รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
20 กุมภาพันธ์ 2018
งานวิจัยด้านสังคม
ดำเนินการโดย:
ร่วมมือกับ:
เกี่ยวกับโครงการ: งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาความเพียงพอของการออมเงินเพื่อเกษียณอายุของประชากรในแต่ละกลุ่มอาชีพ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่สำรวจระดับค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานของผู้เกษียณอายุใน แต่ละระดับอายุ และแต่ละอาชีพ แล้วนำมาคำนวณเป้าหมายเงินก้อนขั้นต่ำพึงมี ณ วันเกษียณอายุ ผ่านตัวแบบทางการเงินที่มีการคำนึงถึงอัตราการเสียชีพวิตในแต่ละกลุ่มอายุ จากการใช้ค่ามัธยฐานของระดับค่าใช้จ่ายในแต่ละกลุ่มอาชีพ พบว่าเงินก้อนพึงมี ณ วันเกษียณอายุมีค่าอยู่ระหว่าง 3 ล้านบาท ถึง 11 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับปีที่เกษียณอายุ ระดัลสุขภาพ และรับค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ ได้มีการจัดสัมมนาให้ความรู้แก่กลุ่มตัวอย่างเรื่องการออมเพื่อเกษียณ เพื่อเป็นการสร้างฐานความรู้ในการออมอย่างถูกต้อง และเป็นการชี้แจงตัวเลขเงินก้อนขั้นต่ำพึงมีฯ สำหรับเป็นเป้าหมายในการออม จากการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอัตราการสะสมของเงินเดือนที่ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ที่ร้อยละ 4.4 การกระจายตัวของอัตราการสะสมอยู่ระหว่างร้อยละ 3 ถึง ร้อยละ 8.99 ของเงินเดือนการกระจายตัวของยอดเงินล่าสุดในบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 69.5)ไม่เกิน 160,000 บาท
เมื่อประเมินความสัมฤทธิผลด้านความเพียงพอของการการสะสมเงินออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยประเมินร่วมกับค่าประมาณการเงินบำนาญจากกองทุนประกันสังคม ค่าประมาณการเงินบำเหน็จจากนายจ้าง และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากรัฐบาล ด้วยแบบจำลอง Monte Carlo Simulation พบว่ามีเพียงร้อยละ 26 ของกลุ่มตัวอย่าง ที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเพียงพอ ความเพียงพอวัดจากการมีความน่าจะเป็นเกินร้อยละ 95 ที่เงินออม ณ วันเกษียณอายุของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีค่ามากกว่าเงินก้อนขั้นต่ำพึงมี ณ วันเกษียณอายุ
จากการวิเคราะห์คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ออมไม่เพียงพอด้วย Binary Logistic Regression พบว่า จะมีคุณลักษณะบ่งชี้ 4 ประการที่มีนัยสำคัญ ได้แก่ 1) ไม่ได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างเมื่อเกษียณอายุ 2) เงินเดือนปัจจุบันไม่เกิน 30,190 บาท 3) ประมาณการอัตราการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยในอนาคตต่ำกว่าร้อยละ 5.5 ต่อปี 4) อัตราการสมทบจากนายจ้างในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่ำกว่าร้อยละ 5.4 ของเงินเดือน
นอกจากนี้ เพื่อให้ตัวแบบทางการเงินที่งานวิจัยนี้คิดค้นมีการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง จึงได้มีการพัฒนาเวปไซต์ WWW.retirement-checkup.com เพื่อเป็นช่องทางในการให้ประชาชนสามารถตรวจสอบความเพียงพอของการออมเพื่อเกษียณอายุ โดยจะให้คำแนะนำที่ตรงตามลักษณะเฉพาะของผู้ใช้งาน เช่นการแนะนำอัตราการออม และแผนการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อให้มีเงินออมเพียงพอต่อการใช้จ่ายในแต่ระดับความสะดวกสบาย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้