รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
28 มิถุนายน 2565
ผู้เขียน ศุภวรรณ พิพิธสมบัติ
PASS นวัตกรรมจากแพทย์และวิศวฯ จุฬาฯ อุปกรณ์นำทางเข็มสำหรับเครื่องอัลตราซาวด์ เพิ่มความแม่นยำและความมั่นใจในการเจาะน้ำไขสันหลัง ลดความเสี่ยงและความเจ็บให้ผู้ป่วย
คงไม่มีใครอยากถูกแทงเข็มฉีดยาซ้ำๆ ยิ่งถ้าเป็นการแทงเข็มเข้าช่องน้ำไขสันหลังด้วยแล้ว ก็คงภาวนาให้คุณหมอแทงเข็มได้อย่างตรงจุด แม่นยำและทำเพียงครั้งเดียว! แต่โอกาสที่จะพลาดก็เกิดขึ้นได้ขึ้นกับประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์ รวมถึงลักษณะทางกายภาพของผู้ป่วย
“การแทงเข็มเข้าสู่ช่องน้ำไขสันหลัง หากผิดพลาดเพียงนิดเดียวก็อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งชีวิต! เราไม่ต้องการเห็นผู้ป่วยเจ็บปวดทรมานและได้รับอันตรายจากการรักษา” รองศาสตราจารย์ พญ.เกศชาดา เอื้อโพโรจน์กิจ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงแรงจูงใจในการออกแบบและประดิษฐ์อุปกรณ์นำทางเข็มสำหรับเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อการเจาะเข้าไขสันหลัง หรือ PASS – Point-Assisted Spinal Sonography เพื่อยกระดับมาตรฐานของการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น
นวัตกรรมนี้เป็นความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์และวิศวกรรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคณะผู้วิจัย นอกจาก รศ.พญ.เกศชาดา แล้ว ยังประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ พญ.วิรินารี คำพิทักษ์ และ อาจารย์ พญ.บรรจบพร ทรงธรรมวัฒน์ จากภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระยุทธ ศรีธุระวานิช และนายทิวา นันตะภักดิ์ จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.พญ.เกศชาดา อธิบายว่าการแทงเข็มเข้าสู่ช่องน้ำไขสันหลังเป็นวิธีการที่ใช้ในการระงับปวดในการผ่าตัด หรือที่เรียกว่า การบล็อกหลัง (spinal anesthesia หรือ spinal block) เป็นการระงับประสาทรับรู้ความรู้สึกโดยการให้ยาชาผ่านทางช่องน้ำไขสันหลัง ทำให้ร่างกายผู้ป่วยขยับไม่ได้และชาครึ่งตัวตั้งแต่ช่องท้องลงไปถึงปลายเท้า วิธีนี้มักนำมาใช้ระงับปวดในการผ่าตัด เช่น การผ่าคลอด การผ่าตัดมดลูก รังไข่ ไส้เลื่อน ไส้ติ่ง ข้อสะโพก เข่า ขา ความเจ็บปวดจากการคลอดบุตรแบบธรรมชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ การแทงเข็มเข้าช่องน้ำไขสันหลังยังใช้ในการรักษา เช่น การให้ยาเคมีบำบัด และการตรวจวินิจฉัยโรค อาทิ มะเร็งเม็ดเลือดขาว การติดเชื้อไข้สมองอักเสบ เป็นต้น
“วิสัญญีแพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนตะแคงโก่งงอตัว หรือนั่งก้มไปข้างหน้าเพื่อคลำช่องกระดูกสันหลังสำหรับแทงเข็มฉีดยาชาเข้าสู่ช่องน้ำไขสันหลัง เพื่อระงับความรู้สึกกลุ่มประสาทช่วงล่างของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดขณะและหลังผ่าตัด ลดการใช้ยาดมสลบ ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวขณะผ่าตัด ซึ่งมีความปลอดภัยและมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการดมยาสลบ อีกทั้งยังลดการแพร่เชื้อโรคระบาดทางการหายใจ ได้แก่ โควิด-19 ด้วย หรืออาจให้ยาสลบร่วมกับการให้ยาชาบล็อกหลัง ก็จะช่วยเร่งการฟื้นตัวหลังผ่าตัด และกลับบ้านได้เร็ว”
