รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
14 มิถุนายน 2565
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
สัตวแพทย์ จุฬาฯ วิเคราะห์และจำลอง “ไฮดรอกซี่แซนโทน” พัฒนาเลียนแบบสารสำคัญจากเปลือกมังคุด ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ กำจัดเชื้อโรคและยับยั้งการอักเสบเยื่อบุลำไส้ เล็งต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสัตว์และคนในอนาคต
“มังคุด” ราชินีแห่งผลไม้ไทย นอกจากจะมีรสชาติอร่อยและดีต่อสุขภาพแล้ว “เปลือกมังคุด” ยังอุดมด้วยสารมากคุณประโยชน์ นับแต่อดีต ภูมิปัญญาชาวบ้านใช้เปลือกมังคุดรักษาอาการท้องเสีย การติดเชื้อบริเวณผิวหนังและรักษาบาดแผลในสัตว์ และปัจจุบันก็มีการประยุกต์เอาสารสกัดเปลือกมังคุดมาผลิตยาและผลิตภัณฑ์ต่างๆ สำหรับมนุษย์ เช่น พลาสเตอร์ยา เจลหรือหน้ากากที่ป้องกันเชื้อ เป็นต้น
แต่เปลือกมังคุดมีดีมากกว่านั้นอีก ล่าสุด รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.สุทธาสินี ปุญญโชติ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสารที่จำลองและเลียนแบบโครงสร้างเคมีของสารสกัดจากเปลือกมังคุด ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการรั่วซึมของลำไส้ ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพดี และลดการใช้ยาทั้งในคนและสัตว์ได้ท้ายที่สุด
จากการวิจัยเปลือกมังคุดที่ไม่ใช้แล้ว รศ.สพ.ญ.ดร.สุทธาสินี พบสารสำคัญ “แซนโทน” (Xanthones) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอล มีคุณสมบัติในการต่อต้านหรือยับยั้งการอักเสบต่างๆ ในระดับที่ดีหลายประการ อาทิ ต้านเซลล์มะเร็ง (anti-cancer) ต้านเชื้อแบคทีเรีย (anti-bacterial) ต้านอาการภูมิแพ้ (anti-allergy) ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory) ต้านการเจริญของจุลินทรีย์ (anti-microbial) ต้านเชื้อมาลาเรีย (anti-malarial) และต้านการออกซิเดชัน (anti-oxidant) เป็นต้น
ด้วยสรรพคุณต้านการอักเสบและทำลายเชื้อโรคของสารแซนโทน รศ.สพ.ญ.ดร.สุทธาสินี ริเริ่มโครงการวิจัยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อพัฒนาสังเคราะห์สารแซนโทนให้อยู่ในรูปของ “ไฮดรอกซี่แซนโทน” (Hydroxy Xanthones; HDX) เพื่อมีฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลสุขภาพของสัตว์และคน
“การสกัดสารจากเปลือกมังคุดจะทำให้ได้สารที่หลากหลายทั้งที่มีคุณและเป็นโทษ นอกจากนี้ ยังต้องผ่าน่ขั้นตอนหลายกระบวนการ รวมถึงไม่สามารถควบคุมคุณภาพของสารที่ได้จากเปลือกมังคุดด้วย เนื่องจากคุณภาพของสารในเปลือกมังคุดขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการปลูก ปุ๋ย สภาพอากาศ และการดูแลต่างๆ” รศ.สพ.ญ.ดร.สุทธาสินี เผยโจทย์อันเป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้
“เราจึงเลือกวิธีการวิเคราะห์และเลียนแบบโครงสร้างทางเคมีของสารแซนโทน จากเปลือกมังคุดขึ้นมา ซึ่งจะทำให้เราได้สารสำคัญที่ต้องการเน้นๆ ง่ายต่อการนำไปใช้ได้โดยตรงเพื่อพัฒนาเป็นสารเสริมในยา อาหาร และผลิตภัณฑ์ต่างๆ และควบคุมประสิทธิภาพให้สมบูรณ์ที่สุดได้”
เยื่อบุลำไส้รั่วซึมเกิดขึ้นได้ในคนและสัตว์ ซึ่งนำไปสู่การก่อโรคหลายชนิดโดยเฉพาะ “โรคติดเชื้อในกระแสโลหิต (septicemia)” ที่ ‘แอบแฝงในร่างกาย’ เป็นภาวะที่ลำไส้มีการดูดซึมผิดปกติ เยื่อบุผนังลำไส้ (Microvilli) ทำงานผิดปกติ
“นึกภาพการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ที่เรียงตัวชิดติดกันเป็นระเบียบเพื่อทำหน้าที่คัดกรองและควบคุมสารพิษ หรือเชื้อโรคที่จะเข้าสู่กระแสเลือด เปรียบเหมือนป้อมปราการของร่างกาย เมื่อเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เกิดการอักเสบ เซลล์ไม่สามารถเรียงตัวชิดกัน ทำให้สารพิษหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้ นับเป็นโรคที่มีความอันตราย ต้องรีบรักษาก่อนสาย” รศ.สพ.ญ.ดร.สุทธาสินี อธิบาย
อาการของโรคลำไส้รั่ว มักจะไม่แสดงอาการใดๆ หรืออาจมีอาการ ทางร่างกายส่วนอื่นๆ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปวดหัวหรือปวดเมื่อยต่างๆ ของร่างกายที่ไม่ทราบสาเหตุ
“สาเหตุของโรคยังไม่แน่ชัด แต่มีสมมติฐานว่าอาจเกิดจากความเครียด ซึ่งอาการเหล่านี้ถ้าเกิดกับคน ก็สามารถพบแพทย์ได้ทันที แต่หากเกิดกับสัตว์เป็นเรื่องที่ดูได้ยากมากว่าสัตว์กำลังป่วยหรืออยู่เปล่า”
ปัจจุบัน งานวิจัยกำลังอยู่ในขั้นการทดลองเพื่อหาคุณภาพการทำงานของสาร HDX โดยเริ่มใช้กับฟาร์มสุกรก่อนที่จะขยายการทดลองใช้กับสัตว์ที่มีขนาดใหญ่และหลากหลายขึ้น
“ในอนาคต จะมีการทดลองใช้เป็นสารเสริมในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นยาหรืออาหารเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของมนุษย์และสัตว์” รศ.สพ.ญ.ดร.สุทธาสินี กล่าวทิ้งท้าย
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้