะจุด เป็นการให้ยารักษาที่จำเพาะต่อการกลายพันธุ์ของมะเร็ง มีประสิทธิภาพจำเพาะในผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ตรงกับตัวยา อาการข้างเคียงมักจะไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับยาเคมีบำบัด
และแนวทางที่ 3 ซึ่งกำลังได้รับความสนใจอย่างมากและอาจเป็นความหวังให้กับผู้ป่วยมะเร็ง คือ ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ซึ่งสามารถปลดล็อกการซ่อนตัวของเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ภูมิคุ้มกันร่างกายสามารถเข้าไปกำจัดเซลล์มะเร็งได้ ไม่จำเพาะกับชนิดมะเร็ง และส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงน้อย
“ปัจจุบันโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง กำลังวิจัยและพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด โดยมุ่งเน้นพัฒนาการรักษา 3 วิธีคือ เซลล์บำบัดมะเร็ง วัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล และยาแอนติบอดีต้านมะเร็ง (ยาภูมิต้านมะเร็ง) ซึ่งภูมิคุ้มกันบำบัดทั้ง 3 วิธีนี้มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน สามารถใช้รักษาร่วมกัน และใช้ร่วมกับการรักษามะเร็งด้วยวิธีการอื่นๆ ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยในผู้ป่วยโรคมะเร็งเพื่อจะได้ทำการทดสอบในวงกว้างต่อไป” รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ กล่าว พร้อมย้ำความมั่นใจว่าการวิจัยการรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดนี้จะเป็นความหวังที่ทำให้วงการแพทย์ไทยพิชิตโรคมะเร็งได้ไม่แพ้ชาติใดในโลก
นอกจากการบริการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งแล้วศูนย์ความเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร จุฬาฯ ยังมีบทบาทในด้านการสอนและอบรม โดยมีการสอนระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพาะทางโรคมะเร็งในรูปแบบผสมผสานเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมนานาชาติ
บทบาทสำคัญอีกด้านของศูนย์ฯ คือการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีระดับสูงเพื่อการวินิจฉัย การรักษา การพยากรณ์โรค และการทำนายผลการตอบสนองต่อการรักษาและนำมาใช้ในการยกระดับคุณภาพการรักษาพยาบาล เพื่อให้ผลงานวิจัยด้านโรคมะเร็งได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
“ศูนย์ฯ ยังทำหน้าที่ในการตรวจหายีนเกี่ยวกับโรคมะเร็งซึ่งเป็นการตรวจขั้นสูง ทำทะเบียนมะเร็งเพื่อที่จะรู้ว่าเรามีผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดไหนมากน้อยเพียงใด เพื่อเตรียมการดูแลและปรับการรักษาในอนาคตให้ถูกต้อง เหมาะสมและดีที่สุด” รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ กล่าวเสริม
ที่ผ่านมา ศูนย์ความเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร ได้มีการลงนามความร่วมมือกับ MD Anderson Cancer Center สถาบันผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งระดับโลก ที่ตั้งอยู่ในเมืองฮุสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างสถาบัน จัดการประชุมวิชาการทั้งด้านงานวิจัยและด้านงานบริการทางการแพทย์ รวมถึงการพัฒนางานบริการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสร้าง “โครงข่ายข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็ง” ในแต่ละโรงพยาบาลเพื่อให้บริการผู้ป่วยได้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย
สุดท้าย รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ กล่าวแนะให้ผู้ป่วยมะเร็งดูแลตัวเองโดยเฉพาะด้านโภชนาการ รับประทานอาหารที่เหมาะสมและจำเป็นต่อร่างกาย และพบแพทย์เฉพาะทางที่มีเครื่องมือพร้อม มีศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อวางแผนในการรักษาให้ได้ผลดีที่สุด เพราะ “การรักษาโรคมะเร็งที่ครบวงจรและครอบคลุมจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคมะเร็งได้”
ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลหรือรับบริการการรักษาที่ศูนย์ความเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร จุฬาฯ โทร. 0-2256-4530 Line @ChulaCancer
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้