รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
27 สิงหาคม 2565
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
จุฬาฯ จัดยิ่งใหญ่ ครั้งแรกในประเทศไทย! งานเทศกาลด้านการพัฒนาความยั่งยืน Chula Sustainability Fest 2022 ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ระหว่างวันที่ 2 – 4 กันยายน 2565
เต็มอิ่มกับกิจกรรมมากมายที่จะสร้างทั้งความสนุก สุขภาพดี และความตระหนักถึงไลฟ์สไตล์ที่สร้างความยั่งยืนให้กับชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ Walk and Talk with อาจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชมหนังกลางแปลงและเสวนาจากภาพยนตร์ “Don’t look Up” นิทรรศการภาพถ่าย “A Sustainable Happiness” เวิร์คชอป “A cup of awareness” การแสดงดนตรีในสวนจากศิลปินชื่อดัง CU Night Run และตลาดสีเขียว
ศาสตราจารย์ นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานการจัดงาน Chula Sustainability Fest 2022 กล่าวถึงที่มาและธีมของงานในครั้งนี้ว่า “เราตั้งใจจะขับเคลื่อนประเด็นที่ผู้คนจับต้องได้เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสังคมที่ยั่งยืน เราจึงหยิบเอาเรื่องสุขภาวะ Health and Well-being มาเป็นธีมในปีนี้ ซึ่งเป็นด้านที่จุฬาฯ มีความเชี่ยวชาญ ประกอบกับที่ผ่านมา สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้คนหันมาสนใจและใส่ใจสุขภาพร่างกายมากขึ้น”
นอกจากประเด็นสุขภาวะแล้ว งาน Chula Sustainability Fest 2022 เน้นให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะประเด็น Carbon Neutrality หรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ ซึ่งจุฬาฯ อยากผลักดันให้สังคมร่วมกันขับเคลื่อนให้เป็นจริง
“สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของมนุษยชาติ เราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เราจึงควรลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดีและสิ่งแวดล้อมให้ลูกหลานในอนาคต”
ทั้งนี้ ในงาน ศาตราจารย์ ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ จะเป็นประธานและกล่าวนำในพิธีประกาศเจตนารมณ์เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วย
การพัฒนาความยั่งยืนเป็น 1 ใน 3 ยุทธศาสตร์สำคัญของจุฬาฯ ซึ่งสอดคล้องกับวาระการพัฒนา 2030 ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ในการร่วมกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตลอดหลายปีที่ผ่านมา จุฬาฯ ได้แสดงผลงานการพัฒนาที่ยั่งยืนในรูปแบบการจัดทำรายงาน “Sustainability Report” แต่ในปีนี้ได้มีการปรับรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาให้เป็นรูปธรรมจับต้องและเข้าถึงประชาชนได้
“เราต้องการแสดงให้เห็นถึง Commitment ของจุฬาฯ ที่มีต่อสังคม โครงการที่คณะและหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยทำอย่างต่อเนื่องหลายปีที่ผ่านมา สามารถนำมาเป็น showcase ได้ในหลากหลายรูปแบบ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ หัวหน้าคณะทำงานการจัดงาน Chula Sustainability Fest 2022 กล่าว พร้อมเผยจุดประสงค์หลักของการจัดงาน 3 ประการ
ด้วยความเอาจริงเอาจังในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs จุฬาฯ ผลิตผลงานทางวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมมามากมายอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล อย่างเช่นการได้รับการจัดอันดับจาก Time Higher Education World University Rankings 2022 ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย สามปีซ้อน และเป็นอันดับที่ 16 ของโลกในปีล่าสุด
“เราหวังว่างานเทศกาลครั้งนี้จะเปิดมุมมองให้สังคมได้เห็นความเชื่อมโยงของสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและสุขภาวะ นำไปสู่ความตระหนักในการสร้างความสมดุลยั่งยืนให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นิสิตนักศึกษา ที่เมื่อพวกเขาเติบโตไปเป็นผู้นำในองค์กร ในสาขาวิชาชีพต่างๆ จะได้มีการพัฒนาในแนวทางที่ถูกต้องต่อสังคมมากขึ้นตามไปด้วย” ผศ.ดร.วรภัทร์ กล่าว
