รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
12 กันยายน 2565
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนา NurseSims Kit นวัตกรรมชุดการเรียนรู้รูปแบบการจำลองสถานการณ์ เตรียมทักษะการทำหัตถการของนักศึกษาพยาบาล ส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพและความฉลาดทางดิจิทัลก่อนลงสนามจริง
การเรียนออนไลน์ในช่วงโควิด-19 อาจเป็นประโยชน์สำหรับการเรียนการสอนในหลายสาขาวิชา แต่สำหรับวิชาที่มีภาคปฏิบัติเช่นในสายวิชาชีพแพทย์และพยาบาลที่ต้องมีการฝึกทำหัตถการ ไม่ว่าจะฉีดยาหรือแทงเข็มเข้าเส้นเลือดต่างๆ นักศึกษาจะฝึกภาคปฏิบัติกันอย่างไร?
นี่เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้ รองศาสตราจารย์ ดร. ประกอบ กรณีกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งใจออกแบบและพัฒนา “NurseSims Kit” นวัตกรรมช่วยฝึกทักษะการทำหัตถการให้กับนักศึกษาพยาบาลด้วยชุดอุปกรณ์หุ่นจำลองและแอปพลิเคชัน การันตีความสำเร็จด้วยหลายรางวัลระดับนานาชาติ อาทิ เหรียญทอง จากงาน The International Invention Innovation Competition in Canada, iCAN 2022 และเหรียญทองแดงจากงาน 2022 Japan Design, Idea and Invention Expo (JDIE 2022)
“ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนได้มากขึ้น โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์และพยาบาล เทคโนโลยีเข้ามาช่วยฝึกทักษะบางอย่างได้อย่างเสมือนจริงผ่านสถานการณ์จำลอง เป็นการส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพและความฉลาดทางดิจิทัลให้กับผู้เรียนไปในเวลาเดียวกัน”
รศ.ดร. ประกอบ เล่าถึงข้อจำกัดในการจัดการเรียนสอนออนไลน์ของวิชาชีพพยาบาลในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่นำไปสู่การคิดค้น “NurseSims Kit” ว่า “โดยปกติแล้ว การฝึกทำหัตถการ นักศึกษาพยาบาลจะต้องรวมตัวกันในห้องปฏิบัติการและฝึกจากสถานการณ์ โดยมีผู้สอนดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดและให้ผลป้อนกลับกับผู้เรียนว่าทำถูกต้องหรือไม่ แต่เมื่อต้องเรียนแบบออนไลน์ ก็ยากที่อาจารย์ผู้สอนจะดูแลได้ใกล้ชิดหรือตรวจสอบว่านักศึกษาทำถูกต้องหรือเปล่า และการให้นักศึกษามารวมตัวกันมากๆ ก็ทำไม่ได้”
“แม้ตอนนี้การจัดการเรียนการสอนสามารถกลับมาทำตามแบบปกติเดิมได้ แต่การฝึกทำหัตถการก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องห้องปฏิบัติการที่มีต้นทุนสูง อีกทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการฝึกทักษะมีราคาแพง บางสถาบันที่สอนการพยาบาลไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์เหล่านี้ให้พร้อมสำหรับฝึกนักศึกษาเพื่อจะได้ฝึกกันอย่างเต็มที่”
NurseSims Kit จึงไม่เพียงตอบโจทย์การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แต่ยังตอบโจทย์ด้านการลดต้นทุนในการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนได้อีกด้วย
ในการพัฒนา NurseSims Kit อาจารย์ประกอบได้รับความร่วมมือจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้ให้ข้อมูลด้านการฝึกทักษะวิชาชีพพยาบาล และเป็นสถาบันที่ใช้ NurseSims Kit ในการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อนำมาออกแบบและพัฒนานวัตกรรมที่ตรงใจกับผู้ใช้งานที่สุด
NurseSims Kit เป็นชุดอุปกรณ์ประกอบด้วยหุ่นจำลองที่มีการฝังชุดควบคุมเซ็นเซอร์ไว้ และแอปพลิเคชัน โดยมีบทเรียนเป็นสถานการณ์จำลองที่ผู้เรียนต้องฝึกฝน 5 สถานการณ์ด้วยกัน ได้แก่
“นักศึกษาพยาบาลจะฝึกทำหัตถการกับหุ่นจำลอง เซ็นเซอร์ที่ประกอบอยู่ในตัวหุ่นจะส่งข้อมูลผลการปฏิบัติไปยังแอปพลิเคชัน เพื่อให้ผูัสอนตรวจสอบผลการปฏิบัติได้ทันทีหรือย้อนหลังก็ได้เพราะแอปพลิเคชันจะบันทึกข้อมูลไว้แล้ว นอกจากนี้ผู้สอนยังสามารถนำข้อมูลผลการปฏิบัติมาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาคนอื่นๆ ในชั้นเรียนได้อีกด้วย” รศ.ดร.ประกอบ อธิบายการทำงานของชุดอุปกรณ์
นวัตกรรม NurseSims Kit ได้นำร่องทดลองใช้แล้วในการสอนภาคปฏิบัติกับนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เมื่อปีการศึกษา 2564 ที่ผ่านมา ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งในแง่การรายงานผลการฝึกทักษะของนักศึกษาและการเรียนการสอนที่ต้องรักษาระยะห่าง ทำให้ รศ.ดร.ประกอบ มั่นใจว่านวัตกรรมนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับสถาบันการศึกษาด้านพยาบาลอีกหลายแห่ง
รศ.ดร.ประกอบ กล่าวว่า NurseSims Kit เป็นหนึ่งในตัวอย่างการออกแบบและบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งในอนาคตน่าจะต้องพัฒนาให้มากขึ้นและหลากหลายสำหรับสาขาวิชาชีพและการเรียนรู้ต่างๆ โดยเฉพาะในสายวิชาชีพทางการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข ซึ่งมีความรู้และทักษะจำเพาะที่ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
“ในโปรเจคต่อๆ ไป ผมวางแผนที่จะนำหลักการทางเทคโนโลยีการศึกษาไปบูรณาการกับศาสตร์ต่างๆ เช่น การแพทย์ ภาษา เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต” รศ.ดร.ประกอบ กล่าวทิ้งท้าย
สถาบันการศึกษาที่สนใจ NurseSims Kit สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ prakob.k@chula.ac.th รองศาสตราจารย์ ดร. ประกอบ กรณีกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์ นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้