โดยทั่วไป การแทงเข็มเข้าสู่ช่องน้ำไขสันหลัง แพทย์ต้องคลำปุ่มกระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง พร้อมกับกะประมาณทิศทาง และความลึกในการแทงเข็มเข้าไปที่ช่องน้ำไขสันหลัง การกะระยะของช่องกระดูกสันหลังส่วนเอว ระดับที่ 2 – 3 หรือ 3- 4 ซึ่งอาจจะไม่สามารถทำให้สำเร็จทุกครั้ง
“การแทงเข็มเข้าสู่ช่องน้ำไขสันหลังอาจไม่สำเร็จในการแทงครั้งเดียว ทำให้คนไข้อาจต้องทนทรมานกับการแทงหลายครั้งเพื่อเข้าถึงตำแหน่งช่องน้ำไขสันหลังได้ เนื่องจากช่องน้ำไขสันหลังอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างลึกมาก มีกระดูก เนื้อเยื่อ และเอ็นบดบังอยู่ ดังนั้น เข็มต้องลอดช่องเล็กๆ ที่ตามองไม่เห็น”
รศ.พญ.เกศชาดา กล่าวว่าโอกาสผิดพลาดในการเล็งองศาแทงเข็มมีประมาณร้อยละ 10-50 ของการแทงเข็ม ขึ้นกับประสบการณ์และความชำนาญของวิสัญญีแพทย์ รวมถึงอายุและลักษณะทางกายภาพของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยที่มีลักษณะทางกายภาพที่ทำให้แทงเข็มได้ยาก เช่น มีน้ำหนักตัวมาก มีความโค้งของกระดูกสันหลังผิดปกติ หรือมีช่องกระดูกแคบ
“ยิ่งผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีกระดูกสันหลังคด มีช่องกระดูกแคบ มีการใส่เหล็กดามกระดูกสันหลัง เหล่านี้ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่แพทย์จะแทงเข็มไม่สำเร็จ และมีโอกาสผิดพลาดไปโดนกระดูกหรือเส้นประสาท ไขสันหลังนั้น ผู้ป่วยจะเจ็บปวดมาก บางรายอาจมีเลือดออกภายใน และยังเสี่ยงเป็นอัมพาตอีกด้วย”
ดังนั้น การนำอัลตราซาวด์ (Ultrasound) มาช่วยในการเข้าถึงช่องน้ำไขสันหลังจึงเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่เพิ่มโอกาสการทำหัตถการให้สำเร็จ เนื่องจากช่วยให้เห็นภาพที่ระบุตำแหน่ง ทิศทางและความลึก สามารถแทงเข็มได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
อุปกรณ์นำทางเข็มสำหรับเครื่องอัลตราซาวด์ เพื่อเจาะช่องน้ำไขสันหลัง หรือ Point-Assisted Spinal Sonography – PASS เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาให้ใช้ประกบกับหัวตรวจของอัลตราซาวด์ ที่ใช้สแกนหาตำแหน่ง องศา และความลึกของการแทงเข็มเข้าช่องน้ำไขสันหลังให้แม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อลดโอกาสแทงเข็มผิดไปชนกระดูกสันหลัง และลดความเจ็บปวดให้ผู้ป่วย
“ในทางปฏิบัติ วิสัญญีแพทย์ไม่สามารถแทงเข็มในตำแหน่งที่ดีที่สุดจากภาพที่ได้เนื่องจากหัวตรวจอัลตร้าซาวด์ขวางตำแหน่งเข็มอยู่ แต่ PASS จะช่วยให้แทงเข็มได้ตรงตามตำแหน่งที่ดีที่สุดที่ได้จากภาพอัลตราซาวด์ โดยยังรักษาตำแหน่ง มุมองศาของเข็ม ความลึกในการแทงเข็มให้พอดีไม่ชนกระดูกหรือเส้นเลือดภายใน” รศ.พญ.เกศชาดา กล่าว
PASS มีส่วนประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ “กรอบ” ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดพอดีกับหัวตรวจของเครื่องอัลตราซาวด์ และ “ช่องนำเข็ม” ใช้ควบคุมทิศทางของเข็มที่จะเจาะเข้าสู่น้ำไขสันหลัง ซึ่งส่วนนี้จะใช้แล้วทิ้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่กรอบสามารถนำกลับมาฆ่าเชื้อโรคแล้วใช้ซ้ำได้ 10 ครั้ง
รศ.พญ.เกศชาดา เล่าถึงวิธีการใช้งานอุปกรณ์ PASS ร่วมกับเครื่องอัลตราซาวด์เป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้
