รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
20 กุมภาพันธ์ 2018
งานวิจัยด้านอุตสาหกรรม
ดำเนินโครงการโดย: ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมมือกับ: บริษัท โรงงานเภสัชกรรม เกร็ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด
เกี่ยวกับโครงการ: ภาวะการมีขนไม่พึงประสงค์หรือภาวะขนดกถึงแม้ไม่เกิดอันตรายทางสุขภาพ แต่สามารถก่อให้เกิดปัญหาของสุขภาวะทางจิตใจได้ นอกจากนี้ภาวการณ์มีขนที่ไม่พึงประสงค์เป็นสาเหตุให้เกิดความไม่มั่นใจ อับอาย อันจะส่งผลเสียถึงบุคลิกภาพและบุคลักษณะของบุคคลนั้นได้ ความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์เดอร์มัลแพพิลลาจำเป็นต่อการเจริญของเส้นขน ดังนั้นแนวทางหนึ่งในการชะลอการงอกของเส้นขน คือการลดความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์เดอร์มัลแพพิลลา
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดชะเอมเทศและกรดกลีเซอไรซิกซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบได้มากในชะเอมเทศต่อความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์เดอร์มัลแพพิลลา โดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยงและเซลล์เดอร์มัลแพพิลลาที่แยกจากรากผมของมนุษย์โดยตรงในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดชะเอมเทศสามารถลดความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์เดอร์มัลแพพิลลาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเซลล์ที่ได้รับสารสกัดชะเอมเทศมีลักษณะของเซลล์ต้นกำเนิดลดลงร่วมกับการลดระดับของโปรตีนที่บ่งชี้ความเป็นเซลล์ต้นกำเนิด คือ CD133, ALDH1A1 และ integrinβ1 โดยมีกลไกการลดความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดผ่านการยับยั้ง β-catenin signaling ซึ่งสารสกัดชะเอมเทศจะลด ATP-dependent tyrosine kinase ในรูป active form ทำให้ glycogen synthase kinase3β (GSK3β) เพิ่มขึ้นและ GSK3β ที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ β-catenin ถูกทำลาย การลดลงของ β-catenin จึงทำให้ transcription factor ซึ่งมีหน้าที่คงความเป็นเซลล์ต้นกำเนิด คือ Oct4, Nanog และ Sox2 ลดลง ในส่วนของกรดกลีเซอไรซิกพบว่าสารดังกล่าวลดความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์เดอร์มัลแพพิลลาโดยผ่านกลไกการออกฤทธิ์เช่นเดียวกับสารสกัดชะเอมเทศ งานวิจัยนี้จึงเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญอันแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการใช้สารสกัดชะเอมเทศและกรดกลีเซอไรซิกในการชะลอการงอกของเส้นขน และสามารถเพิ่มมูลค่าสมุนไพรและเป็นการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดกลีเซอไรซิกในภาคอุตสาหกรรมเพื่อจุดประสงค์ในการลดหรือชะลอการงอกขนที่ไม่พึงประสงค์
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้