รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
14 มิถุนายน 2565
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
งานวิจัยทางทันตกรรม จุฬาฯ เผยคนไทยมีภาวะฟันหายมากกว่าต่างชาติ ในคนไทย 100 คน จะมีผู้ที่มีภาวะฟันหาย 9 คน หนึ่งปัจจัยสำคัญมาจากความผิดปกติของยีนซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
“ฟันผุ เหงือกอักเสบ มีแผลในช่องปาก” เป็นความผิดปกติในช่องปากที่หลายคนคุ้นเคยและได้รับการรักษาจากทันตแพทย์กันอยู่เป็นประจำ แต่ภาวะ “ฟันหาย” เป็นความผิดปกติที่น้อยคนจะรู้จัก แต่ก็พบได้ในคนไทยจำนวนไม่น้อย จากสถิติทั่วโลกและในเอเชีย พบผู้ที่มีภาวะฟันหาย จำนวน 6% ในขณะที่อุบัติการณ์ของภาวะนี้ในคนไทยมีมากกว่านั้น จากงานวิจัยที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัยพิษณุโลกและมหาวิทยาลัยขอนแก่น พบคนไทยมีภาวะฟันหายถึง26% และ 13% ตามลำดับ
ภาวะฟันหายในคนไทยเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือไม่ และจากยีนตัวใด? เป็นโจทย์วิจัยของ ทพญ.ชรินญา กาญจนเสวี มหาบัณฑิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ศึกษาเรื่อง “ความชุกและลักษณะเฉพาะของภาวะฟันหายในผู้ป่วยไทยและการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาวะฟันหายในครอบครัวไทย” ซึ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นของนิสิตระดับปริญญาโท ปี 2564 สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จากจุฬาฯ
ภาวะฟันหายหมายถึงการไม่มีฟันตั้งแต่กำเนิด โดยไม่พบหน่อฟันแท้ (tooth bud) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ในกระดูกขากรรไกรภาวะฟันหายตรวจพบได้จากการเอกซเรย์ฟันโดยทันตแพทย์เท่านั้น
“การที่ฟันหายไปหนึ่งซี่ก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีภาวะฟันหายแล้ว ที่ผ่านมา งานวิจัยของไทย ส่วนใหญ่พบภาวะฟันหายบริเวณฟันกรามน้อยล่างซี่ที่สอง ทำให้ไม่มีฟันกรามในการเคี้ยวอาหาร นอกจากนี้ การหายของฟันยังสัมพันธ์กับความผิดปกติที่พบในช่องปาก เช่น ฟันหน้าซี่เล็กกว่าปกติ” ชรินญาอธิบาย
ภาวะฟันหายเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรมและสภาวะแวดล้อม เช่น เมื่อแม่ตั้งครรภ์มีการติดเชื้อ ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือทานยาที่ส่งผลต่อการสร้างหน่อฟันของลูก เป็นต้น
“คนปกติมีฟันน้ำนม 20 ซี่ ฟันแท้ 32 ซี่ ภาวะฟันหายจะเกิดในฟันแท้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยเคี้ยวอาหารได้ไม่เต็มร้อย นอกจากนี้ยังมีผลต่อโครงสร้างใบหน้าที่ผิดปกติ ส่งผลต่อสภาพจิตใจและการดำเนินชีวิต จากงานวิจัยพบผู้ป่วยที่มีฟันแท้หายมากถึง 12 ซี่” ทพญ.ชรินญากล่าว
งานวิจัยทางทันตกรรมชิ้นนี้ใช้เวลา 3 ปี (ระหว่างปี 2561 – 2563) โดยแบ่งเป็นการวิจัยความชุกของภาวะฟันหาย โดยศึกษาจากฟิล์มเอกซเรย์ฟันของผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จำนวน 1,090 ตัวอย่าง
ส่วนการวิจัยด้านพันธุกรรมเป็นการศึกษาโดยการสุ่มจากผู้ป่วยจำนวน 5 ครอบครัว เป็นจำนวน 9 ตัวอย่าง เพื่อศึกษาถึงการเชื่อมโยงความผิดปกติของยีนกับคนในครอบครัว
“เราทำการถอดรหัสพันธุกรรมโดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอ หรือ Next Generation Sequencing ใช้เวลานานราว 1 – 2 เดือน เมื่อได้ผลแล้วก็นำมาตรวจวิเคราะห์หาความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางจีโนมิกส์และทันตกรรมแม่นยำ และประมวลผลเทียบเคียงระหว่างฐานข้อมูลของไทยและของต่างชาติ”
ผลการวิจัยชี้ว่าความชุกของภาวะฟันหายในคนไทยมีจำนวน 9% ซึ่งน้อยกว่างานวิจัยที่เคยทำมาในประเทศไทยแต่มากกว่าความชุกของภาวะฟันหายของคนทั่วโลกและในเอเชีย
“ด้านพันธุกรรม ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่มีภาวะฟันหายทั้ง 5 ครอบครัวมีความผิดปกติของยีนตัวเดียวกันคือยีน WNT10A ซึ่งเป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างฟันและเป็นหนึ่งในยีนอีกหลายตัวที่เคยมีรายงานความผิดปกติในผู้ที่มีภาวะฟันหาย” ทพญ.ชรินญาเผย
ผลการวิจัยในครั้งนี้เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่แสดงให้เห็นว่าความผิดปกติของยีน WNT10A ที่ตำแหน่งนี้พบได้มากในคนไทยและคนเอเชีย เมื่อเทียบกับฐานข้อมูลในชนชาติอื่น นอกจากนั้นยังพบความผิดปกติที่ตำแหน่งใหม่ เป็นการขยายองค์ความรู้ด้านพันธุกรรมในผู้ที่มีภาวะฟันหาย
แม้จะเป็นภาวะที่เกิดได้จากพันธุกรรม แต่ก็มีแนวทางบำบัดรักษาเช่น ใส่ฟันปลอมประเภทต่างๆ ผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ฯลฯ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด
“ผู้ที่มีภาวะฟันหาย หรือเด็กที่ฟันน้ำนมหลุดไปแล้วแต่ฟันแท้ไม่ขึ้น พ่อแม่ควรพามาพบทันตแพทย์โดยเร็วเพื่อทำการเอกซเรย์ฟันและวางแผนการรักษาที่ทันท่วงทีต่อไป” ทพญ.ชรินญาแนะ
ผู้ที่มีภาวะฟันหายหรือมีความผิดปกติทางช่องปากสามารถติดต่อนัดหมายเพื่อรับการรักษาทางทันตกรรมได้ที่ โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ชั้น 1 อาคารสมเด็จย่า 93 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2218-8705 และรับคำปรึกษาที่ศูนย์เชี่ยวชาญ์เฉพาะทางจีโนมิกส์และทันตกรรมแม่นยำ ภาควิชาสรีรวิทยา ชั้น 4 อาคาร 14 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2218-8695
Website: https://www.research.chula.ac.th/th/organization/4282/
หรือ http://www.dent.chula.ac.th/hospital/service.php
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้