รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
6 มิถุนายน 2565
ผู้เขียน ปริณดา แจ้งสุข
ทีมนิสิตเก่าจุฬาฯ ร่วมกับ CU Innovation Hub ผุดไอเดียสตาร์ทอัพ “Kollective” เครื่องมือและบริการทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์แบบครบวงจรโดยใช้ Big data วิเคราะห์ข้อมูลเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่ใช่วัดผลได้เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจ
ในยุคที่ใครๆ ก็ค้นหาข้อมูลได้จากอินเทอร์เน็ต ข้อมูลของสินค้าและบริการที่สร้างขึ้นโดยแบรนด์อาจไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค เพราะปัจจุบันผู้บริโภคเลือกที่จะค้นหาข้อมูลการรีวิวสินค้าจากผู้ใช้จริงมากกว่า จึงทำให้ อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) หรือ KOL (Key Opinion Leader) กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น
หลายแบรนด์จึงหันมาทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ จนเกิดเป็นกระแสที่แวดวงการตลาดต้องหันมาสนใจ คุณเจ วราพล โล่วรรธนะมาศ นิสิตเก่าจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีม มองเห็นโอกาสจากเทรนด์อินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งเมื่อผนวกกับจุดแข็งของทีมในด้านเทคโนโลยีแล้ว จึงเกิดเป็น “Kollective” สตาร์ทอัพมูลค่า 100 ล้านบาท ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
“เมื่อทุกแบรนด์เริ่มตื่นตัวและหันมาทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์กันมากขึ้น ก็เกิดคำถามว่าการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ยังเวิร์คอยู่หรือไม่ หลายแบรนด์ที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์แล้วไม่เวิร์คเป็นเพราะว่าไม่รู้จะทำอย่างไร ติดตามผลไม่ได้ว่าอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคนให้ผลลัพธ์อย่างไร และไม่รู้ว่าทำแล้วเกิดยอดขายขึ้นมาจริงหรือเปล่า” คุณเจ วราพล ชี้โจทย์สำคัญในวงการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งกลายมาเป็นไอเดียธุรกิจ Kollective – Influencer Marketing optimizer หรือผู้ช่วยด้านเทคโนโลยีทางการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ โดยใช้เทคโนโลยี และ Big data มาทำการตลาดที่เฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย และสามารถติดตามผลลัพธ์อย่างเป็นระบบ
ก่อนหน้านี้ การทำการตลาดมักใช้การสื่อสารแบบออฟไลน์ อย่างเช่น การโฆษณาทางโทรทัศน์ ป้ายโฆษณา หรือทำการตลาด ณ จุดขาย เป็นต้น ต่อมาในยุคที่ผู้คนเริ่มใช้สื่อออนไลน์ ประกอบกับสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่ช่วยเร่งให้ผู้คนเข้ามาอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้นเป็นเท่าตัว การตลาดก็ขยับเข้าสู่พื้นที่ออนไลน์ เช่น โฆษณาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย หรือการทำ SEO (Search Engine Optimization) เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้ติดตามผลการตลาดได้ง่ายขึ้น และยังสามารถเลือกได้ว่าจะส่งโฆษณาไปให้ผู้บริโภคกลุ่มใด
อย่างไรก็ตาม การตลาดออฟไลน์หรือออนไลน์ที่กล่าวมานั้นยังเป็นเรื่องการสื่อสารทางตรงของแบรนด์ (direct communication)
“เมื่อคนเห็นโฆษณาจากแบรนด์บ่อยๆ ก็เริ่มเบื่อ และไม่เชื่อในสิ่งที่แบรนด์สื่อสาร เหมือนเป็นการสื่อสารทางเดียว ไม่ได้เกิดการมีส่วนร่วม (engagement) ในโลกออนไลน์ ดังนั้น การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ จึงเกิดขึ้น”
คุณวราพล อธิบายการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing) ว่าเป็นการสื่อสารทางอ้อม (indirect communication) ที่แบรนด์ต้องการให้ผู้บริโภคสื่อสารกันเองถึงสินค้าและบริการที่ได้ลองใช้ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม การบอกต่อ (words of mouth) และทำให้แบรนด์มีตัวตนบนโลกออนไลน์นั่นเอง
คุณวราพล กล่าวถึงข้อดีของการใช้อินฟลูเอนเซอร์ในการทำการตลาด ซึ่งทุกแบรนด์ควรให้ความสำคัญ ดังนี้