โลกจะมีอนาคต เมื่อปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้คนและสรรพสิ่งอยู่ร่วมกันแบบสมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม คุณกอปร ลิ้มสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ กล่าวถึงสาระสำคัญที่ต้องการไฮไลท์ในงานเทศกาล
“Climate Change เป็นประเด็นที่ทั่วโลกตื่นตัว จุฬาฯ เองก็ตระหนักในเรื่องนี้และพยายามขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด เรามีหน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่ต่างคนต่างทำงานในความรับผิดชอบมากมาย แต่ครั้งนี้ เราจะเชื่อมให้กลุ่มบุคลากรต่างๆ ผนึกกำลังกัน และขับเคลื่อนงานนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นมิติใหม่ของการขับเคลื่อนความยั่งยืนของจุฬาฯ”
ในการร่วมกันขับเคลื่อนความยั่งยืนประเด็นสุขภาวะ (Health and Well-being) และสิ่งแวดล้อม (Carbon Neutrality) หลายหน่วยงานในจุฬาฯ เข้ามาร่วมมือกันทำงานแบบ cross function ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 17 : Partnerships For The Goals หน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬา (SHECU) สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ (CCC) สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ และเครือข่ายพันธมิตร เช่น ศูนย์ BCGeTEC คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่ทำโครงการ Chula Carbon Neutrality Challenge การประกวดโครงการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเน้นที่การลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ เป็นต้น
“ต้องขอขอบคุณทีมผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ในจุฬาฯ ที่ให้ความร่วมมือในการจัดงานนี้ร่วมกัน นี่จะเป็นจุดสตาร์ทที่เราจะมาสร้างปรากฎการณ์การทำงานร่วมกันแบบยั่งยืนต่อไปในอนาคต”
เทศกาล Chula Sustainability Fest 2022 จัดขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่ 2 – อาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2565 ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ โดยเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมสนุกและเรียนรู้กับกิจกรรมเพื่อสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 21.30 น. กิจกรรมมีมากมายอาทิ
และเพื่อความสนุกแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คณะผู้จัดงานเชิญชวนให้ทุกคนเดินทางด้วยรถสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า แล้วต่อรถป๊อปของจุฬาฯ มาที่งาน หรือจะชิลขี่จักรยาน anywheel ที่จุดบริการป้ายรถเมล์ มาด้วยรถ Muvmi หรือเดินออกกำลังกายเบาๆ มาพร้อมกลุ่มเพื่อน ก็เป็นทางเลือกที่คนรุ่นใหม่และประชาคมจุฬาฯ เลือกใช้เสมอ
พกแก้ว ถุงผ้ามาด้วย เพราะในงานจะไม่มีการแจก single-use plastic เรามีจุดเติมน้ำให้ และร้านค้าต่างๆ ก็จะใช้แก้วส่วนตัวของพวกเราเติมน้ำดื่มต่างๆ แต่ถ้าใครลืม ภายในงานจะมีแก้ว Zero Waste เตรียมความพร้อมไว้ให้
“อยากเชิญชวนทุกคน เยาวชน นิสิตจุฬาฯ ไม่ว่ารุ่นไหน จบนานแล้วหรือเพิ่งจบ ก็มาได้ จุฬาฯ อยากเป็นแรงหนุนให้ประชาชนลุกขึ้นมามีส่วนร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมที่สมดุลและพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต”
สอบถามข้อมูลและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทศกาล Chula Sustainability Fest 2022 ได้ที่ โทร. 0-2218-0101
Facebook : CU Let It Green https://www.facebook.com/chulasustainability/
Facebook : Chulalongkorn University https://www.facebook.com/ChulalongkornUniversity/
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์ นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้