รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
20 กุมภาพันธ์ 2018
งานวิจัยด้านสังคม
ร่วมมือกับ: เทศบาลเมืองน่าน ชุมชนภูมินทร์ท่าลี่ ชุมชนพวงพยอม ชุมชนพญาภู โรงเรียนสตรีศรีน่าน โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร โรงเรียนดรุณวิทยา จังหวัดน่าน และ โรงเรียนปากเกร็ด โรงเรียนเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี เมืองโซโนะเบะ Nantan city government, Kyoto Prefecture ประเทศญี่ปุ่น
เกี่ยวกับโครงการ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการประยุกต์ใช้เกมจำลองสถานการณ์ให้เป็นเครื่องมือที่สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการภัยพิบัติน้ำท่วมในประเทศไทย (2) เพื่อพัฒนาเกมจำลองสถานการณ์ให้มีความเหมาะสมกับกระบวนการเตรียมความพร้อมของภาคประชาชนในการจัดการภัยพิบัติน้ำท่วมในประเทศไทย (3) เสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติสำหรับการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานผ่านการใช้เครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเกมจำลองสถานการณ์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ (applied research)
ซึ่งเป็นการศึกษาหาแนวทางการนำความรู้ของเกมการจำลองสถานการณ์ (Gaming Simulation: GS) เพื่อนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Disaster Management: CBDRM) โดยมีรูปแบบการดำเนินงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) งานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อดำเนินงานวิจัยให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งการสำรวจภาคสนาม สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการทบทวนเอกสาร ผลของการศึกษา ได้แก่ (1) ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของการประยุกต์ใช้เกมจำลองสถานการณ์ในประเทศไทย จากกลุ่มตัวอย่างเมืองที่มีความเสี่ยงภัยน้ำท่วม คือ เทศบาลเมืองน่าน และเทศบาลเมืองปากเกร็ด พบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะนำเกมจำลองสถานการณ์มาใช้ในบริบทการจัดการภัยพิบัติในประเทศไทย (2) การออกแบบต้นแบบเกมจำลองสถานการณ์ (Game Prototype) โดยใช้ชื่อเกมว่า “เกมสถานการณ์จำลอง เพื่อการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติ” (Community Cooperation Game: A Simulation Game of Community Based Flood Disaster Management) งานวิจัยนี้ได้สรุปแนวทางการออกแบบสร้างเกมจำลองสถานการณ์ สำหรับประเทศไทย โดยสรุปขั้นตอนการออกแบบสร้างเกมจำลองสถานการณ์และสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการทดลองใช้จริง
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้