PASS เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิสัญญีแพทย์เมื่อต้องบล็อกหลังใส่ยาชา และแพทย์ทั่วไป หรือแพทย์ในสาขาประสาทวิทยาที่ต้องวินิจฉัยโรคโดยการเจาะน้ำไขสันหลัง
รศ.พญ.เกศชาดา สรุปจุดเด่นของอุปกรณ์ PASS 4 ประการ คือ
อย่างไรก็ตาม PASS ก็มีข้อจำกัดอยู่บางประการ
“เครื่องอัลตราซาวด์แต่ละรุ่นของแต่ละบริษัทมีลักษณะหัวตรวจที่แตกต่างกัน เราจึงต้องสร้างโมเดลที่ขนาดพอดีกับหัวตรวจแต่ละรุ่น นอกจากนี้ เรายังต้องพัฒนาปรับดีไซน์อุปกรณ์ให้สามารถกำหนดจุดให้แม่นยำขึ้นไปอีก เนื่องจากปัจจุบัน ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่เล็กน้อย” รศ.พญ.เกศชาดา ชี้แจง
PASS เป็นต้นแบบอุปกรณ์การแพทย์ในที่ประชุมนานาชาติของวิสัญญีแพทย์เมื่อปลายปี 2563 และจากนั้นเป็นต้นมา วิสัญญีแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ ก็ได้ใช้ PASS กับผู้ป่วยที่บล็อกหลังยาก หรือคาดว่าจะแทงเข็มไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ PASS ยังเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ฝึกสอนนิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 6 ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยฝึกการใช้งานกับร่างอาจารย์ใหญ่
ปัจจุบัน คณะผู้วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ PASS มีแผนจะขยายการใช้ประโยชน์อุปกรณ์นี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นด้วยการต่อยอดเข้าสู่รูปแบบธุรกิจ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn Universityt Technology Center: UTC)
“ทีมงานได้จดแจ้งกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และยื่นขออนุสิทธิบัตร PASS ตั้งแต่กันยายน 2564 และได้มอบให้บริษัท Medgateways เป็นผู้ดูแลการผลิตและพัฒนาดีไซน์ของ PASS ซึ่งได้วางจำหน่ายในราคาประมาณ 2,000 บาท/ชุด ซึ่ง PASS 1 ชุดประกอบด้วย กรอบ 1 อัน และช่องนำเข็ม 10 ชิ้น” รศ.พญ.เกศชาดา กล่าว
ในอนาคต ทีมงานกำลังจะผลิตอุปกรณ์ PASS ที่สามารถใช้กับอัลตราซาวด์ที่ต่อเข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ /แท็บเล็ต ซึ่งจะทำให้แพทย์ทำหัตถการได้ปลอดภัยและสะดวกยิ่งขึ้น และจะเปิดอบรมการใช้ PASS แก่นักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์ต่างๆ
“เราหวังว่า PASS จะเป็นเครื่องมือให้แพทย์ในการช่วยผู้ป่วยได้แม่นยำยิ่งขึ้น และช่วยลดช่องว่างการเข้าถึงการรักษาที่ปลอดภัยได้ในอนาคต” รศ.พญ.เกศชาดา กล่าวทิ้งท้าย
สนใจสอบถามรายละเอียดการใช้งาน PASS ติดต่อ รศ.พญ.เกศชาดา เอื้อไพโรจน์กิจ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 9 ถนนพระราม4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2256-4000 ต่อ 60904-9 Email: Ketchada.U@chula.ac.th
สำหรับโรงพยาบาล หน่วยงานทางการแพทย์ หรือบริษัทที่สนใจใช้งาน PASS เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการเจาะน้ำไขสันหลังและลดความเสี่ยงแก่ผู้ป่วย สามารถติดต่อบริษัท Medgateways ผู้ผลิตและจำหน่าย PASS ที่อยู่: 222/113 ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์: 084-754-9493 เว็บไซต์: http://www.medgateways.com/pass
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้