การที่แบรนด์สื่อสารเพียงฝ่ายเดียวก็เหมือนกับการที่เราพูดแล้วไม่มีใครฟัง แต่การที่แบรนด์ใช้อินฟลูเอนเซอร์มาช่วยพูดแทน ก็เหมือนกับการที่เราให้ลูกค้าสื่อสารกันเองถึงสินค้าหรือบริการของแบรนด์เรา เป็นการบอกต่อ (words of mouth) ถึงความพึงพอใจในสินค้าและบริการ ซึ่งจะดูมีความจริงใจมากกว่า ใกล้ชิดกับชีวิตของลูกค้ามากกว่า เมื่อลูกค้าเชื่อถือในตัวอินฟลูเอนเซอร์อยู่แล้ว เขาก็มีแนวโน้มที่จะเปิดใจรับฟังสิ่งที่แบรนด์อยากจะสื่อสารมากยิ่งขึ้นไปด้วย
นอกจากช่วยรีวิวสินค้าแล้ว อินฟลูเอนเซอร์ยังเปรียบเสมือนตัวแทนของแบรนด์อีกด้วย ดังนั้นหากเราอยากให้ลูกค้ามองแบรนด์เราเป็นแบบไหน การเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่สอดคล้องกับตำแหน่งของแบรนด์ ก็จะช่วยในเรื่องการสร้างแบรนด์ได้อีกด้วย
ปัจจุบันลูกค้ามักจะค้นหารีวิวสินค้าจากอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นทาง Google, YouTube หรือ Pantip ถ้าหากลูกค้าไม่พบแบรนด์เราอยู่ในนั้น ก็เท่ากับว่าเราไม่มีอยู่
“ในยุคที่ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากมาย การที่แบรนด์ไม่มีตัวตนบนโลกออนไลน์เลย จะทำให้แบรนด์แทบไม่ได้เป็น “แม้แต่หนึ่งในตัวเลือก” ที่เขาจะเปรียบเทียบเลยด้วยซ้ำ” คุณวราพล กล่าว
อย่างไรก็ดี การทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ไม่ใช่แค่การจ้างเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ให้มาช่วยรีวิวสินค้าและบริการเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญก็คือกลยุทธ์ที่เหมาะสมและการติดตามผลได้ เพื่อที่จะช่วยให้การใช้อินฟลูเอนเซอร์เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจได้จริง
“นี่คือสิ่งที่เราตั้งใจจะนำเสนอ Kollective เป็น Influencer Marketing optimizer หรือผู้ช่วยด้านเทคโนโลยีทางการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ โดยใช้เทคโนโลยี และ Big data มาทำการตลาดที่เฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย และสามารถติดตามผลลัพธ์ได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้แบรนด์สามารถปิดการขายได้มากที่สุด” คุณวราพล กล่าวเน้น พร้อมเผยจุดแข็งด้านการบริการของ Kollective ที่จะช่วยให้แบรนด์บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาด ได้แก่
สำหรับการบริการ Kollective มีบริการ 3 ด้านที่แบรนด์สามารถเลือกได้ตามความต้องการ
“เราจะปฏิวัติการทำการตลาดแบบเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็น แนวคิดในด้านการทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ที่เน้นยอดขายมากขึ้น ทำการสื่อสารที่ตรงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด” คุณวราพล กล่าวสรุป
Kollective เติบโตอย่างรวดเร็วภายใต้การสนับสนุนจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU Innovation Hub
“เราอยู่กับ CU Innovation Hub ตั้งแต่ต้น ช่วยเราค้นหาไอเดีย ให้คำปรึกษา สนับสนุนสถานที่ จนเราสามารถออกไปทดลองตลาดได้เร็วมาก”
ปฏิเสธไม่ได้ว่าคอนเนคชันนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการทำธุรกิจ โดยเฉพาะสตาร์ทอัพที่ต้องการผู้ลงทุนที่จะมาช่วยในการดำเนินกิจการ ซึ่ง CU Innovation Hub ถือเป็นศูนย์ที่รวบรวมคอนเนคชัน ไม่ว่าจะเป็นรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ในการทำสตาร์ทอัพ แหล่งทุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ
“ด้วยคอนเนคชันและแหล่งเงินทุนที่สนับสนุนให้อยู่ตลอด บริษัทจึงสามารถ scale up ธุรกิจขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว” คุณวราพล กล่าวทิ้งท้าย
สนใจสื่อสารและสร้างแบรนด์กับ Kollective สามารถติดตามรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ https://kollective.one/
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
อาหารเป็นยา นวัตกรรมเพื่อสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน
จุฬาฯ ชู “หมัดสั่ง” ภาพยนตร์สารคดีฟื้นจิตวิญญาณมวยไทยบนสังเวียนโลก
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้