รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
20 กุมภาพันธ์ 2018
งานวิจัยด้านสังคม
ร่วมมือกับ:
เกี่ยวกับโครงการ: กรรมวิธีการผลิตเมล็ดแมงลักแบบเดิมที่ชาวบ้านใช้อยู่ คือ เมื่อนำช่อแมงลักที่ตัดแล้ว มัดรวมกันเป็นฟ่อน ผึ่งให้แห้งวางไว้บนพื้นดินหรือบนตอของต้นแมงลัก ก่อนทำการนวดจะทำการพรมน้ำเพื่อให้กระเปาะปริ และเมล็ดแมงลักดูดความชื้น โดยมักจะทำการพรมน้ำในช่วงเย็น และนวดในช่วงเช้ามืด โดยประยุกต์ใช้เครื่องนวดข้าว มาใช้ในการนวดฝัดเมล็ดแมงลักออกจากช่อดอกพร้อมกับการร่อนแยกเมล็ด ซึ่งเมล็ดที่ได้จะมีความชื้นเพิ่มขึ้นเนื่องจากการพรมน้ำ ดังนั้น เมล็ดแมงลักที่ได้จากกระบวนการผลิตนี้ จึงมีโอกาสที่เชื้อราสามารถเจริญเติบโตและผลิตสารอะฟลาทอกซินได้ ถ้าไม่มีการตากแดดให้แห้ง ก่อนบรรจุถุง นอกจากนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากบ่อในการพรมช่อดอกทำให้มีโอกาสเพิ่มการปนเปื้อนจากเชื้อราสูงขึ้น ประกอบกับเมล็ดแมงลักเมื่อพองตัวจะดักจับฝุ่นและสิ่งปนเปื้อนในน้ำที่ใช้พรม เมื่อนำมาทำให้พองตัวจะพบว่า มีสิ่งปนเปื้อนในเส้นใยเมล็ดแมงลักอย่างชัดเจน รวมทั้งปัญหาเมล็ดที่มีการพองตัวในช่วงเวลานวดฝัด หรือเคยมีการพองตัวก่อนการนวดฝัด เมื่อแห้งจะเกิดเป็นคราบขาว หรือที่เรียกว่า “เมล็ดไคล่” ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่แยกออกจากเมล็ดดีได้ยาก ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าเมล็ดแมงลัก หรือช่อดอกแมงลักไม่มีการโดนน้ำก่อนการนวดฝัด ทางคณะผู้วิจัย จึงนำเทคโนโลยีกรรมวิธีการผลิตเมล็ดแมงลักแบบนวดฝัดแห้งมาส่งเสริมเกษตรกรในการอบรมนี้ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆ 3 ขั้นตอน คือ การบด ด้วยเครื่องแฮมเมอร์ (hammer) ที่เหวี่ยงแนวตั้ง ในท้องตลาด เรียกเครื่องโม่พลาสติก พร้อมตะแกรงขนาด 8 มิลลิเมตร –> การร่อนผ่านเครื่องร่อนที่มีตะแกรงขนาด 6 และ 1.5 มิลลิเมตร –> การทำความสะอาด ด้วยไซโคลน (cyclone) โดยประยุกต์ใช้ไซโคลนของเครื่องสีข้าวกล้อง และบรรจุถุงกระสอบที่มีการระบายอากาศได้ดี โดยตลอดทั้งกระบวนการไม่มีการพรมน้ำ เป็นการลดโอกาสของการเจริญของเชื้อรา ตัดโอกาสการเกิดสารอะฟลาทอกซิน ทำให้ได้เมล็ดแมงลักที่ปราศจากสารอะฟลาทอกซิน และช่วยลดขั้นตอนการทำงาน (การพรมน้ำ) ให้กับเกษตรกรด้วย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้