รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
17 ตุลาคม 2565
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ดาวน์โหลดฟรี! Gami+ แอปพลิเคชันเสริมสำหรับ Google Classroom อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ ออกแบบเพื่อช่วยผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนออนไลน์ให้สนุกเหมือนเล่นเกม เปิดห้องเรียนแล้วกว่า 6,000 ห้อง และมีผู้เรียนเข้าใช้งานจริงกว่า 120,000 คน
แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะคลี่คลาย และห้องเรียนกลับมาเปิดให้ครูและนักเรียนพบกันแบบเห็นหน้าเห็นตาแล้ว แต่แนวโน้มการเรียนการสอนในโลกออนไลน์ก็ยังคงไปต่อ ซึ่งความท้าทายสำคัญของการเรียนรู้แบบนี้คือการตรึงความสนใจของผู้เรียนให้อยู่กับกิจกรรมการเรียน
“จากประสบการณ์ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ เราพบว่าผู้เรียนทางออนไลน์มักจะขาดสมาธิ รู้สึกเบื่อหน่าย ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลง” รองศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ กรณีกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว
การที่ได้รับคัดเลือกจาก Google Asia Pacific ให้วิจัยเกี่ยวกับ Google Solution ที่ส่งเสริมการเรียนเชิงรุกสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ทำให้ รศ. ดร.ประกอบ และศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ ได้มีโอกาสศึกษา Google Workspace for Education อย่างลึกซึ้ง ซึ่งในเวลาต่อมา อาจารย์ก็ได้นำมาออกแบบและพัฒนา Gami+ แอปพลิเคชันเสริมสำหรับ Google Classroom เพื่อเป็นตัวช่วยของคุณครูยุคใหม่ในการจัดการเรียนการสอนบนโลกออนไลน์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
“Gami+ จะช่วยเปลี่ยนห้องเรียนออนไลน์ธรรมดาให้มีสภาพแวล้อมเป็นเกมที่สร้างความท้าท้าย แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการเรียน เกิดการแข่งขัน และสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน” รศ. ดร.ประกอบ กล่าว
ผลงานนี้คว้ารางวัลระดับนานาชาติหลายรางวัล อาทิ เหรียญเงิน จาก The International Invention Innovation Competition in Canada, iCAN 2022, รางวัล International Special Award จาก International Federation of Inventors Associations – Focal Point Middle East และรางวัล Canadian Special Award จาก Innovation Initiative Co-operative Inc. “The Inventors Circle”
Gami+ (หรือ GamiPlus) เป็นแอปพลิเคชันเสริมสำหรับ Google Classroom — แพลตฟอร์มการเรียนการสอนที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมากทั่วโลกกว่า 150 ล้านคน โดยในประเทศไทย มีผู้ใช้งานในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา ราวร้อยละ 50-60
หลักการของเกมิฟิเคชัน (Gamification) ไม่ได้หมายถึงตัวเกม แต่เป็นการใช้เทคนิค กลไก และองค์ประกอบของเกม เช่น การให้ภารกิจ (mission) การสะสมแต้ม (score) การเลื่อนระดับ (level) การให้ตราสัญลักษณ์ (badges or achievements) หรือ กระดานแสดงผู้นำ (leaderboard) มาสร้างสภาพแวดล้อมและขับเคลือนการเรียนรู้ให้สนุก ซึ่งสำหรับ Gami+ มีเกมิฟิเคชันให้คุณครูเลือก ได้แก่ การให้ป้ายแสดงความสำเร็จ (digital badge) การให้ระดับความก้าวหน้าในการเรียน (level) กระดานแสดงผู้นำ (leaderboard) และการเชื่อมโยงภาระงานและคะแนนของผู้เรียนจาก Google Classroom เพื่อมากำหนดเงื่อนไขในการเลื่อนระดับ
“องค์ประกอบเหล่านี้จะกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง”
ปัจจุบันมีผู้ติดตั้ง Gami+ ผ่าน Google Workspace Marketplace จำนวน 11,777 คน มีคุณครูและผู้สอนกว่า 4,500 คน ที่ได้สร้างสภาพแวดล้อมเกมิฟิเคชันในห้องเรียนมากกว่า 6,000 ห้อง
ในอนาคต รศ. ดร. ประกอบ เผยว่าจะพัฒนา Gami+ Intelligence ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้คำแนะนำกับครูและอาจารย์ผู้สอนในการนำเสนอเกมิฟิเคชันให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนมากยิ่งขึ้น
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด Gami+ ได้ฟรี! ผ่าน Google Workspace Marketplace หรือจะเลือกติดตั้งผ่านเว็บไซต์ของ Gami+ ที่ https://gamiplus.edii.in.th
“หุ่นอาจารย์ใหญ่” ฝึกเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข เสริมความมั่นใจนิสิตสัตวแพทย์
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์ นั่ง ลุกยืน และเดินได้ในตัวเดียว
“ศูนย์สุขภาวะผู้สูงอายุ จุฬาฯ” บ้านหลังที่ 2 ดูแลระหว่างวัน ตอบโจทย์ลูกหลานวัยทำงาน ตรงใจสูงวัยสุขภาพดี
ของเล่นส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย เล่นก็ได้ แต่งบ้านก็ดี ผลงานการออกแบบจากอาจารย์จุฬาฯ
Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง บ่มเพาะเด็กไทยสู่นักสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ ผลงานนิสิต ป.เอก ครุฯ จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลก
“Night Museum at Chula”เปิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตื่นตากับพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้